Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2546
ดนตรี Afro-Cuban (ตอนจบ)             
โดย อเนกระรัว
 

   
related stories

ดนตรี Afro-Cuban (ตอนที่ 1)
ดนตรี Afro-Cuban (ตอนที่ 2)




ทศวรรษที่ 1940 เป็นช่วงเวลาเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับดนตรี Afro-Cuban 2 เหตุการณ์คือการกำเนิดดนตรี Mambo และการกำเนิด Afro Cuban Jazz จะกล่าวถึงส่วนแรกก่อนดนตรี Mambo กำเนิดจากกลุ่มนักดนตรีที่เรียกตัวเองว่า Cachao นำโดยนักดนตรีพี่น้องอิสราเอลและ Orestes Lopez คิดค้นและพัฒนาดนตรี Mambo จนได้รับความนิยมสูง

Mambo เป็นดนตรีบรรเลงสำหรับเต้นรำ หรือลีลาศ (เต้นรำใน Dance Hall ที่โอ่อ่าตระการตา) ลีลาไม่ช้าไม่เร็ว มีลักษณะพิเศษคือการเรียบเรียงดนตรีให้บรรเลงโต้ตอบที่เรียกว่า Call and Response ในเรื่องของ เสียงประสานได้ขอยืมโครงสร้างและวิธีการของดนตรีแจ๊ซ ทำให้ Mambo มีสีสันของเสียงที่ ทันสมัยและลุ่มลึก ในเวลาไม่นาน Mambo ก็ได้แพร่กระจายสู่ประเทศเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา Mambo ถูก พัฒนาจากวงดนตรีขนาดเล็กที่ประกอบด้วย Trumpet, Piano, Tres (เครื่องดนตรีคล้ายกีตาร์), Bass, Conga และ Bongo ที่เรียกว่า Conjunto จนกลายเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ในลักษณะ Latin Big Band มีนักดนตรีกว่า 30 คน โดยศิลปินที่รับผิดชอบการพัฒนาและเผยแพร่ดนตรี Mambo เข้าสู่โลกดนตรีสากล ก็ได้แก่ Perez Prado, Tito Puente และพี่น้อง Lopez เป็นต้น

นอกจาก Mambo แล้ว ทศวรรษที่ 1940 ยังเป็นยุคกำเนิด Afro Cuban Jazz ซึ่งเกิดจากการหลอมรวมของดนตรี Afro-Cuban แนวต่างๆ ที่กำลังเป็นกระแสแรงกล้ากับดนตรีแจ๊ซ เริ่มต้นจากนักร้องเชื้อสายคิวบานามว่า Frank Raul Grillo รู้จักกันในนาม Machito กับคู่หูนักดนตรีและนักเรียบเรียงดนตรี Mario Bauza เข้าไปหาเลี้ยงชีพในนิวยอร์ก ด้วยความสามารถทั้งคู่ประสบ ความสำเร็จอย่างสูง ต่อมาวงดนตรีได้เชิญนักดนตรีแจ๊ซ Bebop ระดับพระกาฬ เช่น Charlie Parker, Dizzy Gillespie, Joe Phillops, Buddy Rich มาร่วมแจมเพื่อผลิตแผ่นเสียงกลายเป็นดนตรีรูปแบบ ใหม่คือ Latin Jazz หรือ Afro Cuban Jazz ดนตรีแนวนี้ต่างจากดนตรี Mambo ซึ่งก็ได้รับความนิยมสูงในเวลาเดียวกันตรงที่ Latin Jazz เป็นดนตรีเพื่อการฟังโดยเฉพาะ นักดนตรี สามารถแสดงออกได้เต็มที่ด้วยท่อน Improvisation ที่ยาวและดนตรียังมีความสลับซับซ้อนทั้งโครงสร้างและเสียงประสาน ขณะที่ดนตรี Mambo เป็นดนตรีประกอบการลีลาศใน Dance Hall ดนตรีไม่ซับซ้อน ฟังง่าย ถ้าจะเปรียบเทียบกับดนตรีแจ๊ซในขณะนั้น Mambo เทียบเท่า Swing ขณะที่ Latin Jazz เทียบเท่า Bebop

