Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2546
3 แลก 1             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
www resources

Bizdimension Homepage
Foodmarketexchange Homepage
โฮมเพจ ทราฟฟิก คอร์เนอร์
www.ThaiFarmZone.com

   
search resources

บีส ไดเมนชั่น
ทราฟฟิกคอร์เนอร์ โฮลดิ้งส์, บมจ.
ยรรยง อัครจินดานนท์




หลังจากเปิดเกมรุกมาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว จากธุรกิจวิทยุ จัดคอนเสิร์ต ทำตลาดให้กับ นสพ.บางกอกทูเดย์ เจ้าของ ธุรกิจบันเทิงอย่างทราฟฟก คอร์นเนอร์ ก็เปิดเกมรุกอีกครั้ง

แม้จะย้ายออกมาจากบริษัทเอไอเอส ได้ไม่นาน แต่ยรรยง อัครจินดานนท์ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร ทราฟฟิก คอร์น เนอร์ โอลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ก็ปรับตัวได้เร็วมากว่า เขาควรจะต้องพูดกับใคร

คราวนี้ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ เลือกเอาห้องประชุมชั้น 11 ของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย เป็นสถานที่ใช้แถลงข่าวที่มาที่ไปของการลงทุนร่วมกับบีส ไดเมนชั่น เจ้าของธุรกิจตลาดกลางพาณิชย์อิเล็ก ทรอนิกส์

"จะได้มีเวลาอธิบายเพราะมีที่มา ที่ไปต้องชี้แจง และช่วงเช้าต้องพูดให้นักวิเคราะห์ฟังอยู่แล้ว" ยรรยงบอก

การจัดงานในครั้งนี้จึงดูเคร่งขรึม ผิดกับงานแถลงข่าวที่ผ่านๆ มาของทราฟฟิก คอร์นเนอร์ เพราะดีลในครั้งนี้มีผลในเรื่องของราคาหุ้น แทนที่จะพูดกับผู้สื่อข่าว เหมือนเคย ก็พูดให้นักวิเคราะห์ฟังก่อนเป็น ลำดับแรก หลังจากแจ้งตลาดหลักทรัพย์ไปก่อนหน้านี้

ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ เริ่มต้นจากธุรกิจวิทยุ คลื่นเพลงลูกทุ่ง ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลจากต่างประเทศ รายการ ข่าวภาพจัดแสดงคอนเสิร์ต ทำตลาดหนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ การรุกขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น จน ได้ชื่อว่าเป็นธุรกิจสื่อที่ร้อนแรงมากที่สุดในเวลานี้

การผนวกกิจการเข้ากับบีส ไดเมนชั่น ทั้งสองต่างมีฐานธุรกิจ มีที่มาที่ไปแตกต่างกัน ย่อมมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย

บีส ไดเมนชั่น ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2543 โดยบริษัทไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ เริ่มต้นจากการนำเทคโนโลยี web base มาช่วยจัดการ จากนั้นเริ่มมาสู่ธุรกิจ ตลาดกลางพาณิชย์ธุรกิจ มีการจัดตั้งเว็บไซต์ FoodMarketExchange.com และ ThaiFarmZone.com ครอบคลุมบริการ b to b ตั้งแต่ตลาดกลางซื้อขายสินค้าและ ทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต และการจัดซื้อ จัดจ้างด้วยวิธีการประมูลผ่านอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการเป็นที่ปรึกษาในการติดตั้ง eCommerce

"ดีลครั้งนี้ไม่ได้จ่ายเป็นเงิน แต่เป็น การตีมูลค่าจากบริษัทที่นำมารวมกิจการ" ยรรยงบอกถึงที่มาของการนำเอา 3 บริษัท ของทราฟฟิก คอร์นเนอร์ มาผนึกกิจการเข้ากับบีส ไดเมนชั่น 1 บริษัท

ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ นำ 3 บริษัท ในธุรกิจ new media คือ บริษัทบลิสเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ทำธุรกิจให้บริการข้อมูล ทางโทรศัพท์ บริษัท 108 1900 ทำธุรกิจออดิโอเท็กซ์ และบริษัทฐิรัตน์ ทำธุรกิจบัตร โทรศัพท์ระหว่างประเทศ มาแลกกับหุ้น บริษัทบีส ไดเมนชั่น เจ้าของธุรกิจตลาดกลางพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีไทย ยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ เป็นหุ้นส่วนใหญ่

ในทางธุรกิจทั้งสองจะร่วมกันจัดตั้ง บริษัท ฟิวเจอร์บีส ซึ่งเป็นบริษัทที่ถูกจัดตั้ง ขึ้นใหม่ โดยทราฟฟิก คอร์นเนอร์ ถือหุ้น 60% และบีส ไดเมนชั่นถือหุ้น 40% มีทุนจดทะเบียน 85 ล้านบาท จากนั้นฟิวเจอร์ บีส จะเข้าไปถือหุ้นใน 4 บริษัทของทราฟฟิก และบีส ไดเมนชั่นในสัดส่วนแห่งละไม่ต่ำกว่า 90%

