การกระโดดออกมาจากแวดวงภาครัฐสู่องค์กรเอกชนของเขาในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสสำคัญในการพิสูจน์ตนเองว่ามีศักยภาพในการบริการธุรกิจและสร้างความมั่งคั่ง
ให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนได้มากน้อยเพียงใด
สำหรับวงการตลาดเงินในประเทศไทยการย้ายจากหน่วยงานภาครัฐสู่บริษัทเอกชนระดับผู้บริหาร
ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่สำหรับตลาดทุนเหตุการณ์ดังกล่าวมีให้เห็นไม่บ่อยมากนัก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมกองทุนรวม ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนมาจากผู้เล่นหรือมืออาชีพ
แต่สำหรับ ดร.พิชิต อัคราทิตย์ กรรมการจัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี เป็นข้อยกเว้น
"ในเมืองไทยอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคย แต่ผู้ออกกฎในสิงคโปร์ หรือมาเลเซีย ส่วน
ใหญ่ย้ายไปอยู่ฝ่ายเอกชนกันแทบทุกคน" ดร.พิชิตเล่า
หลังจากที่ ดร.เจษฎา โลหอุ่นจิตร ประกาศวางมือในฐานะกรรมการจัดการ บลจ.เอ็ม
เอฟซี เมื่อปลายปีที่ผ่านมาบริษัท จำเป็นต้องเร่งสรรหาผู้นำคนใหม่เพื่อสานงานต่อ
และเมื่อบริษัทประกาศรับสมัครผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ดร.พิชิตตัดสินใจเสนอตัวเข้ามาเพื่อให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณา
"ผมไม่รีรอเลยที่จะมาสมัครร่วมกับผู้บริหารคนอื่นๆ เพราะมีความรู้สึกว่าน่าสนใจดี"
ในที่สุด ดร.พิชิตได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการจัดการคนใหม่ใน บลจ.เอ็มเอฟซี
และเป็น ครั้งแรกในชีวิตการทำงานของเขาในภาคเอกชน นับเป็นความท้าทายสำหรับตัวเองและองค์กรที่ไว้วางใจให้ผู้ออกกฎในฐานะอดีตผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาตลาดทุน
สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทำหน้าที่สำคัญ ยิ่ง
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าเขาไม่ได้ รับแรงกดดัน เพราะมีข้อสังเกตอยู่ว่าอุตสาหกรรมกองทุนรวมค่อนข้างแตกต่างจากธุรกิจโดยทั่วไป
และผู้ออกกฎในภาคนี้ ไม่ใช่ราชการเต็มตัว ดังนั้นความคล่องตัวของการทำงานจึงค่อนข้างสูง
"ผมคุ้นเคยกับธุรกิจนี้ดี ในสมัยที่ทำงานให้ ก.ล.ต. หน้าที่คือ ศึกษาอุตสาห-กรรมกองทุนรวมในประเทศกำลังพัฒนา
โดยประเทศไทยได้รับหน้าที่เป็นประธานคณะทำงานเกี่ยวกับนักลงทุนสถาบัน เป็นการศึกษากองทุนรวมระหว่างประเทศ
ทำงานเกี่ยวกับโครงสร้างกองทุนรวมเพื่อหาวิธีการทำให้กองทุนรวมเติบโตและมีประสิทธิภาพ"
ดร.พิชิตอธิบาย
ฉะนั้น ทั้งในแง่กระบวนการทำงาน ในภาครัฐกับภาคเอกชน เนื้อหาพื้นฐานของอุตสาหกรรมกองทุนรวมแยกกันไม่ออก
ไม่ว่าจะเป็นบทบาทหน้าที่การบริหารงาน การวางแผน การสั่งการ การจัดโครงสร้าง
องค์กร และการประเมินผล
"ความแตกต่างอยู่ตรงที่ภาคเอกชนมีผลกำไรเป็นเป้าหมายหลัก และลูกค้าได้รับผลประโยชน์สูงสุดด้วย
ส่วนภาครัฐมองถึงผลประโยชน์สูงสุดโดยรวมของประเทศว่าทำอย่างไรประชาชนจะมีความสุขมากขึ้น"
เขาชี้ "ระหว่างผลกำไรกับความสุขของประชาชน ตัววัดต่างกันอยู่ แล้ว อย่างแรกวัดง่าย
แต่ความสุขนั้นวัดลำบากมาก ดังนั้น เป้าหมายขององค์กรเอกชนจึงสามารถดำเนินการได้ง่ายกว่าการบริหารในภาครัฐ"
เมื่อเป็นเช่นนี้ ความรู้สึกของดร.พิชิต จึงไม่ขัดเขินสำหรับการกระโดดเข้ามาในวงการธุรกิจภาคเอกชน