ขณะที่ Mambo กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ปี ค.ศ.1953 ดนตรี ChaChaCha หรือเรียกแบบไทยๆ ว่า สามช่า ก็ระบาดทั่วคิวบา และในเวลาไม่นานก็แพร่ระบาดสู่สหรัฐอเมริกา ดนตรีสามช่า เป็นดนตรีเพื่อการลีลาศที่ถูกแปลงมาจาก Mambo ผสมกับ Danzon (ดนตรีสำหรับเต้นรำที่พัฒนามาจาก Con-tradanse ที่เคยเล่าไว้) ลีลาของดนตรีและการลีลาศแบบสามช่า เน้นความสง่างามมีความเป็นยุโรป สุขุมเยือกเย็นกว่า Mambo แต่ก็ไม่ช้ามาก เรื่องของเครื่องดนตรี มีการนำเครื่องสาย (ไวโอลิน ฯลฯ) และ Flute มาแทนเครื่องทองเหลืองทำให้ดนตรีฟังนุ่มขึ้น ดนตรีสามช่าฮิตติดตลาดอยู่พักหนึ่งจากนั้นก็ซึมลึกมาจนทุกวันนี้ ในบ้านเราดนตรีสามช่ายังมีอิทธิพลต่อดนตรีลูกทุ่งและเพลงเพื่อชีวิต (ทั้งผู้ยากไร้และตัวเอง) ดังที่ได้ยินกัน

ทศวรรษที่ 1950 ดนตรีคิวบา เข้ายึดส่วนหนึ่งของประเทศ สหรัฐฯ (วัฒนธรรมดนตรี) ได้อย่างมั่นคงโดยเฉพาะเมืองใหญ่เช่น นิวยอร์ก แอลเอ หรือไมอามี่ แต่ขบวนการยึดพื้นที่ยังคงเดินหน้าต่อปลายทศวรรษที่ 1950 ดนตรีแนว Bolero บุก Nashville แพร่ อิทธิพลสู่ชาวคาวบอยมะกันหน้าใส ทำให้เกิดจังหวะ Slow ในดนตรีประเภท Country ให้ชาวคาวบอยและคาวเกิร์ลได้ซบกัน

ส่วนเหตุการณ์ที่สำคัญในปี ค.ศ.1959 ซึ่งอาจไม่เกี่ยวกับวงการดนตรีโดยตรงคือ การปฏิวัติที่ทำให้ประเทศคิวบากลายเป็น ประเทศสังคมนิยมเต็มตัวภายใต้การนำของ Fidel Castro

แม้โลกจะเข้าสู่ภาวะสงครามร้อน สงครามเย็น ระหว่างเศรษฐศาสตร์สังคมสองค่าย ดนตรีคิวบาก็ยังส่งอิทธิพลต่อโลก ซีกขวาอยู่เนืองๆ ปี ค.ศ.1966 นักร้องชื่อดังชาวอเมริกัน Pete Seegar นำเอาเพลง Quantanamera ซึ่งเป็นเพลงแนวลูกทุ่งคิวบา (Country Music) ซึ่งแต่งโดย Jose Fernandez มาบันทึกเสียงกลายเป็นเพลงดังสนั่นลือลั่นไปทั่วโลก รวมทั้งเมืองไทยด้วย

ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา ดนตรี Afro-Cuban ที่ได้รับความนิยมสู่วงกว้างเป็นดนตรีที่เรียกว่า Salsa ดนตรี Salsa คือดนตรีที่ผสมผสานดนตรี Afro-Cuban ในแนวต่าง มีทั้งช้า ทั้งเร็ว และร้อนแรงพัฒนาเป็นตัวเป็นตนที่นิวยอร์ก กลายเป็นแม่แบบสำหรับนำไปผสมผสานกับแนวดนตรีต่างๆ

สำหรับศิลปินที่นำแนวดนตรี Salsa มานำเสนอสู่ชาวโลกจนได้รับความสำเร็จอย่างสูงในปัจจุบัน ก็มีอาทิ Gloria Estafan ศิลปินสาวผู้นี้บ้านเกิดอยู่ที่กรุงฮาวาน่า ประเทศคิวบา Gloria Estafan ประสบความสำเร็จโดยนำดนตรี Afro-Cuban โดยเฉพาะ Salsa มาผสมกับเพลงป๊อป นอกจากเพลงลูกผสมแนวป๊อปแล้ว Gloria ยังผลิตซีดีเพลงในแนวคิวบาดั้งเดิมอีกด้วย

