Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2546
วีระอนงค์ จิระนคร ถนนแห่งความสำเร็จ             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
search resources

ธนาคารซิตี้แบงก์
วีระอนงค์ จิระนคร




จากบุคลากรและได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี ตามแบบอย่างของโรงเรียนซิตี้แบงก์ ส่งผลให้เป็นสถาบันที่มีผู้บริหารรุ่นใหม่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

ชื่อของวีระอนงค์ จิระนคร ในฐานะ Vice President Cash, Trade, Treasury Service & Global Securities Service Head ซิตี้แบงก์ ไม่เป็นที่แปลกหน้าสำหรับวงการตลาดเงินตลาดทุนในเมืองไทย เพราะชีวิต การทำงานล้วนแล้วแต่อยู่ในสายธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น หลังจากเธอจบปริญญาตรีด้าน เศรษฐศาสตร์และบัญชี ที่ Scripps College, Claremont, California ในปี 1991 ได้เข้าทำงานในตำแหน่ง Executive Trainee ที่ Republic National Bank of New York ณ กรุงนิวยอร์ก

จากนั้น เธอได้ศึกษาต่อปริญญาโท ด้านไฟแนนซ์ บัญชีและการบริหารระหว่างประเทศที่ Boston College, Boston, Massachusetts โดยขณะที่กำลังคร่ำเคร่งอยู่กับตำราถือเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตการทำงานช่วงหนึ่ง เมื่อซิตี้แบงก์เข้ามาเปิดรับสมัครภายในรั้วมหาวิทยาลัยและอธิบายถึงธุรกิจและวัฒนธรรม เธอรู้สึกประทับใจกับองค์กรแห่งนี้

"ช่วงนั้นยังไม่ได้คิดอะไรมากเพราะยังเรียนไม่จบ แต่ก็เป็นเรื่องบังเอิญเมื่อเราเขียนใบสมัครทิ้งเอาไว้ จากนั้นก็มีการติดต่อกันจนกระทั่งธนาคารรับเข้ามาทำงาน คิดว่าเป็นการค้นพบ ซึ่งกันและกันมากกว่า" วีระอนงค์ เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

เมื่อสำเร็จการศึกษาในปี 1994 เธอเดินทางกลับเมืองไทยพร้อมกับบรรยากาศการทำงานใหม่ที่ซิตี้แบงก์ สาขากรุงเทพฯ ในตำแหน่ง Corporate Finance Officer จากนั้นไปทำงานเป็น Sale & Account Management Head แผนก Global Securities Services และได้รับการโปรโมตให้เป็น Securities Country Manager แต่ดูเหมือนว่าเธอไม่ต้องปรับตัวอะไรมากมาย อันเนื่องมาจากวัฒนธรรมภายในองค์กรยังเป็นในแบบฉบับอเมริกัน รวมถึงเพื่อนร่วมงาน ที่เป็นคนไทยแทบทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม เมื่อวีระอนงค์ทำงานได้ประมาณ 5 ปี ได้รับโปรโมตให้ไปดำรงตำแหน่ง Securities Country Manager ซิตี้แบงก์ ประจำฮ่องกงและจีน นับเป็นการเดินทางไปทำงานต่างถิ่นอีกครั้งและเธอได้ทำงาน ที่นั่นเป็นเวลาถึง 3 ปีก่อนที่จะถูกดึงตัวกลับมาในประเทศไทยเพื่อรับตำแหน่งสำคัญในฐานะผู้ดูแลธุรกิจบริหารเงินสด เทรดไฟแนนซ์ และหลักทรัพย์เมื่อประมาณปลายปีที่ผ่านมา

นับได้ว่าวีระอนงค์เป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้บริหารระดับสูงของซิตี้แบงก์ เนื่องจากธุรกิจทั้ง 3 ที่เธอต้องรับผิดชอบและมีทีมงานเกือบ 60 คน นับเป็น ผลิตภัณฑ์หลัก (Core Product) ของธนาคาร

"วัฒนธรรมและสไตล์ของซิตี้แบงก์คือ ใครมีความสามารถก็ให้โอกาสทำงาน ไม่เน้น อายุแต่มองศักยภาพมากกว่า ว่ามีความเหมาะสมกับตัวงาน สามารถปรับตัวให้ทันกับตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา และนำพาทีมงานไปสู่ทิศทางที่เติบโตตามเป้าหมาย ได้หรือไม่" เธออธิบาย

ความได้เปรียบของผู้บริหารรุ่นใหม่ในสายตาของเธอ ก็คือ มุมมองที่มีความหลากหลายและหลุดออกจากกรอบมากขึ้น ความรู้สึกดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากวัฒนธรรมของซิตี้แบงก์ที่พยายามปลูกฝังให้กับผู้บริหาร ทุกคนว่าทุกสิ่งที่ทำจะต้องมีอะไรที่ดีกว่าในปัจจุบัน แล้วแต่ว่าถูกค้นพบหรือไม่

"พวกเราจะนำแนวคิดการให้บริการใหม่ๆ จากบริษัทแม่มาใช้ในเมืองไทย และพิจารณาว่าสามารถใช้ได้หรือไม่ เป็นที่ยอมรับ กับเศรษฐกิจและตลาดหรือไม่ และทำอย่างไร ให้ดียิ่งขึ้นเพื่อรองรับกับธุรกิจของลูกค้าได้"

ดังนั้น ความท้าทายสำหรับวีระอนงค์ อยู่ในแง่ที่ว่า ผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 จะรองรับธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน และมีรูปแบบต่างๆ เพิ่มขึ้นมาตลอดได้หรือไม่ "อีกทั้งยังท้าทายตรงที่เรามีความคุ้นเคยแต่ทำอย่างไรที่จะให้ดีขึ้น"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us