Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์5 กุมภาพันธ์ 2550
ย้อนรอยสายสัมพันธ์ทุนไทยทุนสิงคโปร์             
โดย อนุสรณ์ ธรรมใจ
 


   
search resources

Economics




ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา สายสัมพันธ์ระหว่างทุนไทยและทุนสิงคโปร์มีความแนบแน่นมาตามลำดับ ส่งผลให้ความสัมพันธ์เศรษฐกิจ การค้า การลงทุนระหว่างกันมีความหนักแน่นตามไปด้วย

ใกล้ชิดและเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในหลายมิติมากยิ่งขึ้นหลังนายกรัฐมนตรีทักษิณขึ้นกุมบังเหียนการบริหารประเทศเมื่อ ๖ ปีที่ผ่านมา

หากย้อนรอยความสัมพันธ์ของทุนไทยกับทุนสิงคโปร์จะไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมความสัมพันธ์จึงแบ่งบานยิ่งในยุครัฐบาลทักษิณ

นอกเหนือจากความนิยมชมชอบส่วนตัวที่ผู้นำอย่างคุณทักษิณที่มีต่อ ลี กวน ยู แล้วหลายคนที่เป็นแกนนำของรัฐบาลที่แล้วก็ยกย่องแนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของสิงคโปร์

หากรวมเข้ากับสายสัมพันธ์ทางธุรกิจที่จะได้เล่าต่อไป ก็จะทำให้เห็นภาพแจ่มชัดขึ้นสำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดในช่วง ๕-๖ ปีที่ผ่านมา

ย้อนกลับไปปี พ.ศ. ๒๕๓๒ สมัยที่ท่านอดีตผู้นำไทยก่อตั้งบริษัทชินวัตร ดาต้าคอม จำกัด ก็มี บริษัทสิงคโปร์ เทเลคอม อินเตอร์เนชั่นแนล ร่วมทุน ปี ๓๓ สิงเทลเข้ามาถือหุ้นในบริษัทชินวัตรเพจจิ้ง จำกัด ปี ๔๒ สิงเทลเข้ามาถือหุ้นใน เอไอเอส

และมาถึงจุดสุดยอดของสายสัมพันธ์ทางธุรกิจเมื่อมีการเทขายหุ้นกลุ่มชินให้กับเทมาเส็กมูลค่า ๗.๓ หมื่นล้าน และดีลประวัติศาสตร์ก็นำมาสู่การตั้งคำถามมากมายทั้งเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน การใช้นอมินีถือหุ้นแทน ตลอดจนเรื่องภาษีและขายสิทธิสัมปทานให้ต่างชาติ

การตั้งคำถามดังกล่าวนำมาสู่จุดตายทางการเมืองของนายกฯทักษิณที่เป็นอดีตผู้ก่อตั้งและผู้บริหารกลุ่มทุนใหญ่ของไทยภายใต้ชื่อ ชินวัตร และ เปลี่ยนเป็น ชิน ในภายหลัง

การทำดีลธุรกิจดังกล่าวได้มองข้ามและละเลยเรื่องความละเอียดอ่อนทางการเมืองโดยเฉพาะประเด็นชาตินิยม การปฏิบัติตามกฎหมายและหลักจริยธรรมที่ดี จึงทำให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงในทางการเมือง

ผลสะเทือนทางการเมืองเกี่ยวเนื่องกับดีลดังกล่าวจนนำมาสู่การรัฐประหารจะนำสู่ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในระยะต่อไปด้วย

สิงคโปร์เข้ามาลงทุนในเมืองไทยมากเป็นพิเศษหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ทุนไทยส่วนหนึ่งที่ประสบปัญหาในวันนั้นก็อาศัยทุนสิงคโปร์มาเพิ่มทุนให้เพื่อให้กิจการอยู่รอดต่อไป

ความจริงการเข้ามาลงทุนของสิงคโปร์ก็เหมือนชาติอื่นๆและไม่ได้จะก่อให้เกิดปัญหาอันไม่พึงประสงค์แต่ประการใด เพียงแต่เมื่อมันคาบเกี่ยวกับการเมืองและกลายเป็นประเด็นทางการเมือง มีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนนอกจากนี้ยังเป็นธุรกิจสัมปทานอีกต่างหาก อย่างกรณีของชินคอร์ป-เทมาเส็ก ก็เลยกลายเป็นปัญหา