นอกจากนั้นยังมีศิลปินประเทศใกล้เคียง เช่น เม็กซิโก หรือ เปอโตริโก เช่น Carlos Santana ที่นำดนตรี Afro-Cuban มาผสมกับดนตรี Rock ประสบผลสำเร็จได้ยืนยาวแนะนำให้ฟังผลงานชุด Supernatural ซึ่งเป็นการผสมผสานที่น่าสนใจยิ่ง

Ricky Martin ก็เป็นศิลปินที่ได้รับความนิยมสูง พื้นเพเป็น ชาวเปอโตริโก มาร้องเพลงในสหรัฐฯ จนดังไปทั่วโลกแนวดนตรี ของ Ricky นำจังหวะจะโคนดนตรีแถบคาริเบียน ซึ่งก็คือลูกหลาน ของดนตรี Afro-Cuban ดนตรีสนุกสนานร่าเริง เร้าใจ และก็ยังนำเสนอในแนวป๊อป จึงเป็นที่ถูกใจผู้คนทั่วไปที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างของดนตรีที่ได้รับอิทธิพลจากดนตรี Afro-Cuban กระจายสู่ผู้คนในวงกว้าง

นอกจากดนตรี Salsa ที่ได้รับความนิยมในวงกว้างแล้วในส่วนดนตรีกึ่งใต้ดิน ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นของผู้ชมกลุ่มเล็กหน่อยได้แก่ ดนตรี Songo ดนตรีแนวนี้เริ่มเข้าสู่วงการเพลงในคิวบาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1970 ดนตรีมีลักษณะผสมผสาน (Fusion) ระหว่างดนตรี ร็อก แจ๊ซ บราซิลเลียน และป๊อป เครื่องดนตรีจะเน้นเครื่องไฟฟ้า เช่น เบส กีตาร์ ไวโอลิน และกลองชุด แนวการ เล่นเบสและคอร์ด ก็จะหลุดจากรูปแบบดั้งเดิมและล่าสุด ดนตรี Songo ก็พัฒนาสู่ Timba ซึ่งออกสุดขั้วเป็นดนตรีที่มีพื้นฐานอยู่ บน Salsa แต่จะมีส่วนผสมของบราซิลเลียนฮิปฮอป Rhythm & Blues ในรูปแบบที่พิสดาร ผู้เชี่ยวชาญบางท่านยังไม่ถือว่า Timba เป็นรูปแบบดนตรีคิวบาที่เด่นชัด

สำหรับท่านที่สนใจอยากฟังดนตรีในแนว Afro-Cuban ผมเสนอให้ท่านเริ่มฟังเพลงแนวป๊อป ก่อนจากศิลปิน Gloria Estafan และที่ยกตัวอย่างไว้ ส่วนอีกแนวดนตรีที่น่าสนใจคือ Latin Jazz หรือ Afro-Cuban Jazz ก็มีศิลปินชั้นนำระดับโลกที่นำเสนอในปัจจุบัน ได้แก่ Paquito dž Rivera, Tito Puente, Poncho Sanchez, Mongo Santamaria, Herbie Mann เป็นต้น

ท่านใดสนใจอยากลิ้มรสดนตรีแนว Latin Jazz ที่กล่าวมา ถือเป็นครีมออฟครีมทั้งสิ้น ที่ผมเล่าขานมา 3 ตลบ มีสิ่งที่น่าทึ่งของประเทศคิวบาคือ ความก้าวหน้าด้านศิลปะดนตรีคิวบามิได้หยุดนิ่ง แม้สภาพสังคมการเมืองหรือเศรษฐกิจจะแปรเปลี่ยนไปอย่างไร

ในบางกรณีดนตรีถูกพัฒนานอกประเทศคิวบาจากลูกหลานคิวบา หรือประเทศใกล้เคียงที่ได้รับอิทธิพลทางดนตรี จะเห็นได้ว่าผลพวงของดนตรี Afro-Cuban นั้น ทรงอิทธิพลต่อโลกดนตรีไม่ว่าจะอยู่ในมุมไหนของโลก จะเชื้อชาติใด ศาสนา ความเชื่อใด ฐานะทางเศรษฐกิจใดหรือระบบสังคมแบบใด ดนตรีและลูกหลานของดนตรี Afro-Cuban ก็สามารถสอดแทรกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนได้ ผมคิดว่าดนตรี Afro-Cuban เป็นของขวัญชิ้นใหญ่ที่มีค่ายิ่งที่มนุษย์สร้างให้กับมนุษย์ด้วยกันท่ามกลางโลกที่ทะเลาะเบาะแว้งกันไม่จบไม่สิ้นใบนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us