ตัวการ์ตูนญี่ปุ่นอย่างหมีขี้อ้อน หุ่นรบพิฆาตจะเป็นทางเลือกใหม่" ที่โลดแล่นอยู่บนจอโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้เมืองไทย
หากนึกถึงผู้ให้บริการข้อมูลทางโทรศัพท์มือถือ หลายคนคงนึกถึงค่ายเพลง
หรือบรรดาเว็บไซต์ต่างๆ แต่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่า ผู้ผลิตเครือข่ายโทรคมนาคม
คอมพิวเตอร์ และเครื่องไฟฟ้าอย่างเอ็นอีซี กระโดดลงมาทำธุรกิจนี้ด้วยตัวเอง
งานนี้จึงได้รับความสนใจจากผู้สื่อข่าวที่มากันเต็มห้องแถลงข่าว
นอกจากผู้บริหารชาวญี่ปุ่นและไทย ของบริษัทเอ็นอีซี ประเทศไทย จะมาแถลง
ข่าวแล้ว ยังมีผู้บริหารของบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส
ที่ร่วมแถลงด้วย เพราะบริการข้อมูลนี้จะให้กับลูกค้าของเอไอเอสเพียงรายเดียวเท่านั้น
เอ็นอีซี เริ่มธุรกิจให้บริการเนื้อหา เป็นครั้งแรกในประเทศของตัวเอง นอกจาก
ผลิตโทรศัพท์มือถือป้อนตลาดในญี่ปุ่น โดย มีให้กับบริการ I-mode ของ NTT
DoCoMo ที่สร้างความสำเร็จอย่างมากจากโมบายอินเทอร์เน็ต และเอ็นอีซี ยังเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการเนื้อหาให้กับบริการ
I-mode ของ NTT DoCoMo
นอกจากเรื่องของรายได้แล้วสาเหตุที่เอ็นอีซี ผันจากผู้ผลิตฮาร์ดแวร์มาเป็นผู้ให้บริการเนื้อหา
หากบริการได้รับความนิยม ตลาดขยายตัว ความต้องการ ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น
โอเปอเรเตอร์ก็ต้องขยายเครือข่ายมากขึ้น "นั่นก็จะเป็นโอกาสที่เราจะขายอุปกรณ์เครือข่ายอย่างสถานีฐาน
cell site ก็จะมีมากขึ้น" นครินทร์ มากพานิชย์วัฒน์ ผู้จัดการกลุ่มธุรกิจสื่อสารไร้สาย
บริษัทเอ็นอีซี คอมมิวนิเคชั่น ซิสเทมส์ (ประเทศไทย) บอก "นี่คือเป้าหมายของเรา"
แต่ด้วยความไม่มีประสบการณ์ตรง ในการผลิตเนื้อหา เอ็นอีซีไม่ผลิตเนื้อหา
เอง แต่เป็นผู้รวบรวม (aggregator) จากเจ้าของเนื้อหา และนำมาให้บริการอีกต่อหนึ่ง
โดยอาศัยเครือข่ายธุรกิจของตัวเองที่มีอยู่ในหลายๆ ประเทศ เป็นฐานในการขยายธุรกิจ
ผู้ผลิตเนื้อหาจำนวนหลายรายเกือบทั้งหมดของเอ็นอีซีอยู่ในญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดใหญ่
หนึ่งในรายสำคัญก็คือ บริษัท Bandai ผู้ผลิตของเล่นและการ์ตูนและเป็นหนึ่งในผู้ประสบความสำเร็จจากการป้อนเนื้อหาให้กับ
NTT DoCoMo
"เนื้อหาที่ Bandai ป้อนกับเอ็นอีซีจะเป็นเนื้อหาเฉพาะที่ไม่เหมือนกับที่เขาให้
บริการเอง เป็นข้อตกลงที่เราทำร่วมกัน"
เนื้อหาที่เป็นเอกลักษณ์ของพวกเขา จึงเป็นการ์ตูน Tarepanda เจ้าหมีขี้อ้อน
Gundam หุ่นรบพิฆาต Afoken หมาน้อย น่ารัก
ด้วยความที่มีธุรกิจหลายประเทศ เอ็นอีซี จึงขยายธุรกิจทางด้านนี้ของตัวเอง
ออกไปด้วย ทั้งในยุโรป จีน และไทย เป็นประเทศล่าสุดที่เอ็นอีซีเปิดให้บริการเนื้อหา
และเป็นประเทศแรกที่เอ็นอีซีไม่ใช้ชื่อ บริการเอ็นอีซีเหมือนเคย แต่สร้าง
brand ขึ้นใหม่ใช้ชื่อว่า neon ที่มีความหมายว่า แสงสว่าง
"แนวโน้มของเครื่องโทรศัพท์จอสี mms (Multimedia Messagings) และจาวา จะเข้ามาในปีนี้
เราต้องการไปพร้อมๆ กับ การเติบโตของตลาด" นครินทร์บอกถึงการตัดสินใจเปิดให้บริการ
หลังจากใช้เวลาเตรียมงานมา 1 ปีเต็ม จัดตั้งแผนกใหม่ รับทีมงานคนรุ่นใหม่เข้ามารับผิดชอบ
นำเอาเนื้อหาที่มีอยู่มาพัฒนาให้เหมาะสมกับระบบโทรศัพท์มือถือของเมืองไทย
แม้ว่าบริการข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเอ็นอีซี จะเดินไปถึงระบบ
3G มีข้อความ เสียง และภาพเคลื่อนไหว มีเนื้อหาที่รองรับกับระบบส่งข้อความแบบมัลติมีเดีย
หรือ MMS และจาวาเกม แต่สำหรับตลาดที่เพิ่งเริ่มต้นอย่างเมืองไทย เอ็นอีซีจึงต้องเริ่มด้วยระบบ
SMS ก่อน บริการ โลโก และส่งภาพ โดยจะใช้ภาพการ์ตูนที่เป็นสัญลักษณ์ของพวกเขาเป็นจุดขาย
ด้วยยอดรายได้ 30% ของ 23 ล้าน บาท คือ เป้าหมายของพวกเขา