นอกจากนี้ก็มีการสร้างกระแสขยายผลปัญหาดังกล่าวเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของขั้วความขัดแย้งจึงยิ่งทำให้ปัญหามันลุกลามใหญ่โตซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชาติและประชาชนในแง่ที่ว่า ประชาชนก็ควรรับฟังข้อมูล

กลุ่มทุนสิงคโปร์เข้ามาลงทุนมากติดอันดับนักลงทุนต่างชาติอันดับต้นๆ คือ อันดับสาม รองจากญี่ปุ่น และยุโรป เป็นอันดับหนึ่งในบรรดาสมาชิกอาเซียนด้วยกัน กองทุนเทมาเส็กนอกจากจะลงทุนและถือหุ้นในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมแล้ว ยังลงทุนในธุรกิจธนาคาร กลุ่มทุนสิงคโปร์เองก็ถือหุ้นในธุรกิจไทยหลากหลายตั้งแต่ธุรกิจโรงแรม อสังหาริมทรัพย์และอื่นๆอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีกองทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ที่เข้ามาถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนมากมายนับร้อยบริษัทแล้วนักท่องเที่ยวจากสิงคโปร์ก็เข้ามาเที่ยวในเมืองไทยกันมาก เช่นเดียวกับ คนไทยก็ข้ามฝากไปลงทุนและท่องเที่ยวที่สิงคโปร์กันไม่น้อย

ไทยและสิงคโปร์นั้นเป็นทั้งหุ้นส่วนและคู่แข่งกันมีผลประโยชน์ร่วมกันในบางเรื่องและมีผลประโยชน์ขัดกันในบางเรื่องแต่ไม่เคยมองอีกฝ่ายหนึ่งเป็นศัตรูจนกระทั่งมาในยุคนี้ที่ไปกล่าวหาว่าเขาดักฟังโทรศัพท์ ถือว่าร้ายแรงในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่วนไทยเองก็ไม่พอใจที่มีการซื้อธุรกิจสัมปทานโดยเฉพาะดาวเทียมซึ่งมีความอ่อนไหวต่อประเด็นความมั่นคง

วิกฤต "สุวรรณภูมิ" ทำให้ไทยพลาดท่าในการเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคเอเชีย กลายเป็นโอกาสของ สนามบินชางยีของสิงคโปร์ สิงคโปร์คงเดินกลยุทธเต็มที่ในการพลักดันทั้งสนามบินชางยีและคอมแพล็กกาสิโนเพื่อดึงดูดเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยว

ความสัมพันธ์เริ่มสั่นคลอนมาอย่างต่อเนื่องหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย. 50 สังเกตได้จากความเห็นอันดุดันต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยที่แตกต่างจากผู้นำอาเซียนท่านอื่นๆ และเกิดอาการร้าวฉานมากขึ้นเมื่อเริ่มมีการรื้อฟื้นและไต่สวนกรณีการขายหุ้นชินให้กองทุนเทมาเส็ก

และเริ่มลุกลามไปกันใหญ่ทั้งๆที่ไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น เมื่ออดีตนายกฯทักษิณ เยี่ยม ดร. หว่องกันเส็ง และ เอส จายากุมาร รองนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ เป็นการส่วนตัว แต่ไม่ให้สัมภาษณ์สื่อดังระดับโลกอย่าง CNN และ Wall Street Journal วิพากษ์นโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลและ คมช

ความสัมพันธ์ที่ร้าวฉาน การตอบโต้กันผ่านสื่อมวลชนระหว่างประเทศ แม้นไม่ถึงกับทำให้บรรยากาศการค้าการลงทุนต่อกันเสียหายในทันที แต่การปลุกกระแสเกลียดชังสิงคโปร์อย่างไม่ระมัดระวัง อาจจะก่อให้เกิดการประท้วงลุกลามใหญ่โต จะทำให้ทุนสิงคโปร์กลายเป็นผู้ร้ายของสังคมไทย

หากมีกระแสต่อต้านจนทำลายบรรยากาศการลงทุน ทุนสิงคโปร์ก็อาจไม่ทนอยู่ เพราะเขามีทั้งทุน เทคโนโลยีและเครือข่าย และเคลื่อนย้ายทุนไปที่ไหนก็ได้ในยุคไร้พรมแดนแบบนี้

เราไม่จำเป็นต้องอาลัยอาวรณ์หรอกครับ มีประเทศอื่นๆเขาสนใจลงทุนในประเทศไทยก็ยังมี แต่จำเป็นด้วยหรือที่เราต้องทำให้สิงคโปร์เป็นศัตรูเราทั้งที่เป็นประเทศแกนนำอาเซียนด้วยกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us