Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์19 กุมภาพันธ์ 2550
เครื่องปรับอากาศเปิดศึก Channel War เจาะทุกช่องทาง เข้าถึงผู้บริโภค             
 


   
www resources

โฮมเพจ แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย)
โฮมเพจ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคทรอนิคส์ จำกัด
มิตซูบิชิ อิเล็กทริก โฮมเพจ
โฮมเพจ บริษัท ยอร์ค แอร์คอนดิชั่นนิ่ง แอนด์ รีฟริจเจอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด

   
search resources

ไทยซัมซุง อิเลคทรอนิคส์, บจก.
แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย), บจก.
มิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนา, บจก.
Electric
ยอร์ค แอร์คอนดิชั่นนิ่ง แอนด์ รีฟริจเจอเรชั่น (ประเทศไทย), บจก.




กองทัพเครื่องปรับอากาศปรับหัวรบเปิดสงครามชิงช่องทางเข้าถึงผู้บริโภค มิตซูบิชิส่งสินค้าพรีเมียมเจาะตลาดต่างจังหวัด ซัมซุงผนึกร้านเฟอร์นิเจอร์เพิ่มช่องทางขาย แอลจีเดินกลยุทธ์ Shop in Shop ขยาย Art Cool Gallery ส่วนยอร์คเพิ่มคู่สาย Call Center ให้คำปรึกษาพร้อมโอนสายลูกค้าสู่ตัวแทนจำหน่ายใกล้บ้าน

แม้ว่าในปีที่ผ่านมาธุรกิจเครื่องปรับอากาศจะต้องเผชิญกับปัจจัยเหนือการควบคุมทั้งสภาวะทางเศรษฐกิจ การเมือง รวมถึงสภาพอากาศซึ่งมีฝนตกมาก อากาศร้อนน้อย ฤดูร้อนสั้นกว่าทุกปี ส่งผลให้ภาพรวมของตลาดถดถอยไป 7% แต่คาดว่าในปีนี้ภาพรวมของตลาดเครื่องปรับอากาศจะกลับมาเติบโตสูงถึง 20% โดยหลายๆ ค่ายจะพยายามกระตุ้นยอดขายเพื่อชดเชยผลประกอบการในปีที่ผ่านมา ประกอบกับตัวเลขอัตราการถือครองเครื่องปรับอากาศของผู้บริโภคไทยมีอยู่เพียง 12% ซึ่งถือว่าน้อยมาก จึงถือว่าเป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตอีกมาก

สมรภูมิเครื่องปรับอากาศที่ผ่านมามีการแข่งขันด้านเทคโนโลยีความเย็น ความเงียบ การประหยัดไฟเบอร์ 5 จนกระทั่งก้าวมาสู่กระแสสุขภาพที่หลายๆ แบรนด์ต้องใส่ระบบฟอกอากาศในเครื่องปรับอากาศ ซึ่งมีทั้ง ซิลเวอร์นาโน นาโนไททาเนียม แผ่นกรองเฮปป้าฟิลเตอร์ พลาสม่าคลัสเตอร์ ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องของ Functional Benefit แล้วก็ยังมีเรื่องของ Emotional Benefit ซึ่งดูเหมือนว่าแอลจีเป็นรายเดียวที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการดีไซน์เครื่องปรับอากาศรุ่นไฮเอนด์อย่างอาร์ทคูลซึ่งมีคอนเซ็ปต์ว่า "Looks beautiful, Works beautiful"

ขณะที่แบรนด์อื่นๆ ก็อาจมีการทำ Emotional Marketing บ้าง อย่างเช่น ซัมซุงทำแคมเปญ Youth Marketing โดยเป็นสปอนเซอร์ให้กับกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่นไม่ว่าจะเป็นดนตรี กีฬา ศิลปะ แฟชั่น เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อตลาดในอนาคตซึ่งจะเติบโตขึ้นไปมีบ้านมีครอบครัวของตัวเองในอนาคต แต่เนื่องจากธุรกิจต้องเผชิญกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นเหล็ก ทองแดง จึงต้องมีการปรับราคาขึ้นกันโดยอิงราคาคู่แข่งเพื่อไม่ให้เกิดความเสียบเปรียบด้านราคา

การดำเนินกลยุทธ์การตลาดยุคใหม่ภายใต้ Marketing Mix ที่ประกอบด้วย 4P มีการปรับเปลี่ยนมาสู่ 4C คือ Product เปลี่ยนเป็น Customer คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์จะต้องอิงกับความต้องการของลูกค้าเสมอ เช่นการใส่ระบบฟอกอากาศในเครื่องปรับอากาศเพื่อรับกับกระแสสุขภาพ Price ก็เปลี่ยนมาเป็น Cost มีการบริหารต้นทุนการผลิตเพื่อกำหนดราคาที่แข่งขันกับคู่แข่งได้ Place ปรับเปลี่ยนมาเป็น Convenience คือการเข้าถึงทุกช่องทางที่สะดวกต่อผู้บริโภค และ Promotion มีการปรับเปลี่ยนมาเป็น Communication คือการสื่อสารให้ผู้บริโภคได้รับอย่างทั่วถึงว่าธุรกิจมีการดำเนินการอะไรบ้าง เช่น สินค้าใหม่พร้อมด้วยอรรถประโยชน์เพิ่มที่ลูกค้าจะได้รับ ราคาที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โปรโมชั่นที่ตรงความต้องการ

