|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เศรษฐกิจที่มีกลิ่นอายของความเซื่องซึมมิได้ลดอุณหภูมิการแข่งขันของภาคการเงินให้เย็นลงแต่ประการใด...ความร้อนแรงดุเดือดในการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดโดยเฉพาะฐานลูกค้ารายย่อยยังดำเนินต่อไปภายใต้โอกาสที่ไม่เอื้ออำนวยนัก แต่ถึงกระนั้นทุกสถาบันต่างไม่ยอมลดราวาศอกให้คู่แข่งเข้ามาช่วงชิงเค้กของตน....ตรงข้ามกลับบุกตะลุยสู้เหมือนผู้รู้ที่เห็นโอกาสอยู่เบื้องหน้า หรือนั่นเพราะทุกฝ่ายต่างคิดในทิศทางเดียวกันว่าในวิกฤติย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นเสมอ
แม้เศรษฐกิจไทยยังไกลโพ้นความวิกฤติ แต่ก็มิอาจปฏิเสธว่าขณะนี้ความซบเซากำลังมาเยือน...จริงๆ สัญญาณเริ่มก่อตัวมานานแล้ว นับจริงก็ตั้งแต่ยุครัฐบาลรักษาการครองอำนาจ...
ความซบเซาเป็นผลมาจากความอ่อนแอของมหาอำนาจ "สหรัฐ" ต้องเผชิญกับภาวะความเปราะบางของเศรษฐกิจในประเทศตน ความอ่อนล้าลามไปทั่วเสมือนโรคติดต่อ เป็นภาวะที่ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกอ่อนแรงและซึมไป ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ได้รับผลดังกล่าว
แต่การที่เศรษฐกิจไม่โชติช่วงดั่งอดีตที่ผ่านมา...ใช่จะบั่นทอนภาคธุรกิจให้หมดไฟตามไปด้วยโดยเฉพาะกับภาคการเงิน เมื่อวัดอุณหภูมิการแข่งขันแล้วยังคงร้อนระอุไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนๆ แม้มีศึกหลายด้านให้ต้องเป็นภาระก็ตาม เช่นการสร้างฐานะความแข็งแกร่งให้แบงก์ด้วยการตั้งสำรองตามเกณฑ์มาตรฐานบัญชีใหม่ (IAS 39) ที่กล่าวได้ว่าเล่นเอาแบงก์หลายแห่งถึงกับเหงื่อซึม....แต่สุดท้ายแล้วก็มิได้ทำให้แบงก์ทั้งระบบต้องหยุดเดิน....
สมรภูมิจึงคงไว้ซึ่งนักรบต่อไป "ทหารไทย" ก็เป็นหนึ่งในนักรบหลายรายที่สู้ไม่ถอยแม้ต้องเผชิญศึกหนักโดยเฉพาะปัญหาการเพิ่มทุน
ลือชา ศุกรเสพย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานธุรกิจรายย่อย มิอาจกล่าวได้ถึงปัญหาการเพิ่มทุน หากแต่กล่าวเฉพาะหน้าที่ในสิ่งที่ตนรับผิดชอบ นั่นคือการเพิ่มและขยายฐานลูกค้ารายย่อยให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ หลังจากอดีตที่ผ่านมาแบงก์แห่งนี้เปิดประตูต้องรับลูกค้าองค์กรเป็นเสียส่วนใหญ่
ภายใต้งานมหกรรมการเงิน 2007 ที่โคราช (นครราชสีมา) เป็นพื้นที่ให้สถาบันการเงินแต่ละแห่งประชันจุดเด่นเพื่อดึงดูดลูกค้ารายย่อยเข้าสู่ฐานระบบตน....
แต่ดูเหมือนว่า การมาของแบงก์ทหารไทยจะยังไม่ใช่เพื่อการแข่งขันที่แท้จริง กลับกลายเป็นว่ามาเพื่อเปิดตัวทำความรู้จักลูกค้ารายย่อยให้มากขึ้น ซึ่งในอนาคตนำไปสูการขยายตลาดได้ ดังนั้นลูกเล่นในการเสนอผลิตภัณฑ์การเงินจากแบงก์ทหารไทยไม่หวือหวาหรือโดดเด่นมากนัก
ผิดกับ "ออมสิน" ลูกเล่นทางการตลาดที่แพรวพราวช่วยดึงลูกค้าเข้าแบงก์ได้มากที่เดียว กับแนวคิดส่งเสริมการออมแบบธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ด้วยการทำตราประทับคำว่า "กูให้มึงออม มึงจะได้ไม่จน" เป็นพรจากหลวงพ่อคูณมอบแก่ศิษยานุศิษย์ทุกคน และตราประทับแกะขึ้นจากลายมือจริงของหลวงพ่อคูณ พร้อมผ่านการทำพิธีปลุกเสก ซึ่งออมสินจะนำตราประทับดังกล่าวประทับลงบนผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินทุกประเภทที่ลูกค้าใช้บริการ
อีกหนึ่งสถาบันการเงินที่ไม่ยอมน้อยหน้าใครก็หนีไม่พ้น "เมืองไทยประกันชีวิต" งานนี้ทุ่มสุดตัวเปิดถึง 2 บูธ "สาระ ล่ำซำ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บอกว่า เพราะโคราชเป็นตลาดใหญ่ทางภาคอีสาน และเป็นตลาดที่บริษัทให้ความสนใจขยายฐานซึ่งเป็นนโยบาย ที่ต้องการเพิ่มจำนวนลูกค้าในภูมิภาคมากขึ้น ดังนั้นส่วนหนึ่งของการเปิดถึง 2 บูธ ก็เพื่อประชาสัมพันธ์ อีกส่วนเพื่อกิจกรรมบันเทิงที่มีสาระ (Edutainment) ที่ถือเป็นไฮไลท์ ของ "เมืองไทยประกันชีวิต"ก็ว่าได้
และมากกว่าการประชาสัมพันธ์ "เมืองไทยประกันชีวิต" ไม่เคยลืมคอนเซ็ป ความบันเทิง สีสันของงานนี้จึงมีศิลปินดารามาร่วมกิจกรรมสร้างความบันเทิงให้ผู้มาเยือนบูธอีกด้วย ขณะเดียวกันอาจได้สิทธิพิเศษที่ต่างออกไปจากกิจกรรมที่มีในบูธ เช่นรับบัตร คอนเสิร์ต "Bird เปิดฟลอร์" เป็นต้น เพียงแต่ต้องอยู่ในเงือนไขการทำประกันชีวิตในแบบที่บริษัทกำหนด
ถือเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งที่ภาคการเงินสะท้อนให้เห็นถึงการแข่งขันที่ขับเคี่ยวกันเข้มข้น ซึ่งนอกจากประชันจุดเด่นองค์กรแล้ว ยังคาดหวังที่จะขยายฐานลูกค้ารายย่อยพร้อมกินส่วนแบ่งตลาดของคู่แข่งให้มากยิ่งขึ้น ห้วงเวลานี้จึงดูเหมือน "ภาคการเงิน" ประกาศรบในสถานการณ์ที่ไม่เอื้อเท่าใดนัก...แต่ดูเหมือนไม่มีสิ่งใดที่จะหยุดยั้งความคิดและการกระทำของสถาบันเหล่านี้ได้....อาจเพราะผู้นำทัพ (ผู้บริหาร) เกรงว่าการนิ่งเฉยอาจทำให้เสียอาณาจักรพื้นที่ครอบครอง หรืออีกมุมคิดในทางเดียวกันว่าสถานการณ์ตอนนี้ยังห่างไกลคำว่า "วิกฤติ"
|
|
|
|
|