Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2546
โชติกา สวนานนท์ ผู้หญิงแถวหน้าตลาดทุนไทย             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 


   
search resources

โชติกา สวนานนท์




ครึ่งหนึ่งของผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมในไทยที่ได้รับใบอนุญาตทั้งสิ้น 14 รายเป็นผู้หญิง ซึ่งในวันนี้ คนที่โดดเด่นที่สุดแต่ก็ทำตัวโลว์โปรไฟล์มากที่สุดด้วยคือคุณโชติกา สวนานนท์ กรรมการ ผู้จัดการ บลจ.ทหารไทย

ความโดดเด่นของผู้หญิงคนนี้คือ ผลงานของ กองทุนที่เธอบริหารใน บลจ.ทหารไทย ซึ่งวันนี้มีอยู่ เพียง 4 กอง มีมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 40,480 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตของกองทุนอย่างสม่ำเสมอ แถมบางปี มีการโตแบบก้าวกระโดดด้วย โดยมี 2 กองทุนที่มีขนาด ใหญ่มากคือกองทุนเปิดทหารไทยธนบดี ซึ่งเป็นกองทุนเปิดตราสารหนี้ (Money Market Fund) ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น ก่อตั้งเมื่อเดือน พ.ค.2540 มีมูลค่า ทรัพย์สินสุทธิ 23,655 ล้านบาท (ณ 31 ม.ค.2546) และกองทุนเปิดทหารไทยธนวัฒน์ที่เป็นกองทุนเปิดตราสารหนี้เช่นกัน แต่ลงทุนในหุ้นกู้เอกชน ก่อตั้งเมื่อเดือน ก.ย.2542 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 15,458 ล้าน บาท (ณ 31 ม.ค.2546)

หากพิจารณาเฉพาะภาพของกองทุนรวม หรือ Mutual Fund แล้ว บลจ.ทหารไทย และ บลจ.อยุธยาเจเอฟ ซึ่งมีอายุอานามใกล้เคียงกันคือก่อตั้งประมาณ 6 ปี ถือเป็น 2 บลจ. ขณะนี้ที่มีส่วนแบ่งตลาดกองทุนรวมใหญ่สุดเท่ากันคือ 21% ขณะที่กองทุนเปิดทหารไทย ธนบดีเป็นกองทุนที่มีมูลค่าใหญ่ที่สุดในระบบกองทุนรวมเวลานี้

หากศึกษากลยุทธ์การจัดกองทุนของ บลจ. ค่ายนี้แล้ว ต้องยอมรับว่าไม่ธรรมดา ขณะที่ บลจ.รุ่นแรกๆ ยังติดขัดกับปัญหาการมีกองทุนประเภทเดียวกันออกมามาก และมูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วยลงทุนหรือ NAV (Net Asset Value) มีราคาลดต่ำลงกว่ามูลค่าหน่วยลงทุนมาก จนกองทุนนั้นๆ ขาดความน่าสนใจสำหรับนักลงทุน แต่ บลจ.ทหารไทยกลับมีจำนวนกองทุนน้อย และขนาดของกองทุนโตขึ้นเรื่อยๆ

ในปีนี้ โชติกาบอกว่าจะออกกองทุนอีก 2 ประเภท คือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ Provident Fund และกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ หรือ Retirement Mutual Fund ซึ่งต้องนับว่า RMF ของ บลจ.ทหารไทย ออกช้ากว่า บลจ.อื่นๆ มาก

โชติกาบอกเหตุผลว่า เจ้าหน้าที่ด้านไอทีของเธอมีจำกัด และกำลังเขียนโปรแกรมด้านอื่นๆ อยู่ อย่างไรก็ดี ปีนี้คงต้องออกมาอย่างแน่นอน โดยเธอกำลังคิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้ RMF มี economy of scale ได้ เพราะกองทุนประเภทนี้ไม่เหมือนกองทุน รวมธรรมดา เพราะนักลงทุนซื้อหน่วยได้น้อย ต่อคน ต่อปี สูงสุดก็ไม่เกิน 3 แสนบาท

ส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทหารไทยสนใจคือจะทำ employee choices ไม่ใช่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธรรมดา เธอเล่าว่าเป้าหมายของ บลจ.ทหารไทยไม่ได้เข้าไปที่รัฐวิสาหกิจใหญ่ๆ แต่ว่าอยากจะเจาะลูกค้าบริษัทที่เห็นความสำคัญของการให้พนักงานเลือกแบบ แผนการลงทุนด้วยตัวเอง คือให้โอกาสพนักงานจัดการ เงินของตัวเองเพื่อการเกษียณอายุของตัวเอง จะแบ่งพอร์ตโฟลิโอของตัวเองอย่างไร จะรับความเสี่ยงอย่างไร เท่าไร จะอยู่ใน money market เท่าไร stock เท่าไร bond เท่าไร จัดพอร์ตตัวเอง ไม่ต้องเหมือนกันได้ในแต่ละบุคคล เพราะ provident fund ที่มีลูกค้าเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ส่วนมากก็จะมีนโยบายเดียวสำหรับพนักงานทุกคน

