Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2546
เผยโฉม Wichita ศูนย์กลางธุรกิจการบินของโลก             
 


   
search resources

Wichita




นอกจากจะเป็นนครที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของมลรัฐ Kansas แล้ว Wichita ยังครอบครองฉายา "Air Capital of the World" ไปแล้วในปัจจุบัน ข้อมูลที่นิตยสาร Wallpaper ฉบับเดือนพฤศจิกายน ระบุไว้ก็คือ เกือบ 70 ของเครื่องบินสำหรับใช้ในการบินทั่วไปในทั่วโลกล้วนผลิตที่นี่....ที่ Wichita นครใหญ่ซึ่งมีประชากรเพียง 350,000 คน

ในจำนวนนี้มีประมาณ 40,000 คน หรือ 1 ใน 6 ของแรงงานในตลาดงานล้วนทำงานกับบริษัทเครื่องบิน ไม่บริษัทใดก็บริษัทหนึ่ง ซึ่งมีโรงงานอยู่ที่นี่คือ Boeing, Cessna, Raytheon และ Bombardier

เฉพาะปี 2001 Wichita ผลิตเครื่องบินได้ 1,500 เครื่อง จนทำให้ Michael Porter ศาสตราจารย์ด้านธุรกิจของ Harvard ตั้งสมญานามให้ Wichita ว่าเป็นหนึ่งใน "กลุ่มผู้นำ ด้านนวัตกรรมการบิน" ระดับทอปของประเทศ

นอกเหนือจากการผลิตแล้ว ชาวเมือง Wichita ยังรัก การขับเครื่องบินด้วย สถิติการจดทะเบียนในส่วนของเครื่องบิน พลเรือน 2,228 ราย ทำให้สัดส่วนการใช้เครื่องบินต่อหัว (plane-per-person) สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศถึง 4.5 เท่า

อุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินของ Wichita ถือว่าเก่าแก่ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เมืองนี้เริ่มเจริญก้าวหน้าในทศวรรษ 1870 ช่วงที่การรถไฟ Santa Fe Railway ขยายกิจการ ทำให้ Wichita กลายเป็นเมืองเกษตรกรรมสำคัญขึ้นมา

ปี 1914 เกิดภาวะบูมของอุตสาหกรรมน้ำมันที่ดึงดูดนักลงทุนประเภท venture capital ได้เป็นอย่างดี โดย Clyde Cessna เข้ามาลงทุนผลิตเครื่องบินในปี 1916 อีกไม่กี่ปีต่อมาก็มีการสร้างสนามบินขึ้นที่นี่ และใช้เป็นที่จัดประชุม National Air Congress ในปี 1924 ปี 1925 Cessna ร่วมทุนกับ Walter Beech และ Lloyd Stearman ก่อตั้งบริษัท Travel Air Manufacturing Company ขึ้น และต่อมาแตกออกเป็นบริษัท Cessna Aircraft, Beech Aircraft และ Stearman Aircraft สงครามทำให้ Wichita ผงาดขึ้นมีบทบาทนำอย่างรวดเร็ว เพราะมีทำเลที่ตั้งลึกเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ และปลอดภัยจากการโจมตีของฝ่ายข้าศึก ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 คนงาน ชาวเมืองนี้ 60,000 คนสามารถผลิตเครื่องบิน B-29 Super Fortress ได้เฉลี่ยวันละ 4 เครื่องเลยทีเดียว

ในส่วนของยักษ์ใหญ่อย่าง Boeing ซึ่งเข้าไปลงทุนใน Wichita ปี 1929 ด้วยการควบรวมเอา Stearman Aircraft เข้าเป็นกิจการในเครือนั้นเล่า หลังจากส่งมอบเครื่องบินทิ้ง ระเบิด B-52 เครื่องสุดท้ายในช่วงต้นทศวรรษ 1960 ก็ปรับสภาพ โรงงานผลิตมาเป็นการผลิตแบบ Commercial Aviation (CA) ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น บรรดาผู้นำของ Wichita ได้ชักชวนให้ Bill Lear จากสวิตเซอร์แลนด์ มาผลิตเครื่องบินเจ็ตที่นี่ซึ่งเป็นเครื่องบินขนาดเล็กสำหรับใช้ในธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม ช่วงต้นทศวรรษ 1980 ยอดการส่งมอบเครื่องบินประเภท general aviation (GA) ในสหรัฐอเมริกา ตกฮวบลงจากสถิติสูงสุด 17,811 เครื่อง ในปี 1978 เหลือเพียง 1,000 เครื่อง ในทศวรรษ 1990 ทำให้ทั้ง Cessa, Beech และ Learjet ต้องประสบปัญหาทางการเงิน