ปัจจุบันถือได้ว่าเทคโนโลยีและราคาของแต่ละแบรนด์ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนักหลายๆ ค่ายจึงพยายามหันมาปรับกลยุทธ์เพื่อผลักดันสินค้าไปสู่ผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาผู้นำตลาดอย่างมิตซูบิชิก็มีการบริหารช่องทางจำหน่ายในเมืองและต่างจังหวัดอย่างชัดเจนโดยสินค้าใหม่มีราคาแพงจะเน้นทำตลาดในเมืองใหญ่แต่เมื่อสินค้าเริ่มตกรุ่นหรือมีราคาถดถอยและไม่เป็นที่นิยมในเมืองใหญ่แล้วก็จะผลักดันสู่ตลาดต่างจังหวัดซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคในอดีตจะเน้นฟังก์ชั่นการใช้งานหลักโดยไม่สนใจฟังก์ชั่นเสริมมากนัก แต่ปัจจุบันผู้บริโภคในต่างจังหวัดมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยสนใจสินค้าที่มีเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากการเติบโตของเครื่องใช้ไฟฟ้าเซกเมนต์ไฮเอนด์ในต่างจังหวัดมีการเติบโตมากขึ้น

ดังนั้น มิตซูบิชิจึงปรับกลยุทธ์ในการบริหารช่องทางจำหน่ายมาสู่คอนเซ็ปต์ Select & Focus เพื่อผลักดันสินค้าไฮเอนด์สู่ตลาดต่างจังหวัดมากขึ้นเช่นเดียวกับซัมซุงที่หันมาให้ความสำคัญกับตลาดต่างจังหวัดโดยมีการดำเนินกลยุทธ์ Total Solution Provider ด้วยการจับมือพันธมิตรขยายช่องทางใหม่ๆ เช่นกลุ่มร้านเฟอร์นิเจอร์ซึ่งจะมีการดีไซน์เฟอร์นิเจอร์ให้สอดคล้องกับสินค้าของซัมซุงตามคอนเซ็ปต์ห้อง เช่น Bed Room Solution, Living Room Solution, Kitchen Room Solution ผนวกกับการทำโปรโมชั่นแบบ Mixed & Match เพื่อโน้มน้าวลูกค้าซัมซุงที่ใช้สินค้ากลุ่มหนึ่งให้หันมาซื้อสินค้าอีกกลุ่มหนึ่ง หรือลูกค้าใหม่ถ้าซื้อผลิตภัณฑ์หลายกลุ่มพร้อมกันก็จะได้สิทธิพิเศษเป็นการเพิ่มปริมาณการใช้และขยายฐานลูกค้าไปในคราวเดียวกัน

ในขณะที่ผู้ท้าชิงอย่างแอลจีซึ่งใช้เวลาเพียง 5 ปี ก็สามารถสร้างส่วนแบ่งการตลาดได้ 18-19% จากตลาดรวม 7-8 แสนยูนิต ผลัดกันเป็นเบอร์ 2 ร่วมกับพานาโซนิคโดยคาดว่าปีนี้ตลาดเครื่องปรับอากาศจะมีปริมาณความต้องการในตลาดสูงถึง 1 ล้านยูนิต ซึ่งแบ่งเป็นรุ่นราคาประหยัด 75% ที่เหลือ 25% เป็นรุ่นกลางถึงระดับไฮเอนด์ สำหรับปีนี้แอลจีจะเน้นการสร้างยอดขายเครื่องปรับอากาศรุ่นไฮเอนด์แม้ตลาดส่วนใหญ่ยังเป็นรุ่นราคาประหยัดแต่ต้องเผชิญกับสงครามราคาทำให้กำไรมีน้อยไม่คุ้มกับการลงทุน ทั้งนี้แอลจีตั้งเป้าที่จะปรับสัดส่วนสินค้าโดยลดรุ่น Jet Cool ซึ่งเป็นรุ่นราคาประหยัดจากสัดส่วน 73% ให้เหลือ 50% ส่วนรุ่น Neo Plasma ซึ่งเป็นเครื่องปรับอากาศระดับกลางจะเพิ่มสัดส่วนจาก 9% เป็น 24% และ Art Cool ซึ่งเป็นรุ่นไฮเอนด์จะเพิ่มสัดส่วนจาก 18% เป็น 26% โดยมีการบริหารช่องทางร่วมกับตัวแทนจำหน่ายดำเนินกลยุทธ์ในรูปแบบ Shop in Shop ภายใต้ชื่อ Art Cool Gallery เพื่อจัดดิสเพลย์การใช้งานของเครื่องปรับอากาศแอลจีให้เห็นรูปแบบการดีไซน์ที่กลมกลืนกับห้องจึงเป็นเสมือนเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งในบ้าน โดยแอลจีตั้งเป้าที่จะเปิด Art Cool Gallery ให้ครบ 50 สาขาในปีนี้ พร้อมยกระดับการบริการโดยมี LG Air Conditioning Academy เป็นศูนย์ในการอบรมให้กับบุคลากรที่จะบริการหลังการขายแก่ลูกค้า แอลจีตั้งเป้ายอดขายสิ้นปี 2,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50% จากปีก่อนที่ปิดยอดได้ 1,800 ล้านบาท โดยใช้งบการตลาด 500 ล้านบาท แบ่งเป็นงบโฆษณา 300 ล้านบาท งบกิจกรรมการตลาด 200 ล้านบาท