เมื่อปีก่อนปีที่แล้ว สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ออกกฎมาใหม่อนุญาตให้พนักงานบริษัทมีสิทธิ์ในการเลือกการลงทุนของตัวเองได้ ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทจะให้หรือไม่ และบริษัทจัดการ (บลจ.) จะมีข้อเสนอหรือไม่ โชติกามีความสนใจในกฎใหม่นี้มาก เพราะ บลจ.ทหารไทยมีฐานลูกค้ารายย่อยหรือ retail market อยู่แล้ว โดยปัจจุบันมีฐานลูกค้าผู้ถือหน่วยอยู่ราว 20,000 คน

เธอเล่าว่าวิธีการที่จะทำคือให้พนักงานหรือ ผู้ถือหน่วยสามารถบริหารเงินลงทุนของตัวเองได้ โดย บลจ.จะมีที่ปรึกษาการลงทุนเข้ามาให้คำแนะนำ ฝ่ายนี้จะมีหน้าที่พัฒนาเครื่องมือ หรือ tool ที่จะวัดวิธีการรับความเสี่ยงของแต่ละคน การวัดด้วยแบบทดสอบทั้งหลาย เป็นต้น

"เราต้องเข้าไปหาบริษัทที่มีนโยบายที่เปิดกว้างพอสมควร เราจะมีทีมเข้าไปสอน ไปให้คำแนะนำว่าโลกการเงินเดี๋ยวนี้เป็นอย่างไร และถ้าเราเลือกได้เราจะลงทุนอย่างไร" โชติกาเล่าให้ฟัง และเธอคาดว่าในเดือน มี.ค. ก.ล.ต.จะเข้ามาตรวจสอบระบบที่พัฒนาขึ้นอีกครั้ง เพื่อให้ความมั่นใจว่าระบบที่เขียนขึ้นมานี้ทำได้แน่นอน แล้วจึงจะให้ใบอนุญาต หลังจากนั้นจึงจะออกหน่วยลงทุนขายประชาชนได้

เธอยังบอกด้วยว่าการที่ ก.ล.ต.ออก employee choice ขึ้นมานี่ เธอยินดีอย่างมาก เพราะมันตรงกับแนวความคิดหรือ business philosophy ของบริษัทอยู่ แล้วก็เลยจะทำ "คือเราจะสร้างระบบที่เป็น provident fund เป็น pool ที่ feed เข้ามาในกองทุนต่างๆ 4 กอง ที่ บลจ.ทหารไทยมีอยู่ เพื่อให้คนเลือกหรือจัดสรรพอร์ต การลงทุนด้วยตัวเอง ตามความต้องการของตัวเอง ตามความเสี่ยงที่ตัวเองยอมรับได้"

ถือเป็นมุมมองหรือกลยุทธ์ที่ต่างออกไปจากการบริหารกองทุนที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งส่วนมากจะออกกองทุนใหม่ๆ มาขายประชาชน โดยพยายามให้มีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างออกไป ทั้งที่ในโลกแห่งความเป็นจริงของตลาดทุนไทยเวลานี้ แหล่งลงทุนหรือทางเลือกในการนำเงินของประชาชนไปลงทุนนั้นมีอยู่ไม่มากนัก

โชติกายอมรับว่า "เดี๋ยวนี้หาอะไรที่ให้ผลตอบแทนสูง ไม่มีเลย น้อยมาก เราจะเอากำไรมาจากการไหลลงของดอกเบี้ยของตลาดรอง ก็ทำได้ไม่มาก เพราะมันต่ำมากแล้ว"

อย่างไรก็ดี แนวโน้มกองทุนรวมปีนี้ก็จะยังมีเงินไหลเข้าอยู่ เพราะว่าดอกเบี้ยแบงก์ต่ำและน่าจะลดลงได้อีกตามมุมมองของโชติกา ซึ่งหมายความว่า ผู้บริหารกองทุนรวมในปีนี้ต้องวัดฝีมือกันจริงๆ ขนาดหรือความใหญ่ไม่ถือเป็นผลงานอีกต่อไป แต่อัตราผลตอบแทนและความพอใจของผู้ถือหน่วยต่างหากที่จะบอกได้ว่าผู้บริหารกองทุนนั้นมีฝีมือแค่ไหน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us