Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2546
Momentum             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 





ภาพและแรงบันดาลใจของนักลงทุนไทยในกัมพูชา มันตรงกันข้ามกับโมเมนตัมใหม่สินค้า และบริการระดับโลกที่แทรกเข้ามาในชีวิตและการงานของสังคมไทยที่ดูแยบยลยิ่งนัก

ความไม่พอใจของชาวเขมรต่อธุรกิจไทยและสามารถทำลายบุคลิกที่จับต้องได้ของธุรกิจไทย ให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงได้ เนื่องจากธุรกิจไทยมีตัวตน มีบุคลิก มีการลงทุนเชิงกายภาพที่เป็น อาคาร เป็นตึกอย่างชัดเจน ซึ่งว่าไปแล้วก็คือการสร้าง อิทธิพลในเบื้องต้นทางธุรกิจที่เน้นในเชิงกายภาพมากเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับที่บริษัทระดับโลกเข้า มาลงทุนอย่างครึกโครมในเมืองไทยเมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว

แต่มีบางสิ่งที่ "จับต้องไม่ได้" เกิดขึ้นอย่างง่ายๆ แต่ ลึก ซึ่งบริเวณชายแดนเป็น "ตลาด" ในความหมายดั้งเดิม แต่ได้ก่อความมีอิทธิพลต่อกันอย่างลึกซึ้งในกระบวนการแลกเปลี่ยนสินค้า แม้ว่าระดับ พัฒนาการแตกต่างกัน มูลค่าเพิ่มสินค้าของทั้งสองแตกต่างกัน แต่ว่ากระบวนการเข้าหา พึ่งพาอาศัยกันอย่างสมัครใจ อิทธิพลและความสัมพันธ์ เช่นนี้มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต ชาวเขมรอย่างลึกซึ้ง เมื่อใดที่ "ตลาด" เหล่านี้ถูกปิด ความรู้สึกร่วมที่ว่าชาวเขมรเสียประโยชน์ด้วยนั้นมีมากเหลือเกิน

และที่สำคัญกว่านั้นความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่าย ที่ดูง่ายๆ แต่ลึกซึ้งเหล่านี้ ได้ก่อตัวขึ้นอย่างแยบยล และสามารถพัฒนาต่อเนื่องไปมากกว่านี้ได้

ว่าไปแล้วโมเดลนี้ก็คือ หน่อของพัฒนาการความสัมพันธ์กับสินค้า และบริการของโลกกับสังคมไทยที่นับวันจะแยบยลมากยิ่งขึ้น

สังคมไทยปัจจุบันดูเหมือนไม่มีการลงทุนขนาดใหญ่ของบริษัทระดับโลกมากมายนัก ทั้งๆ ที่ในช่วงวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ เมืองไทย "น่าลงทุนที่สุด" ช่วงหนึ่งเพราะต้นทุนต่างๆ ลดลงอย่าง มหาศาล และรัฐบาลก็เพ่งมองดัชนีการลงทุนด้วยจำนวนเงินที่มาก เป็นดัชนี "ความสำเร็จ" หรือ "ความก้าวหน้า" สำคัญของเศรษฐกิจไม่เปลี่ยนแปลง แต่ไหนแต่ไรมา

จะมีก็เพียงการขยายการลงทุนเพิ่มเติม ในการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าในต้นทุนที่สามารถ แข่งขันในระดับโลกบางส่วนเท่านั้น เช่น อุตสาหกรรม รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

ในทางตรงข้าม การลงทุนเพื่อสร้าง "ความสัมพันธ์ทางจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก" ของผู้บริโภค ไทยกับสินค้าระดับโลกมีมากขึ้น แยบยล และเข้มข้น มากขึ้น

ปรากฏการณ์ใหม่นี้เกิดขึ้นภายใต้การเปลี่ยน ขั้นพื้นฐานหลายประการของสังคมโลกและระบบเศรษฐกิจโลก

' เครือข่ายในการปรากฏตัวของสินค้าระดับโลกในสังคมไทย ตั้งแต่ระดับบนลงล่าง มีอย่าง กว้างขวางและเข้าถึงอย่างเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายค้าปลีกสมัยใหม่ในรูปแบบต่างๆ ที่เข้าถึงระดับหมู่บ้านแล้ว ไปจนถึงระบบจัดจำหน่ายใหม่ที่สามารถส่งแอปเปิ้ล หรือแครอทต่างประเทศเข้าถึงตลาดสด ตลาดดั้งเดิมของไทยในระดับทั่วประเทศไทย

