|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ฟิทช์ปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศหนี้ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิของ TTA ลงมาที่ระดับ BBB+(tha) เนื่องจากแผนการออกหุ้นกู้ที่เลื่อนออกไป ขณะที่เนื่องจากต้นทุนทางการเงินในการดำเนินแผนการดังกล่าวสูง ซึ่งมีผลทำให้ระดับหนี้สินที่มีหลักประกันของบริษัทคงอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ลดทอนแนวโน้มอัตราการรับชำระหนี้คืของหนี้ไม่มีหลักประกันในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้ เกิดขึ้น
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ระยะยาวหนี้ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิของบริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA ลงมาที่ระดับ ‘BBB+(tha)’ จากระดับ ‘A-(tha)’ (A ลบ (tha)) แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
การปรับลดอันดับเครดิตของ TTA เป็นผลมาจากการที่บริษัทเลื่อนแผนการออกหุ้นกู้ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิชุดใหม่จำนวนไม่เกิน 8 พันล้านบาท เพื่อนำเงินมาชำระคืนเงินกู้ที่มีหลักประกันที่ใช้ในการซื้อเรือเดินทะเลทั้งจำนวนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากต้นทุนทางการเงินในการดำเนินแผนการดังกล่าวที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งจะมีผลทำให้ระดับหนี้สินที่มีหลักประกันของบริษัทคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง ระดับหนี้สินที่มีหลักประกันที่สูงนี้จะลดทอนแนวโน้มอัตราการรับชำระหนี้คืน (Recovery Prospects) ของหนี้ไม่มีหลักประกันในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้ (Default) เกิดขึ้น
อันดับเครดิตเดิมของ TTA ที่ฟิทช์ประกาศในเดือนกันยายน 2549 นั้น พิจารณารวมถึงแผนการออกหุ้นกู้ชุดใหม่เพื่อนำเงินมาชำระคืนเงินกู้เดิมดังกล่าว และการปรับลดลงของระดับหนี้สินที่มีหลักประกัน ณ สิ้นปีงบการเงิน 2549 (สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2549) TTA มีหนี้สินรวมจำนวน 9.0 พันล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้สินที่มีหลักประกันทั้งจำนวน ระดับหนี้สินที่มีหลักประกันของบริษัท ณ สิ้นปีงบการเงิน 2549 อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงประมาณ 39% ของสินทรัพย์รวม และ 43% ของฐานเงินทุนของบริษัท (Total Capitalisation)
ในทางกลับกัน หากบริษัทสามารถออกหุ้นกู้ชุดใหม่เพื่อชำระคืนเงินกู้เดิมได้ในภายหลัง ปัจจัยดังกล่าวอาจนำไปสู่การปรับเพิ่มอันดับเครดิตของบริษัทในอนาคตได้อันดับเครดิตสะท้อนถึงสถานะทางการตลาดที่มั่นคงของบริษัทในประเทศไทยในธุรกิจเดินเรือประเภทสินค้าแห้งเทกอง (Dry Bulk Shipping) กลยุทธ์การจัดการกองเรือที่มีความหลากหลาย และต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำจากการขยายกองเรือในช่วงปี 2546 ถึง 2548 ด้วยกองเรือปัจจุบันที่บริษัทเป็นเจ้าของจำนวน 45 ลำ ฐานธุรกิจการให้บริการที่กว้างขวาง ความถี่ของตารางการเดินเรือ และการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ TTA เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการธุรกิจเดินเรือประเภทสินค้าแห้งเทกองที่ใหญ่ในเส้นทางการเดินเรือสายที่มีการเติบโตสูง จากประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสาธารณรัฐประชาชนจีน ไปยังประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลาง
นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงอายุเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของกองเรือที่ค่อนข้างสูง ซึ่งโดยทั่วไปจะส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ต่ำกว่ากองเรือที่มีอายุน้อย และยังมีความเสี่ยงในการดำเนินงานและการจัดซื้อเรือใหม่เพื่อทดแทนเรือเก่า (Reinvestment Risk) ที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกัน บริษัทต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงในด้านความผันผวนของวัฏจักรธุรกิจเดินเรือ และอัตราค่าระวางเรือ ซึ่งถูกลดทอนลงบางส่วนจากสัดส่วนหนี้สินที่ค่อนข้างต่ำ ฐานะทางการเงินของ TTA ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง
ณ สิ้นปีงบการเงิน 2549 บริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิที่ปรับปรุงแล้วต่อกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย และค่าเช่า ย้อนหลัง 12 เดือน (Net Adjusted Debt/ Last-12-month EBITDAR) คงที่จาก ณ สิ้นงวดเก้าเดือนแรกของปีงบการเงิน 2549 (สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2549) ที่ระดับ 1.8 เท่า แม้ว่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 1.0 เท่า และ 1.2 เท่า ระหว่างปีงบการเงิน 2547 และ 2548
ในส่วนของผลการดำเนินงานของปีงบการเงิน 2549 นั้น TTA มีผลประกอบการโดยรวมเป็นไปตามที่ได้คาดการณ์ไว้ โดยบริษัทมีรายได้ 1.6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% เทียบกับปีก่อนหน้า และมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย และค่าเช่า (EBITDAR) 6.0 พันล้านบาท ลดลง 25% เทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากอัตราค่าระวางเรือ (Freight Rates) ที่อ่อนตัวลง
|
|
|
|
|