ยรรยงเชื่อว่าดีลในครั้งนี้ ทราฟฟิกคอร์นเนอร์จะได้ประโยชน์หลายอย่าง ทั้ง ในแง่ อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และประสบการณ์จากทีมงานของบีส ไดเมนชั่น นำมาช่วยขยายธุรกิจ new media ของ ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ ไม่ว่าจะเป็น eTicket-ing ธุรกิจ smart card หรือ eProcurement

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการลดความ เสี่ยงทางธุรกิจและสร้างความมั่นคงให้กับ new media ของทราฟฟิก คอร์นเนอร์ ที่ล้วนแต่เป็นธุรกิจใหม่ที่เพิ่งบุกเบิกยังไม่ทำรายได้ ในขณะที่ตลาดกลางการค้าอิเล็ก ทรอนิกส์ของ บีส ไดเมนชั่น เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจริง ทำกิจการมาแล้ว 3 ปี ใช้เงิน ลงทุนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 100-200 ล้านบาท ปีที่แล้วทำรายได้ 31 ล้านบาท แต่สำหรับบีส ไดเมนชั่น เหตุผลสำคัญที่ทำให้ธีรพงศ์ จันศิริ เปิดทางให้พันธมิตรใหม่เข้ามาถือ หุ้น ย่อมไม่ใช่แค่เรื่องของประสบการณ์ด้านการตลาด หรือการมีสื่อในมือที่ช่วยเผยแพร่ความเข้าใจของ ลูกค้าต่อธุรกิจของบีส ไดเมนชั่นให้ดีขึ้น และความต้องการขยายธุรกิจไปที่ธุรกิจใหม่อย่างสื่อสารโทรคมนาคมอย่างเดียวแน่

เพราะแม้ว่าธุรกิจ new media ไม่ ว่าจะเป็นบริการออดิโอเท็กซ์ บริการข้อมูล สำหรับโทรศัพท์มือถือ และบริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ หรือ phone net จะไม่ต้องลงทุนมาเหมือนกับสัมปทานสื่อสารเกรดเอ แต่ธุรกิจเหล่านี้มีความเสี่ยง สูง ทั้งธุรกิจบริการข้อมูล และออดิโอเท็กซ์ ที่มีคู่แข่งจำนวนมาก

นอกจากนี้ประสบการณ์การตลาดของบีส ไดเมนชั่น เป็นคนละด้านกับธุรกิจ b to b ของทราฟฟิก คอร์นเนอร์ เพราะ ธุรกิจ b to b ไม่ได้อาศัยประสบการณ์การตลาดของทราฟฟิก คอร์นเนอร์ ไม่ได้เกื้อกูลต่อธุรกิจ b to b โดยตรงนัก

เหตุผลที่ลึกกว่านั้นคือ การรักษาภาพความเป็นกลางให้กับธุรกิจตลาดกลาง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของ บีส ไดเมนชั่นได้ลงทุนไปมากมายแล้ว การมีภาพของไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ ทาบทับอยู่ ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการแสวงหาลูกค้า ทั้ง ที่เป็นอุตสาหกรรมปลาทูน่าด้วยกันและที่เกี่ยวเนื่อง

"เป็นเรื่องที่เราต้องเจอปัญหามาตลอด" ธีรพงศ์บอก

การได้ทราฟฟิก คอร์นเนอร์เข้ามาถือหุ้น ธีรพงศ์เชื่อว่าจะช่วยให้ภาพความเป็นกลางเกิดขึ้นมาได้ เพราะหลังจากนี้ เก้าอี้ CEO ของธีรพงศ์ จะส่งต่อให้ยรรยง อัครจินดานนท์ เข้ามานั่งแทน ส่วนเขาไปเป็นกรรมการในบีส ไดเมนชั่น เพียงอย่างเดียว

นอกจากนี้ ประสบการณ์ของการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐของทราฟฟิก คอร์นเนอร์ น่าจะเกื้อกูลต่อธุรกิจ eProcurement ที่มีหน่วยงานรัฐเป็นลูกค้าเป้าหมายหลัก จากนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ ที่กำหนดให้ทุกหน่วยงานต้อง จัดซื้อผ่านระบบประมูลออนไลน์ หรือ eProcurement

แม้ว่าบีส ไดเมนชั่นจะเป็น 1 ใน 6 รายที่ถูกคัดเลือก แต่ก็ต้องมาแข่งกับ 6 รายในนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พันธวณิชของเครือซี.พี. ก็เป็นคู่แข่งสำคัญ ทำให้เขา ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขัน

สำหรับทราฟฟิก คอร์นเนอร์ แม้จะ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบการแนวใหม่ ที่เรียก ตัวเองว่า marketing แนวใหม่ก็ตาม แต่ดู เหมือนว่า พวกเขาจะใช้ยุทธศาสตร์ทางธุรกิจแบบดั้งเดิมแสวงหา "พันธมิตร" สร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจอย่างเห็นผล

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us