Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2546
Start With No             
 





โจมตีหลักการเจรจาแบบ win-win

มั่นใจในประสบการณ์ 20 ปีในฐานะผู้ฝึกสอนแนะนำเรื่อง การเจรจาต่อรอง Jim Camp จึงกล้าท้าทายทฤษฎีความเชื่อเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองหลายอย่างที่ใช้กันอยู่ทั้งในการเจรจาเรื่องส่วนตัวหรือธุรกิจ

ทฤษฎีแรกที่ถูกเขาโจมตีคือทฤษฎีที่เรารู้จักกันดีนั่นคือ หลักการเจรจาต่อรองแบบ win-win model Camp บอกว่า win-win ถูกนำไปอธิบายอย่างผิดๆ ว่าเป็นพื้นฐานของการเจรจาต่อรองที่ดี แต่ความจริงคือ win-win เป็นวิธีเจรจาที่แย่ที่สุดหากคุณต้องการผลการเจรจาที่ดีที่สุด เขายังโทษว่า ยุทธวิธีเจรจาต่อรองแบบ win-win นี่แหละที่เป็นตัวการทำให้ธุรกิจหลายรายถึงกับต้องล้มระเนระนาด

Camp ชี้ว่า อันตรายที่แฝงตัวอยู่ใน win-win ก็คือการยอมประนีประนอมนั่นเอง ซึ่งเปรียบเหมือนยาพิษที่ซ่อนตัวอยู่ใน "คำโกหกคำโตอย่าง win-win" Camp เตือนให้นักเจรจาทั้งหลาย ระวังนักเจรจาเจ้าเล่ห์ ซึ่งมักจะเป็นนักเจรจาของบรรดาบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ทั้งหลายไว้ให้ดีๆ นักเจรจาประเภทนี้ได้ศึกษาจุดอ่อนของ win-win ไว้แล้วอย่างทะลุปรุโปร่ง แล้วใช้ความรู้นั้น เอาเปรียบนักเจรจารายเล็กที่ยึดมั่นในหลักการเจรจาแบบ win-win

Camp เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า "win-win และการยอมประนีประนอมเป็นกรอบความคิดที่ทำให้คุณแพ้ตั้งแต่อยู่ในมุ้ง" พร้อมยกตัวอย่างบริษัทเล็กๆ รายแล้วรายเล่าที่ต้องตกเป็นเหยื่อของบริษัทใหญ่ และต้องถูกหลวกลวงให้ละทิ้งผลประโยชน์ของตน โดยนักเจรจาร้อยเล่ห์ที่ใช้ความเชื่อมั่นในการเจรจาแบบ win-win ของพวกเขา มาทำร้ายพวกเขาเอง

การเจรจาที่ไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึก

Camp เตือนสตินักเจรจาทั้งหลายว่า คนที่นั่งอยู่อีกฟากหนึ่งของโต๊ะเจรจานั้นหาใช่มิตรของคุณไม่ แต่คือศัตรูหรือฝ่ายตรงข้ามกับคุณ แม้ว่าเขาจะแกล้งทำเป็นมิตรก็ตาม Camp ปฏิเสธการเจรจาที่มีอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งหมด และเสนอให้ใช้เทคนิคการเจรจาที่อิงกับการตัดสินใจแทน

Camp แนะให้นักเจรจามุ่งเน้นสิ่งที่พวกเขาควบคุมได้ (ได้แก่วิธีการเจรจา) แทนที่จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขาควบคุมไม่ได้ (คือผลการเจรจา) ด้วยการเสนอระบบการเจรจาที่แนะวิธีที่จะทำให้พวกเขาสามารถควบคุมการกระทำและการตัดสินใจของตนเอง

Camp ยังชี้ว่า บางครั้งการเดินออกจากโต๊ะเจรจา กลางคันอย่างสุภาพ สามารถถือเป็นความสำเร็จในการเจรจาได้ในบางสถานการณ์

หลักการที่สนับสนุนการเจรจาต่อรองแบบ "เริ่มต้นด้วยคำว่าไม่" ของ Camp คือความเข้าใจว่า การปฏิเสธคือการตัดสินใจที่แท้จริงของคุณ นอกจากนี้ การเริ่มต้นด้วยคำว่าไม่จะช่วยให้คุณคงการควบคุมเอาไว้ได้ ในขณะที่ทำให้คนอื่นๆ มีเรื่องที่จะพูด ระบบการเจรจาต่อรองของ Camp ยังเชื่อว่า ผู้เจรจาควรให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งอาจต้องใช้เวลายาวนานในการพิสูจน์ มากกว่าเพียงแค่ชัยชนะในการเจรจาที่เห็นได้ในทันที

14 หลักการเจรจาต่อรอง

Start With No มีทั้งสิ้น 14 บท แต่ละบทกล่าวถึงหลักการเพียง 1 ข้อของระบบการเจรจาต่อรองของ Camp ซึ่งมีทั้งสิ้น 14 ข้อ แต่ละบทจะแนะวิธีที่คุณสามารถจะนำหลักการในบทนั้นไปใช้ได้จริงในการเจรจาต่อรอง หลักการข้อแรกๆ จะช่วยในเรื่องการเตรียมการก่อนการเจรจา ส่วนข้อหลังๆ เป็นการอธิบายอย่างละเอียดถึงโครงสร้างของกระบวนการเจรจาซึ่งได้แก่ วาระ งบประมาณ การนำเสนอข้อมูล ภารกิจและวัตถุประสงค์ ตัวอย่างหลักการเจรจาของ Camp ก็เช่น

' จุดอ่อนที่สุดในการเจรจาคือ การทำให้ฝ่ายตรงข้ามจับได้ว่าการเจรจาครั้งนี้มีความจำเป็นต่อคุณ เพราะฝ่ายตรงข้ามจะไม่รีรอเลยที่จะใช้จุดนี้เอาเปรียบคุณ

' Colombo Effect การยอมให้ฝ่ายตรงข้ามควบคุมสถานการณ์ได้ แสดงว่าคุณกำลังถูกควบคุม

' กำหนดภารกิจและวัตถุประสงค์เพื่อใช้วัดความสำเร็จการเจรจา ถ้าผลการเจรจาสามารถบรรลุตามภารกิจ และวัตถุ ประสงค์ที่คุณกำหนดไว้ได้ ถือว่าประสบผลสำเร็จ

' ทำใจให้สงบและว่างเหมือนกระดาษเปล่า อย่าคาดหวัง อย่าสรุปเข้าข้างตัวเอง คุณต้องรู้เท่าทันความคาดหวังและการสรุปแบบเข้าข้างตัวเองของตัวคุณเอง และกันมันออกไปให้ห่างจากโต๊ะเจรจา มิฉะนั้นมันจะเป็นตัวขัดขวางคุณ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us