Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 กุมภาพันธ์ 2550
แกรมมี่งัดเกมทำเป้า 6.5 พันล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

   
search resources

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ.
Musics




จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ เร่งจูนเครื่อง หวังกลับสู่ยุครุ่งเรือง ปี 2546 หลังจากทยอยปรับระบบองค์กร รวมทั้งยุทธศาสตร์ใหม่ ปีนี้หวังโกยรายได้มากกว่า 6,500 ล้านบาท เผยกลุ่มเพลงยังเป็นพระเอกหลักสัดส่วนกว่า 50% เดินเกมรับยุคดิจิตอล ชูกลยุทธ์หลัก Customer Centric เปิดช่องทางใหม่ทำเงินอีกเพียบ

นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) หรือจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ เปิดเผยถึงยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจในปี 2550 นี้ว่า บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายที่จะผลักดันสถานภาพของบริษัทฯ ให้กลับไปสู่ยุครุ่งเรืองเหมือนช่วงปี 2546 อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในช่วงนั้นมีรายได้มากกว่า 6,000 ล้านบาท และโดยเฉพาะมีกำไรสูงถึง 700 กว่าล้านบาท

ทั้งนี้โครงสร้างรายได้กว่า 6,500 ล้านบาทในปีนี้นั้น จะมาจากธุรกิจเพลงมากกว่า 50% หรือประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นสัดส่วนที่มาจาก 1.การจัดจำหน่าย ดีวีดี วีซีดี มูลค่า 1,600 ล้านบาท หรือประมาณ 53% ซึ่งเชื่อว่ากลุ่มนี้จะถดถอยอย่างช้าๆ สอดคล้องกับกระแสโลก ซึ่งลดลงประมาณ 5-6% แต่คาดว่ายอดปีนี้จะสูงกว่าปีที่แล้วเล็กน้อยจากอัลบั้มที่เพิ่มขึ้น, 2. ดิจิตอล มิวสิค ประมาณ 500 ล้านบาท หรือ 15% เติบโตกว่าปีที่แล้ว 30% โดยมาจากโมบายเป็นหลัก ตอบสนองคนไทยที่ใช้มือถือมากกว่า 33 ล้านเครื่อง และจากการดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ตกว่า 7 ล้านคน และการใช้บรอดแบนด์ในปี 2549 ที่เติบโตกว่าปี 2548 ถึง 188% คือ 570,000 คน, 3.บริหารศิลปิน ประมาณ 380 ล้านบาท หรือ 12% โดยครอบคลุมธุรกิจการแสดงตามสถานบันเทิง การโชว์ตามอีเว้นท์ พรีเซ็นเตอร์และดิจิตอลคอนเท้นต์, 4.จัดกิจกรรมและคอนเสิร์ต 280 ล้านบาทหรือ 9% ซึ่งเป็นการรักษาระดับจำนวนโชว์ให้เท่ากับหรือมากกว่าปีที่แล้ว และการจัดเก็บลิขสิทธิ์ อีกประมาณ 200 ล้านบาท หรือ 6% มาจากร้านอาหาร คาราโอกเกะ สายการบิน โมเดิร์นเทรด ซึ่งปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ลิขสิทธิ์เพลงไทยในต่างประเทศด้วย และอื่นๆ 5%

สำหรับปีนี้คาดหวังที่จะมีรายได้รวมมากกว่า 6,500 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วเล็กน้อยที่มีรายได้ต่ำกว่า 6,500 ล้านบาท แม้ว่าในปีนี้หลายธุรกิจจะมีการตั้งเป้าเติบโตแบบถดถอยลงกว่า 10-20% ก็ตาม โดยบริษัทฯ จำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และตลาดรวมถึงผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยได้ปรับบทบาทการทำตลาดการขายรูปแบบธรรมดามาเป็นการทำตลาดแบบดิจิตอล

กลยุทธ์หลักของบริษัทฯ คือ Customer Centric ประกอบด้วย Convenient (หาได้สะดวก), Customize (เลือกได้ตามความต้องการเฉพาะตัว), Friendly (ใช้งานง่าย มีทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์), Fair (ราคาสมเหตุสมผล) โดยเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

