|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์ชาติยืนกรานยังไม่ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% รอค่าบาทอยู่ในระดับที่เหมาะสม ระบุพอใจส่วนต่างค่าบาทตลาดออฟชอว์-ออนชอว์เริ่มแคบทำให้ดูแลง่าย ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเป็นขาลง แต่ยังระบุไม่ได้ว่าจะอยู่ในระดับที่เท่าไหร่
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังคงไม่ยกเลิกการใช้มาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยการกันสำรอง 30% สำหรับการลงทุนในตราสารระยะสั้น หลังจากที่ได้ผ่อนผันมาตรการดังกล่าวไปแล้ว โดยให้นักลงทุนเลือกระหว่างการกันเงินสำรองในระดับ 30% หรือการทำการป้องกันความเสี่ยงด้วยการวางเงินประกันเท่ากับจำนวนเงินและระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ ในรูปของการทำสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ซึ่งถือว่านักลงทุนมีทางเลือกในการดำเนินการแล้ว ดังนั้น ธปท.จึงยังไม่จำเป็นต้องยกเลิกมาตรการดังกล่าว แต่หากค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว ก็อาจจะพิจารณายกเลิกมาตรการดังกล่าวได้
"การพิจารณายกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% นั้น ก็จะดูที่ระดับของค่าเงินบาทที่เหมาะสม เนื่องจากผลกระทบของมาตรการที่เกิดขึ้นกับตลาดเงิน ตลาดทุนนั้น แบงก์ชาติได้ผ่อนผันไปแล้ว โดยการให้ทางเลือกระหว่างการกันสำรองกับการทำป้องกันความเสี่ยง ซึ่งเท่าที่ผ่านมานักลงทุนจะเลือกใช้วิธีการป้องกันความเสี่ยงเป็นส่วนใหญ่"นางธาริษากล่าว
นอกจากนี้ เงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงนี้นั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในความคาดหมายอยู่แล้ว และในขณะนี้ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศ (ออฟชอว์) กับตลาดในประเทศ (ออนชอว์) ก็เริ่มที่จะมีส่วนต่างที่แคบลงมาแล้ว จากเดิมที่มีส่วนต่างที่มากถึง 2.50 บาท จึงว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถควบคุมได้ง่ายขึ้น
ผู้ว่าการธปท.กล่าวอีกว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในขณะนี้นั้น คงจะไม่สามารถบอกได้ว่าพอใจหรือไม่พอใจ แต่ส่วนต่างในตลาดออฟชอว์และออนชอว์ที่ลดลงเรื่อยๆ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี และจะทำให้เราสามารถดูแลค่าเงินบาทได้ง่ายขึ้น
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งจากการประชุมล่าสุดได้ปรับลดลง 0.25% เหลือ 4.75% นั้น ถือว่าเป็นช่วงอัตราดอกเบี้ยขาลง แต่จะปรับลดลงมากหรือน้อยขนาดไหนนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกนง. ที่ได้ติดตามปัจจัยต่างๆ อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว ซึ่งการประชุมแต่ละครั้งก็จะต้องพิจารณาถึงข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่างๆ ในขณะนี้ และอาจมีความเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ จึงทำให้ไม่สามารถกำหนดตายตัวได้ว่าจะปรับลดลงในระดับเท่าใด
นอกจากนี้ ยังคงต้องดูถึงปัจจัยทางด้านอัตราเงินเฟ้อ ซึ่ง ณ ระดับเงินเฟ้อทั่วไปที่อยู่ในระดับ 3% ในขณะนี้ถือเป็นระดับที่เหมาะสม และแนวโน้มจะค่อยๆ ปรับตัวลดลงโดยในปีนี้คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ในระดับ 1.5-2.5% ได้ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางที่ได้คาดการณ์ไว้
|
|
|
|
|