สถานการณ์ดังกล่าวบีบให้การผลิตเครื่องบินระดับท้องถิ่น ต้องยอมแปลงสภาพกลายเป็นกิจการระดับโลก ด้วยการตกลง ขายกิจการให้บริษัทข้ามชาติ ซึ่งมีเงินลงทุนมหาศาล และมีฐาน การตลาดครอบคลุมในทั่วโลก

ผลคือ Raytheon เข้าซื้อ Beech ในปี 1980 และซื้อ Hawker จาก British Aerospace ปี 1993 ส่วน Bombardier จากแคนาดา ซื้อ Learjet ในปี 1990 และ Cessna ตกลงขายกิจการให้ Textron ในปี 1992

"เราตกอยู่ในสภาพง่อนแง่นเต็มที" Kevin Polian ซึ่งดำรง ตำแหน่ง vice-president ของ Bombardier ใน Wichita ฟื้นความหลังเมื่อครั้งต้องเข้าแก้ปัญหาการเงินของ Learjet หลังการซื้อกิจการเสร็จสิ้นลงใหม่ๆ

การเข้าซื้อกิจการเหล่านี้เท่ากับเป็นการติดอาวุธทางเศรษฐกิจให้ Wichita อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ Cessna, Beech และ Learjet สามารถเพิ่มทุนเพื่อรองรับภาวะบูม ทางการบินในปลายทศวรรษ 1990 ได้อย่างทันท่วงทีเมื่อ "เครื่องบินสามารถสวมบทบาทเป็นสำนักงานบนท้องฟ้าได้อีกบทบาทหนึ่ง" Jessica Myers ผู้จัดการของ Cessna ให้ความกระจ่าง

จึงไม่น่าแปลกที่ยอดส่งมอบเครื่องบิน business jet จะพุ่งพรวดจาก 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 1990 เป็นกว่า 7 พันล้านดอลลาร์ ในอีกทศวรรษต่อมา ผู้ผลิตเครื่องบินใน Wichita จึงเพลิดเพลินกับการกระตุ้นตลาดด้วยเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา อาทิ มีขนาดให้เลือกมากขึ้น ความเร็วสูงขึ้น ระยะบินยาวนานขึ้น (longer range) มีความสะดวกสบายมากขึ้น

นอกจากนี้ โครงการ fractional ownership ซึ่งยอมให้นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นในธุรกิจเครื่องบินลักษณะเดียวกับ time-share condo ก็ทำให้กิจการผลิตเครื่องบินเป็นแหล่งลงทุนอันน่าพิสมัยอีกแหล่งหนึ่งของธุรกิจขนาดเล็กกว่า

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์การก่อวินาศกรรม เมื่อ 11 กันยายน ที่สะเทือนขวัญไปทั่วโลก บวกกับปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ โลก การล้มละลายของสายการบิน และเรื่องฉาวโฉ่เกี่ยวกับระบบ บัญชีของกิจการบริษัทอเมริกันเหล่านี้ ล้วนส่งผลกระทบต่อยอดขายเครื่องบินทั้งสิ้น ซึ่งหมายรวมถึงกิจการใน Wichita ด้วย แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่พากันคาดหมายว่าจะสามารถฟื้นตัวได้ในปี 2004 หรือ 2005

แม้ว่า Wichita จะเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านบวกและลบครั้งแล้วครั้งเล่า แต่เคล็ดลับแห่งความสำเร็จทั้งในอดีตและปัจจุบันนั้นยังคงเดิม คือ การมีสภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบ มีแสงแดดเจิดจ้าตลอดปี (ปีละ 225 วัน) และมีแรงงานความชำนาญสูงทำงานหนัก ซึ่งล้วนเป็นองค์ประกอบที่เชิดหน้าชูตา และทำให้ Wichita มั่นอกมั่นใจในความเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมการบินมาโดยตลอด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us