“บริษัทฯ จะใช้ความได้เปรียบที่มีคลังเพลงมากกว่า 17,000 เพลง และการออกอัลบั้มใหม่ต่อปีอีกกว่า 200 อัลบั้ม รวมถึงศิลปินกว่า 270 คน มาเป็นตัวทำตลาด และสร้างประโยชน์เต็มที่ เราต้องปรับกลยุทธ์การทำตลาดมาสู่การเป็นไลฟ์สไตล์มาร์เกตติ้งมากขึ้น ใช้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางไม่ใช้สินค้า การทำตลาดจะต้องเฉพาะกลุ่มหรือ เทลเลอร์เมดมากขึ้น การใช้งบผ่านสื่อจะไม่เหวี่ยงแหหรือสาดเป็นปืนกล แต่จะเจาะจงเฉพาะกลุ่มมากขึ้น และปัจจุบันนี้ช่องทางการฟังเพลงของผู้บริโภคมีมากขึ้นทำให้โอกาสในการเติบโตมีมากด้วย” นายไพบูลย์กล่าว

ขณะนี้บริษัทเทเลคอมต่างๆ ยอมรับภาวการณ์เข้สู่ยุคของนอนวอยซ์มากขึ้นแล้ว บรรดาผู้ประกอบการให้บริการมือถือต่างๆ ก็ตอบรับ ไม่ว่าจะเป็น ทรู ดีแทค เอไอเอส ฮัทช์ สามารถ หรือผู้ผลิตมือถือเช่น สามารถไอโมบาย โนเกีย ซัมซุง เป็นต้น ในการรองรับตลาดโลกยุคดิจิตอลมากขึ้น

ช่องทางการทำตลาดของบริษัทฯ จะมีหลากหลายมากยิ่งขึ้นเพราะทุกวันนี้คงไม่ใช่การขายแผ่นซีดีเท่านั้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโมบาย อินเทอร์เน็ต ไอพอด พีซี ซึ่งบริษัทฯ มีระบบไอคีย์รองรับไว้ ส่วนรูปแบบการขายนั้นก็มีหลากหลาย เช่น การดาวน์โหลดเพลงที่เพิ่งออกใหม่ ทั้งแบบเพลงเดียวหรือเต็มอัลบั้ม นอกจากนั้นบริษัทฯ มีการทำซีอาร์เอ็ม ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าไว้ได้ ทำให้รู้ถึงพฤติกรรมความชอบของแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร สามารถนำเสนอสินค้าหรือเพลงที่ถูกความต้องการได้ด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงจีเมมเบอร์ ซึ่งจะพัฒนาให้เป็นบรอดคาสติ้งเว็บไซต์อินเทอร์เน็ตในการทำตลาดต่อไป ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของการเตรียมพร้อมด้านอินฟราสตรัคเจอร์ ทั้งหมด

“แนวทางการทำงานของเราจากนี้ จะใช้วิธีการหาพันธมิตรมาร่วมงานหรือร่วมทุน ส่วนเราเองจะทำในสิงที่ถนัดเท่านั้น ซึ่งแนวทางการทำงานกับพันธมิตรนั้นจะยึดหลักเดียวกันคือ Customer Centric คือไม่ใช่เพียงการเข้ามาเป็นสปอนเซอร์เท่านั้น แต่จะร่วมกันในระดับกลยุทธ์ ทั้งลูกค้า ที่ซัพพอร์ทดิจิตอลคอนเท้นต์และลูกค้าที่ไม่ใช่มิวสิคมาร์เก็ตติ้งรูปแบบของเพลงและศิลปิน ซึ่งขณะนี้ได้มีการเซ็นสัญญากันเรียบร้อยแล้วมีมูลค่ารวมกว่า 500 ล้านบาท”

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯเองก็ยังจำเป็นที่จะต้องทำการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อสร้างสถานภาพให้ดีขึ้น ซึ่งได้เริ่มบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพมาตั้งแต่ปี 2549 แล้ว คือ โครงการลดต้นทุนของมาสเตอร์เอ็กซ์เรย์ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน โดยปีที่แล้วลดต้นทุนไปได้ประมาณ 100 ล้านบาท ส่วนปีนี้ตั้งเป้าหมายลดต้นทุนโดยรวมกว่า 50 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us