Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 กุมภาพันธ์ 2550
จวกยับมาตรการธปท.ผิดพลาด แนะเว้น 30% ให้บ.ที่ผ่านบีโอไอ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน - บีโอไอ

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน - บีโอไอ
Economics




“ณรงค์ชัย” จวกยับมาตรการธปท.เป็นความผิดพลาดการบริหารด้านค่าเงินบาท ชี้กันสำรอง 30% ไม่จำเป็นต้องใช้เลยหากไตรมาส 4 ปีที่แล้วยอมลดดอกเบี้ยอาร์พี 14 วัน ชี้การเมืองปัจจัยหลักชี้ชะตาเศรษฐกิจปี 50 เผยเกมชิงอำนาจทั้งขั้วใหม่และเก่า ชนะก็อยู่บนความบอบช้ำของประเทศ “จักรมณฑ์” แนะบีโอไอเสนอธปท.เว้นมาตรการกันสำรอง 30% ให้นักลงทุนที่ได้รับส่งเสริมลงทุนจากบีโอไอ

นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) กล่าวในการสัมนาเรื่องทิศทางการลงทุนภาครัฐและเอกชนปี 2550 และการรับมือค่าเงินบาทผันผวน ซึ่งจัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) และเอ็กซิมแบงก์ วานนี้ (31ม.ค.) ว่า การที่จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมีทางเดียว คือการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อกลับเข้าสู่ความเป็นจริง เพราะรัฐบาลบริหารประเทศในนโยบายการเงินการคลังไม่ดีพอ จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศในปัจจุบัน มีการปล่อยให้เกิดการเก็งกำไรค่าเงินบาท รวมทั้งปล่อยให้เกินดุลการค้าแทนที่จะทำให้ขาดดุลการค้า

ขณะเดียวกัน หากในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วมีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรืออาร์พี 14 วัน ขณะนี้ก็ไม่ต้องใช้มาตรการกันสำรอง 30%

“ภาวะเศรษฐกิจของไทยในปีนี้จะยังได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองสูงมากเพราะขั้วอำนาจเก่าก็ยังไม่หยุดเคลื่อนไหว มีการจ้างล๊อบบี้ยีสต์ประชาสัมพันธ์ตัวเอง, นำตัวเองไปออกอากาศผ่านโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นและเร็วๆ นี้ก็จะลงสัมภาษณ์ในหนังสือ time ขณะที่ขั้วอำนาจใหม่ได้แต่เพียงตั้งรับสถานการณ์ เพราะถ้าหากทั้งสองฝ่ายยังเล่นเกมช่วงชิงชัยชนะอยู่เช่นนี้ สุดท้ายก็ต้องมีใครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ชนะบนความบอบช้ำของประเทศ ประเทศไทยก็จะสูญเสียภาพพจน์ด้านการลงทุน ”นายณรงค์ชัยกล่าว

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า บีโอไอควรจะทำหนังสือถึงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อเว้นมาตรการกันสำรอง 30% ให้กับนักลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์การส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ เนื่องจากนักลงทุนดังกล่าวมีแผนการลงทุนที่ชัดเจนอยู่แล้ว

“บอร์ดบีโอไอวันนี้ (1ก.พ.) บอร์ดบางคนอาจจะเสนอให้บีโอไอทำหนังสือถึงธปท. ให้เว้นมาตรการดังกล่าว เพราะไม่ต้องห่วงว่าหากยกเว้นให้เป็นพิเศษแล้วจะนำเงินไปเก็งกำไรค่าเงินบาทเพราะต้องทำตามเงื่อนไขบีโอไอและเรื่องนี้ก็ให้บีโอไอรับผิดชอบไปเลย”นายจักรมณฑ์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าระยะสั้นคงจะต้องมีการแก้ไขปัญหาไปก่อนแต่ระยะกลางและระยะยาวแล้วเอกชนจะต้องเน้นเพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขันหลายๆ ทางไม่ควรจะมุ่งการแข่งขันจากการทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง โดยจะต้องมองเรื่องทุนและแรงงาน ระบบลอจิสติกส์ และระบบการเงินที่สอดรับกันเป็นสำคัญ

นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า แม้ว่าไทยจะมีปัญหาหลายด้านและมีการขู่ถอนการลงทุนแต่ยอดขอส่งเสริมกลับไม่ได้ลดลงอย่างที่หลายฝ่ายคิด โดยเดือนม.ค. มียอดขอรับบีโอไอ 94 โครงการวงเงินรวม29,300 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับม.ค.ปี 2549 มาก แต่สิ่งที่น่าห่วงคือภาคการส่งออกเพราะหากเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะของสหรัฐฯหดตัวจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยทันที

นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ปี 2550 ภาคลงทุนของไทยน่าจะยังขยายตัวได้อยู่แต่ในอีก 1-2 ปีข้างหน้าหากภาคอุตสาหกรรมไทยไม่ปรับตัวก็จะแข่งขันลำบากมากขึ้นโดยจะต้องเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us