เมื่อปี 1995 ฮิโรทากะ ทาเกอุชิ และ อิคุจิโร โนนากะเสนอประเด็นไว้ใน The
Knowledge-Creating Company ว่าความรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันของบริษัทญี่ปุ่น
และเช่นกัน ใน ผู้เขียนก็เพิ่มเติมความคิดในประเด็นดังกล่าว โดยบอก แม้ว่าเวลาจะเปลี่ยนไป
และปัจจุบันบริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากกำลังดิ้นรนอย่างหนัก แต่องค์กรทุกแห่งไม่ควรละเลยความสำคัญของการสร้างความรู้
ผู้เขียนระบุด้วยว่าบริษัทญี่ป่น ที่กำลังเผชิญปัญหารุมล้อมอยู่ตอนนี้ส่นหนึ่งเป็นเพราะใส่ใจกับการสร้างความรู้ในองค์กรน้อยเกินไป
ผู้เขียนระบุถึงกิจกรรม 5 อย่างที่จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างความรู้ในองค์กร
ดังนี้
1. ค่อยๆ เปิดมุมมองทางด้านความรู้
ผู้บริหารต้องคำนวณว่ามีความรู้อะไรบ้าง ที่องค์กรควรรู้ เพื่อ ที่จะผลักดันความด้าวหน้าในอนาคตขณะเดียวกันก็สามารถอยู่รอดได้ในภาวะปัจจุบันด้วย
การทำความเข้าใจถึงวิสัยทัศน์ และเป้าหมายในการสร้างความรู้เป็นกุญแจสำคัญในการสร้าง และระบุถึงแนวคิดเกี่ยวกับความรู้ ที่จำเป็นต่อองค์กร
2. บริหารการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้
สัมพันธภาพที่ดีในหมู่พนักงาน และการกำจัดอุปสรรคในการแลกเปลี่ยนความรู้กันเป็นกุญแจสำคัญที่สุดในการกระบวนการสร้างความรู้ขององค์กร
3. ระดมนักกิจกรรมสร้างความรู้
การรวบรวมพนักงานให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความรู้เป็นประเด็นหนึ่ง ที่ต้องให้ความสำคัญ
4. สร้างบรรยากาศ ที่เหมาะสม
ต้องแน่ใจว่าโครงสร้างองค์กรมีส่วนสนับสนุนหรือส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือ และสร้างสัมพันธภาพในการสร้างความรู้ให้เกิดขึ้น
5. นำความรู้ในระดับย่อยมาขยายให้เป็นความรู้รวม
เป็นขั้นตอนการกระจายความรู้ออกไปตามส่วนต่างๆ ขององค์กรอย่างทั่วถึง
นอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้ว ผู้เขียนยังนำเสนอกรณีตัวอย่าง เพื่อให้เกิดความกระจ่าง
เพื่อให้ผู้บริหารนำไปใช้ส้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