' เครือข่ายด้านสื่อสารกับผู้บริโภคมีอย่างกว้างขวาง ในระดับต่างๆ กัน ตั้งแต่ฟรีทีวี วิทยุ อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะ Pay TV ซึ่งจับกลุ่มระดับ บน ผู้คนที่ถือเป็น Trend Setter ของสังคมไทย กลุ่มเหล่านี้เข้าถึงสินค้าและบริการทั้งทางตรงทางอ้อมได้อย่างรวดเร็ว เท่าเทียมในระดับโลก ผ่านรายการถ่ายทอดสด กีฬา ดนตรี หรือรายการแฟชั่น ต่างๆ ฯลฯ

' เครือข่ายการบริหารกิจการของสินค้าและบริการระดับโลกมีประสิทธิภาพเชื่อมทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การจำหน่าย แผนการตลาดใหม่ๆ ล้วนบริการหรือจัดการจากที่หนึ่งที่ใดของโลกอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างเครือข่าย ย่อย เช่นแต่เดิมอีกต่อไป ไม่ว่าเป็นการผลิต การ จัดจำหน่าย การ Logistics ต่างๆ ไปจนถึงการ Clearing ทางบัญชีด้วย คงจะจำกันได้ว่า ในปีสุดท้ายที่ บิลล์ คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ อยู่ในตำแหน่ง ปาฐกถาที่เรียกว่า "State of Union" ครั้งนั้น เขากล่าวไว้ในตอนนั้นว่า สหรัฐฯ สามารถเข้าถึงข้อมูลทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงไม่กี่วินาที ในที่นี้ ย่อมหมายถึงประสิทธิภาพเครือข่ายทาง ธุรกิจของเขาด้วยอย่างมิพักสงสัย

สังคมไทยวันนี้มีจิตวิญญาณเข้าถึงกระแสของโลกอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน สามารถดูการถ่ายทอดสดกีฬา ดนตรี และแฟชั่น มากที่สุดประเทศ หนึ่ง ซึ่งมีการสอดแทรกโฆษณาสินค้าระดับโลกมาด้วย

การเข้ามาลงทุนใหม่ของสินค้าระดับโลก ล้วนเน้นเข้าถึง "ความรู้สึกนึกคิด" "ความจงรักภักดี" และกระตุ้น "การบริโภค" สินค้าระดับโลกทั้งสิ้น โดยมุ่งเข้าสู่ตลาดมวลชนมากขึ้นกว่ายุคใดๆ

ตัวอย่างชัดเจนของธุรกิจของสหราชอาณา จักร เจ้าอาณานิคมคลาสสิกกลับมาใหม่ ล้วนมาสู่ธุรกิจที่เข้าถึงมวลชนมากขึ้น สร้างความสัมพันธ์ทาง จิตใจและอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน สินค้ากีฬา เครือข่ายค้าปลีก

สำหรับกิจการสหรัฐอเมริกานั้น เน้นบริการด้านจัดการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีสำนักงานถาวรในประเทศ โจมตีเข้ามาเป็นระยะและกลับไป ไม่ว่าจะเป็นการรุกอย่างรวดเร็วและถอนตัวอย่างเร็ว ในการบริหารสินทรัพย์ของ ปรส. ของบริษัทการเงิน สหรัฐฯ ไปจนถึงการลงทุนใหม่ๆ ของสินค้าวัฒนธรรมผ่านตัวแทนหรือเครือข่ายเดิมในสังคมไทย อย่างแนบเนียน โดยเฉพาะนิตยสาร ในช่วงที่ผ่านมา นิตยสารของสหรัฐฯ เข้ามาเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง มาตอบสนองการปรับเปลี่ยนรสนิยมของคนไทยให้สอดคล้องกับสินค้าและบริการของเขา คำถามจากนี้ก็คือ สังคมไทยควรมีกระบวน การสร้างบุคลากรอย่างไร โดยเฉพาะกระบวนการเรียนรู้ให้สามารถจัดการตนเอง กับกระแสของ Globalization ได้อย่างสมเหตุสมผล นี่คือโจทย์ที่ต้องทำทันที

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us