"มีความสนุกมากกว่าและจากประสบการณ์ที่ผ่านมา น่าจะช่วยได้มากเพราะผมค่อนข้างมีความ
เข้าใจโครงสร้างการทำงานทั้งสองฝ่าย"
นอกจากนี้บรรยากาศการดำเนินงานของ บลจ.เอ็มเอฟซี มีความแตกต่างไปจากคู่แข่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพของทางการที่แสดงออกมาในด้านความระมัดระวัง และเป็นไปตามกฎระเบียบของภาครัฐกับเรื่องความมั่นคง
ยิ่งทำให้ดร.พิชิตไม่ต้องปรับตัวอะไรมาก
"เรื่องดังกล่าวสอดคล้องไปกับสภาวะอุตสาหกรรมกองทุนรวม ขณะที่พวกเราต้องการความน่าเชื่อถือ
ผมจึงเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานบริษัท"
ภารกิจหลักและเป็นความตั้งใจอันดับแรกของ ดร.พิชิต หลังจากเข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
ก็คือ ทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลประโยชน์และบริการดีที่สุดตามเจตนารมณ์ของแต่ละคน
โดยเขาจะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้สำหรับการดำเนินกิจการและเพิ่มตัวแทน
จำหน่ายกองทุนมากขึ้นเพื่อความสะดวกในการติดต่อกับนักลงทุน
นอกเหนือไปจากนี้กระบวนการควบรวมกองทุนตราสารทุนนับเป็นภารกิจหลีกเลี่ยงไม่ได้ของ
ดร.พิชิต เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน หลังจาก ก.ล.ต.อนุญาตให้ดำเนินการได้
ขณะนี้กระบวนการอยู่ในระหว่างส่งจดหมายให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนว่ายินยอมให้บริษัทควบรวมกองทุนดังกล่าวหรือไม่
"พวกเราต้องการทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน แต่ทางออกแบบนี้
ถ้าหากว่ามีปัญหาจากการควบรวมจะต้องมีทางออกให้พวกเขาเหมือนกัน เช่น เปลี่ยนไปถือกองทุนอื่นๆ
โดยบริษัทจะชดเชยผลตอบแทนให้" ดร.พิชิตอธิบาย "แต่การควบรวมกองทุนหุ้นหากมองในแง่กองทุนรวมเพื่อลดความเสี่ยงด้านการบริหารกองทุน
แต่ต้องพิจารณาลูกค้าด้วยว่าพึงพอใจหรือไม่"
สำหรับการเติบโตตัวเลขมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (NAV) ในปีนี้เขาคาดว่าไม่แตกต่างไปจากปีที่ผ่านมาประมาณ
20% แต่จะมีกองทุนใหม่ๆ ออกมาประมาณ 10-15 กองทุน เน้นรูปแบบที่สามารถตอบสนอง
ให้กับนักลงทุน เช่น ความต้องการผลตอบ แทนลักษณะกึ่งๆ ประกันเงินต้นซึ่งกำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน
"ปีที่ผ่านมาบริษัทค่อนข้างแข็ง แกร่งด้านกองทุนตราสารทุน ให้ผลตอบแทนเกือบ
30% และในปีนี้คาดว่าตัวเลขยังคงอยู่ในระดับเดียวกัน เพราะราคาหุ้นไทยค่อนข้างต่ำ
ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนดีกว่าประมาณการ" ดร.พิชิตกล่าว
ขณะที่กองทุนตราสารหนี้แม้ว่าโอกาสเติบโตยังมีอยู่บ้าง แต่หากมองในแง่ผลตอบแทน
บลจ.เอ็มเอฟซีให้น้ำหนักกับกองทุนตราสารทุน "แต่หากมองการทำงานภาพรวมพวกเราให้ความสำคัญกับผู้ถือหน่วยลงทุนมากกว่าเครื่องมือ
เพราะพวกเขาจะเป็นคนบอกว่ากองทุนรวมที่จะออกขายมีลักษณะอย่างไร"
จากเอกลักษณ์ของ บลจ.เอ็มเอฟซี และการผ่านร้อนผ่านหนาวมายาวนาน พร้อมๆ
กับการเติบโตตลาดทุนไทย ผสมผสานกับประสบการณ์ในตลาดทุนของดร.พิชิตน่าจะส่งผลให้เกิดความกระตือ
รือร้นมากขึ้น แม้ว่าเขาจะรักษาแนวทางอนุรักษนิยมเอาไว้ก็ตาม
"ช่วงที่ทำงานกับ ก.ล.ต. อยากเห็น กองทุนรวมสักแห่งอยู่ในอุดมคติ ซึ่งเป็นความรู้สึกปกติของฝ่ายออกกฎระเบียบ
แต่เมื่อเข้ามาอยู่ฝ่ายผู้เล่นเป็นความท้าทายว่า เราจะสามารถทำได้อย่างที่เคยใฝ่ฝันหรือไม่"
เขาเล่า