Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 กุมภาพันธ์ 2550
โบรกเกอร์หั่นดัชนีเหลือ729จุดย้ำนโยบายรัฐกระทบตลาดทุน             
 


   
search resources

สมบัติ นราวุฒิชัย
Investment
Stock Exchange




นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวถึง ผลสรุปความคิดเห็นของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ต่อภาวะการลงทุนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-ธันวาคม 2550 ว่า ผลสำรวจจากการสอบถามสมาชิกจำนวน 19 บริษัทภายหลังสถานการณ์ต่างๆซึ่งเป็นปัจจัยลบเข้ามากระทบต่อตลาดทุนไทย ไม่ว่าจะเป็นมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกันเงินสำรอง 30% รวมถึงเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพฯช่วงต้นปี พบว่านักวิเคราะห์หลักทรัพย์ปรับการประมาณการดัชนีตลาดหุ้นสิ้นปีจากเดิมเฉลี่ยอยู่ที่ 799 จุดมาเป็น 729 จุด

นอกจากนี้ ตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงตามปัจจัยลบที่เกิดขึ้น โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ GDP Growth ในปีนี้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.2% จากผลสำรวจก่อนหน้านี้อยู่ที่ 4.5% ขณะที่ตัวเลขอัตราการผลเติบโตของผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนลดลงจาก 4.4% มาอยู่ที่ 2.6%

"ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนที่ปรับตัวลดลงเป็นไปตามการปรับตัวลดลงของ GDP ประกอบกับกำไรของบริษัทในกลุ่มพลังงานซึ่งเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ปรับตัวลดลงจึงทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทถูกปรับตัวลดลงจากเดิม"นายสมบัติกล่าว

ทั้งนี้ ปัจจัยลบที่นักวิเคราะห์ประเมินว่ามีผลกระทบต่อการลงทุนมากที่สุด คือ ความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายในการดำเนินงานของรัฐบาล เช่น นโยบายการเงิน การแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว รวมถึงกรณีความไม่แน่นอนในการขอเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวกับการแปรรูปบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งอาจจทำให้ต้องมีการเพิกถอนบมจ.ปตทออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนโดยมีผู้ตอบแบบสอบถามถึง 79%

นอกจากนี้ สถานการณ์ทางการเมืองเป็นอีกปัจจัยที่นักวิเคราะห์ค่อนข้างมีความกังวลโดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 63% ส่วนในเรื่องการขยายตัวแบบชะลอของเศรษฐกิจมีผู้ตอบแบบสอบถาม 37% และประเด็นที่ยังอยู่ในความสนใจอย่างต่อเนื่องคือสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และการก่อการร้ายในประเทศ มีผู้ตอบแบบสอบถาม 26%

สำหรับความเชื่อมั่นใจการบริษัทงานของรัฐบาลจาการสอบถามนักวิเคราะห์ พบว่า ในด้านเศรษฐกิจ 68% ยังค่อนข้างมีความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจในระดับปานกลาง ขณะที่ 21% มีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจเพียงเล็ก ส่วน 11% ยังไม่เชื่อมั่นต่อการบริหารงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ส่วนคำถามต่อด้านสังคมและการเมือง พบว่า 58% มีความเชื่อมั่นปานกลาง และ 32% มีความเชื่อมั่นเพียงเล็กน้อย ส่วนนักวิเคราะห์ที่ไม่มีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสังคมและการเมืองมี 5%

ส่วนของข้อเสนอแนะภาครัฐ โดยเฉพาะในเรื่องการการออกมาตรการต่างๆ นักวิเคราะห์แนะนำให้ภาครัฐควรจะมีความระมัดระวังและรอบคอบในการพิจารณาออกมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายทางการเงิน เช่น มาตรการกันสำรอง 30% หรือการออกกฏหมายถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างด้าว เป็นต้น เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการลงทุนค่อนข้างมาก

สำหรับการดำเนินงานในโครงการเมกะโปรเจกต์ 32% ระบุว่ารัฐบาลควรเร่งดำเนินการเกี่ยวกับโครงสร้างสาธารณูปโภคด้วยความรวดเร็วและโปร่งใส ขณะที่นโยบายสำคัญด้านอื่นที่นักวิเคราะห์เสนอ ได้แก่ การเร่งสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนไทยและต่างชาติ การเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้สามารถจัดการเลือกตั้งได้ตามกำหนดเวลา เป็นต้น

นายสมบัติ กล่าวอีกว่า สำหรับปัจจัยบวกที่จะส่งผลต่อการเข้ามาลงทุนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - ธันวาคม 2550 นี้กว่า 95% เห็นว่าแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลดี ขณะที่ 53% เชื่อว่าราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงจะส่งผลดีต่อการเข้ามาลงทุน ส่วนการเลือกตั้งหากมีการเลือกตั้งได้ในปี 2550 ก็จะเป็นปัจจัยที่เข้ามาหนุนตลาดหุ้นได้

ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจที่นักวิเคราะห์ยังเชื่อว่ามีแนวโน้มการเติบโตสูงที่สุด คือ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โดยมีค่าเฉลี่ยอัตราการเติบโต EPS อยู่ที่ 18.7% ขณะทีอันดับ 2 กลุ่มธนาคาร มีค่าเฉลี่ยอัตราการเติบโตอยู่ที่ 10.2% อันดับ 3. กลุ่มวัสดุก่อสร้าง มีค่าเฉลี่ยอัตราการเติบโตอยู่ที่ 2.8% ส่วนกลุ่มพลังงาน ค่าเฉลี่ยการเติบโตในปีนี้ลดลง 1.6%

สำหรับกลุ่มธุรกิจที่แนะนำให้ลงทุน คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากได้รับผลดีจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญจากระบบมาตรฐานบัญชีใหม่ลดลง ขณะเดียวกันยังได้รับผลดีจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ประกอบกับการขยายตัวของสินเชื่อ, กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากได้รับผลดีโดยตรงจากอัตราดอกเบี้ยจะกลับมาเป็นทิศทางขาลง, กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ได้รับผลจากโครงการในการลงทุนของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นโครงการประมูลโรงไฟฟ้า รถไฟฟ้า รวมถึงการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน สำหรับกลุ่มพลังงานซึ่งเป็นกลุ่มที่ความนิยมลดลงมาโดยตลอด แต่บางบริษัทในกลุ่มอาจจะได้รับผลดีจากการเข้าร่วมประมูลโรงไฟฟ้าใหม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us