นอกจากการต่อสู้กันของแบรนด์ญี่ปุ่นและเกาหลีแล้วยังมีแบรนด์จากอเมริกาอย่างเครื่องปรับอากาศยอร์คซึ่งปีนี้เน้นการบริหารช่องทางแบบใหม่ผ่าน Call Center 1490 โดยทุ่มงบกว่า 30 ล้านบาท ร่วมกับองค์การโทรศัพท์เพื่อเพิ่มคู่สายในการให้คำปรึกษาตั้งแต่เรื่องของการบำรุงดูแลรักษา การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ ตลอดจนเป็นสื่อกลางในการรับคำสั่งซื้อจากผู้บริโภคไปสู่ตัวแทนจำหน่ายที่อยู่ใกล้บ้านผู้บริโภคแต่ละราย พร้อมด้วยบริการจัดส่งสินค้าถึงบ้าน จึงถือเป็นอาวุธสำคัญในการเพิ่มยอดขายให้คู่ค้าที่มีอยู่เพียง 200 รายซึ่งถือว่าน้อยกว่าคู่แข่งค่อนข้างมาก เนื่องจากยอร์คเติบโตมากจากตลาดเครื่องปรับอากาศรุ่นใหญ่ฐานลูกค้าจึงเป็นลูกค้าองค์กรมากกว่า ประกอบกับก้าวสู่ตลาดคอนซูเมอร์เพียงไม่กี่ปีจึงมีความเสียเปรียบในเรื่องของจำนวนตัวแทนจำหน่ายซึ่งต่างจากกรณีของแอลจีที่นอกจากจะมีช่องทางจำหน่ายเครื่องปรับอากาศโดยเฉพาะแล้วยังจำหน่ายผ่านตัวแทนที่ขายเครื่องช้าไฟฟ้าอื่นๆ ของแอลจี ดังนั้นนอกจากยอร์คจะต้องทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงตัวแทนจำหน่ายได้ง่ายขึ้นโดยผ่าน Call Center แล้วยังต้องเร่งขยายช่องทางจำหน่ายเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะโมเดิร์นเทรดซึ่งมีดีลเลอร์ 2 ราย คือ อิออนเวิลด์ และโมเดิน์แอร์ ซึ่งกระจายสินค้าของยอร์คสู่โมเดิร์นเทรดรวมกัน 70 แห่งเพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภคได้สัมผัสสินค้าจริงด้วยเพราะลำพังการเข้าถึงด้วย Call Center อย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอและเป็นการยากที่จะให้ผู้บริโภคซื้อโดยไม่เคยได้สัมผัสสินค้าจริงเลย

อย่างไรก็ดีแม้จะมีการดำเนินกลยุทธ์โดยเน้นการบริหารช่องทางจำหน่ายมากขึ้นแต่ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้ารุ่นใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่องโดยแต่ละแบรนด์ต่างชูจุดเด่นของตัวเองอย่างมิตซูบิชิลอนช์เครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ที่มีเซ็นเซอร์อินฟาเรด มูฟอาย ซึ่งจะตรวจจับอุณหภูมิห้องรัศมีกว้าง 150 องศา จากนั้นจะทำความเย็นไปยังจุดที่มีอุณหภูมิสูงสุดก่อนซึ่งจะทำให้เครื่องไม่ต้องทำงานหนัก ช่วยประหยัดไฟ ในขณะที่แอลจียังคงเน้นดีไซน์สำหรับรุ่นอาร์ทคูลโดยออกรุ่นใหม่สามารถเปลี่ยนสีหน้ากากได้ รวมถึงมีรุ่นที่มีหน้ากากเป็นกรอบรูปสามารถเปลี่ยนรูปได้ พร้อมด้วยระบบฟอกอากาศแบบนีโอพลาสม่าพลัส นอกจากนี้ยังมีระบบทำความเย็นสำหรับอาคารใหญ่อย่างอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียม ส่วนยอร์คมีเครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ Fighting Vitamin C ที่อิงกระแสสุขภาพ โดยยอร์คตั้งเป้าที่จะขึ้นมาเทียบแบรนด์เกาหลีในอีก 3 ปี ปัจจุบันยอร์คมีส่วนแบ่งการตลาด 7.5% อยู่ประมาณอันดับที่ 7-8   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us