Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 กุมภาพันธ์ 2550
บล.เคจีไอฯเบนเข็มเพิ่มรายได้ หลังลดเป้าSBLเหลือ500ล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ เคจีไอ (ประเทศไทย)

   
search resources

เคจีไอ (ประเทศไทย), บล.
Funds




บล.เคจีไอ ลั่น ปี50 มูลค่าธุรกรรมยืมหุ้นหด คาดอยู่ที่ 500 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มี 600 ล้านบาท เหตุนักลงทุนหันไปซ็อตเซลในตลาดอนุพันธ์แทน -ก.ล.ต.ยังไม่เปิดช่องให้รายย่อยยืมหุ้นผ่านบัญชีเงินสด ผู้บริหาร เผย เตรียมเบนเข็มหันทำธุรกรรมอื่นเพิ่มสร้างรายได้

นางสาวนฤมล อาจอำนวยวิภาส หัวหน้าฝ่ายธุรกิจตราสารอนุพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่ามูลค่าการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (SBL) ในปี 2550 นี้ จะมีมูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มีมูลค่าการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์จำนวน 600 ล้านบาท เนื่องจากเมื่อตลาดนุพันธ์เกิดขึ้นก็จะทำให้นักลงทุนหันไปซ็อตในตลาดอนุพันธ์มากกว่าการเข้ามายืมหุ้นเพื่อทำซอตเซล เพราะสามารถที่จะเข้าไปซ็อตได้ทันทีโดยไม่ต้องมีการยืมหุ้นทำให้สะดวกและ การที่ภาวะตลาดที่นิ่งไม่ค่อยผันผวนทำให้นักลงทุนคาดการณ์ลำบากว่าทิศทางราคาหุ้นจะเป็นอย่างไร

ขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ยังให้นักลงทุนรายย่อยยืมหุ้นผ่านบัญชีเครดิตบาลานซ์เท่านั้น ซึ่งยังไม่อนุญาตให้มีการยืมหุ้นในบัญชีเงินสด (บัญชีแคลช) ทำให้ให้มีการทำธุรกิจไม่ค่อยสะดวก ซึ่งทางสำนักงานงานก.ล.ต.อยู่ระหว่างการทำประชาพิจารณ์ แต่จากเอกสารการทำประชาพิจารณ์ของก.ล.ต.นั้น หากก.ล.ต.อนุญาตให้มีการยืมหุ้นผ่านบัญชีเงินสดได้ จะต้องมีการนำเงินมาวางเป็นหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น ซึ่งหากเป็นอย่างไรนั้นก็จะทำให้ธุรกรรม SBL ไม่ค่อยได้รับความสนใจ บริษัทจึงหันมาให้น้ำหนักในการทำธุรกรรมอนุพันธ์นอกตลาด (OTC) มากขึ้น

"หากทางก.ล.ต.มีการอนุญาตให้นักลงทุนรายย่อยสามารถยืมหุ้นผ่านบัญชีแคลชได้ และไม่ต้องวางหลักประกันเพิ่ม จะทำให้มูลค่าการทำ SBL เพิ่มขึ้น โดยในปีนี้มูลค่าการทำธุรกรรม SBL จะไม่ค่อยคึกคักเท่าไร จากที่นักลงทุนหันไปซ็อตในตลาดฟิวเจอร์แทน แต่ก็ยังมีนักลงทุนที่มีการทำธุรกรรมดังกล่าวยังคงมีการทำธุรกิจดังกล่าวอยู่แต่จำนวนการเปิดบัญชีการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์จะไม่เพิ่มขึ้นมาซึ่งจะอยู่ที่ระดับ 100 บัญชี โดยส่วนใหญ่ผู้ที่เข้ามาทำธุรกรรมSBL จะเป็นนักลงทุนสถาบัน"นางสาวนฤมล กล่าว

ทั้งนี้ หากก.ล.ต.ยังไม่อนุญาตให้นักลงทุนรายย่อยมีการทำธุรกรรมSBL ในบัญชีแคลช หรือ อนุญาตแต่ต้องมีการวางหลักประกันเพิ่มนั้น ก็อาจจะส่งผลกระทบทำให้บริษัทหลักทรัพย์ ที่มีความสนใจที่จะทำธุรกกรรมSBLมีการชะลอออกไปก็ได้ และการที่บล.จะเข้ามาทำธุรกรรมSBL ก็จะต้องมีการพัฒนาระบบให้มีความพร้อมก่อน ซึ่งบริษัทได้มีการทำธุรกรรมดังกล่าวมานานหลายปีแต่วอลุ่มก็ไม่ค่อยดีเท่าไร

นางสาวนฤมล กล่าวว่า สำหรับในปีที่ผ่านมานั้น เดิมบริษัทตั้งเป้าว่าจะมีมูลค่าการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์จำนวน 800-900 ล้านบาท แต่พอสิ้นปีพบว่ามีนักลงทุนเข้ามาทำธุรกรรมดังกล่าวเพียง 600 ล้านบาท เนื่องจาก ในปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นไม่ค่อยเอื้อ ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ได้อยากว่าทิศทางตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร จึง มีการชะลอในการทำธุรกรรมดังกล่าว จึงมีผลทำให้มูลค่าการยืมและให้ยืมหุ้นมีการปรับตัวลดลง

อนึ่งเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2549 ทางบล.เคจีไอ ได้มีการคาดการณ์การว่า มูลค่าการยืมและใช้ยืมหลักทรัพย์ (sbl)ในปีหน้าจะเพิ่มขึ้น 20-30% จากปี49 ที่คาดว่าจะมีมูลค่าการยืมหลักทรัพย์ 800-900 ล้านบาท เนื่องจาก บริษัทได้มีการรับเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง) เพิ่มอีก 100 ราย เพื่อให้คำแนะนำกับลูกค้าที่ต้องการเข้ามาทำธุรกรรมดังกล่าว ประกอบกับการตลาดอนุพันธ์ (TFEX) เริ่มเปิดทำการยิ่งทำให้มีการทำธุรกรรมมากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us