|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บอสใหม่ “ยัม” เปิดวิชั่นรุกตลาดฟาสต์ฟู้ด วางเป้าหมาย 4 ปีจากนี้ต้องโต 2 เท่า พร้อมทุ่มงบประมาณลงทุนไม่ต่ำกว่า 2,400 ล้านบาท ขยายเครือข่ายทั่วประเทศ ชูกลยุทธ์เปิดร้านตึกแถวโดยเฉพาะเคเอฟซี ปั้นดีลิเวอรี่หนักขึ้น หวังสร้างโอกาสและช่องทางทำรายได้ ลั่นจากนี้ขอโตปีละ 20-25%
นายศรัณย์ สมุทรโคจร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯวางแผนการดำเนินธุรกิจในช่วง 4 ปีจากนี้ เริ่มตั้งแต่ปี 2550 – 2553 จะใช้เงินลงทุนประมาณปีละ 600-700 ล้านบาท หรือรวมประมาณ 2,500 กว่าล้านบาท ในการขยายสาขาทั้งสองแบรนด์คือ เคเอฟซีและพิซซ่าฮัท เพิ่มอีกปีละประมาณ 25-30 สาขา จากปัจจุบันที่มีสาขาเคเอฟซีรวม 306 สาขา และพิซซ่าฮัทรวม 75 สาขา ซึ่งถึงขณะนั้นคาดว่าจะมีสาขาเคเอฟซีประมาณ 500-550 สาขา และพิซซ่าฮัทประมาณ 200 สาขา
ขณะที่เมื่อเทียบกับการดำเนินงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาใช้งบลงทุนรวมประมาณ 850 ล้านบาท เปิดสาขาใหม่เฉลี่ย 20 สาขาต่อปีเท่านั้น ส่วนยอดขายโดยรวมเติบโต 9-10% ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งเคเอฟซีปีที่แล้วมียอดขายสูงที่สุดและมีการเติบโตกว่า 8% โดยได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตของยอดขายและผลกำไรทั้งสองแบรนด์รวมกันช่วง 4 ปีจากนี้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หรือ 20-25% ต่อปีจากปัจจุบัน ซึ่งตลาดรวมฟาสต์ฟู้ดปัจจุบีนมี 14,000 ล้านบาท
ทั้งนี้แผนการขยายสาขาใหม่ๆนั้นบริษัทฯต้องการสร้างโอกาสและช่องทางใหม่ๆที่จะเข้าถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด เพราะยังมีอีกหลายทำเล หลายจังหวัด หลายพื้นที่ที่เรายังไปไม่ถึงทั้งๆที่ตลาดมีศักยภาพ อีกทั้งยังหลีกหนีข้อจำกัดของการที่ศูนย์การค้าใหม่ๆเกิดขึ้นน้อยลง เพราะแต่เดิมบริษัทฯจะขยายสาขาไปควบคู่กับศูนย์การค้าเป็นหลัก ซึ่งกลยุทธ์จากนี้จะเน้นการเปิดร้านแบบ Non Traditional Outlet มากขึ้น คือการเปิดสาขาตามย่านชุมชนหรือตามห้องแถวเป็นหลัก
“ประเด็นนี้เราไม่ได้ปิดกั้นสิทธิ์ว่าเราทำได้คนเดียวหรือเซ็นทรัลห้ามทำ ในสัญญาที่มอบสิทธิ์ที่ให้กับเซ็นทรัลนั้น ก็เป็นกรอบกติกากว้างๆ ซึ่งล่าสุดก็เพิ่งเซ็นสัญญาต่อสิทธิ์กันไปไม่นานนี้เอง การทำงานเราก็ร่วมมือกันอย่างดี มีการคุยกันตลอดเวลาว่าจะทำอะไร จะขยายสาขาอย่างไร แม้ว่าที่ผ่านมาเขาจะรับผิดชอบหลักพื้นที่ภายในศูนย์การค้าเครือข่ายของเซ็นทรัล และเราจะอยู่นอกเครือข่ายเซ็นทรัลเป็นหลักก็ตาม เราเปิดกว้างอยู่แล้ว ยิ่งจะเป็นการช่วยทำให้มีศักยภาพมากขึ้นด้วย ซึ่งปัจจุบันเรามีสาขากระจายกว่า 60 จังหวัดทั่วประเทศแล้ว” นายศรัณย์กล่าว
ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้เริ่มทดลองบ้างแล้ว โดยเฉพาะในต่างจังหวัดไกลๆเช่น อ.ทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นตึก 2 ชั้น และที่จังหวัดเลยเป็นตึก 4 ชั้น เป็นสาขาของบริษัทฯ ส่วนที่อ.พนัสนิคม ชลบุรีและ อ.สว่างดินแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นสาขาของทางกลุ่มเซ็นทรัล เป็นต้น ซึ่งได้รับการตอบรับดี จากนี้จะเน้นรูปแบบนี้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการเปิดสาขาในศูนย์การค้า
นอกจากนั้นจะพยายามสร้างโอกาสและช่องทางของระบบดีลิเวอรี่มากขึ้น ซึ่งในต่างจังหวัดบางสาขายังไม่ได้ทำดีลิเวอรี่ ก็เตรียมที่จะดำเนินการให้สมบูรณ์แบบ ส่วนสาขาที่จะเปิดใหม่ก็จะมีดีลิเวอรี่ทันที โดยใช้เบอร์เดียว 1150 เพราะที่ผ่านมาธุรกิจการจัดส่งหรือดีลิเวอรี่มีการเติบโตอย่างมาก โดยในส่วนของพิซซ่าฮัท สัดส่วนยอดขายมาจาก ร้านนั่งทาน 50% และจัดส่งถึงบ้าน 50% แต่คาดว่าจากนี้ไปบริการจัดส่งดีลิเวอรี่จะเพิ่มเป็น 60% ขณะที่เคเอฟซี ปริมาณนั่งทานในร้านยังมีรายได้สัดส่วนมาก 90% ดีลิเวอรี่ 10% แต่การเติบโตเป็นเปอร์เซ็นต์ของดีลิเวอรี่มีมากกว่า
สำหรับการขยายสาขาในปั๊มน้ำมันของเคเอฟซีเอ็กซ์เพรสนั้น นายศรัณย์กล่าวว่า บริษัทฯตัดสินใจยุติการดำเนินงานในส่วนนี้ไปแล้ว หลังจากที่ทดลองมาระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ผลตอบรับค่อนข้างดี แต่สาเหตุที่หยุดเนื่องจาก ปัญหาความไม่หลากหลายของเมนูที่นำเสนอให้กับผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตมีความพร้อมมากกว่านี้ก็อาจจะนำกลับมาทำใหม่ได้ เนื่องจากมีประสบการณ์แล้ว
นายศรัณย์กล่าวด้วยว่า เมื่อเร็วๆนี้บริษัทฯได้ลงทุนเปิดสำนักงานภูมิภาค 4 แห่ง คือที่ จังหวัด นครศรีธรรมราช พิษณูโลก นครราชสีมา และชลบุรี เพื่อเป็นศูนย์กลางของแต่ละภาคในการดูแลด้านการปฎิบัติการ การฝึกอบรม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากตามแผนงานการขยายสาขาของเราแล้ว จะต้องเพิ่มบุคลากรอีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 800 คนต่อปี ทำให้ต้องสร้างความพร้อมทางด้านทักษะของบุคลากร
ปัจุบันเรามีพนักงานที่เป็นพาร์ทไทม์ประมาณ 60-70% โดยมีการเทิร์นโอเวอร์ประมาณ 5% ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปรกติ
|
|
|
|
|