|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สสว. คาดการณ์สถานการส่งออกภาคSMEs ไทยปี 2550 ลดลงจากปี 2549 ที่ขยายตัว 11.3 เพียง 11% ผลพ่วงจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นและภาวการณ์แข่งขันของประเทศคู่แข่งที่รุนแรงมากขึ้น พร้อมเตือนภัยSMEsรายสาขาทั้งที่โดดเด่นและต้องระมัดระวัง
นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กล่าวถึงสถานการณ์การส่งออกของSMEs ไทยในปี 2550ว่า จากการคาดการณ์การส่งออกของSMEs ไทยในปี 2550 น่าจะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 11.03% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,624,979 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ที่มีการขยายตัวประมาณ 11.3% ผลกระทบมาจากสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการแข็งค่าของเงินบาทไทยมากกว่า 10% เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง อย่าง ประเทศจีนที่มีการแข็งค่าของเงินเพียง 3-5 % เท่านั้น และประกอบกับการแข่งขันที่รุนแรง โดยประเทศคู่แข่งของเราต่างๆดึงกลยุทธ์ต่างๆ ออกมาเพื่อผลักดันการส่งออกให้มากขึ้น
ทั้งนี้ ทางสสว.ยังได้มีการคาดการณ์อุตสาหกรรมSMEsที่มีขยายตัวที่โดดเด่นในปี 2550 ประกอบด้วย ธุรกิจแม่พิมพ์ มีการขยายตัวประมาณ 60% มีมูลค่าประมาณ 5 พันล้านบาท ธุรกิจยานยนต์มีการขยายตัวประมาณ 27% ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ SMEs ยังสามารถแทรกตัวเข้าไปได้ และมีมูลค่าตลาดสุงถึง 8 หมื่น 3 พันล้านบาท และยังมีอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ขยายตัว22% อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ ขยายตัว 16.9% เคมีภัณฑ์ ขยายตัว 19.7% ปศุสัตว์ 18.3% กลุ่มอาหารอบ ขยายตัว20% และอาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัว 18%
ส่วนธุรกิจที่ต้องระมัดระวังและเตือนภัยในกลุ่มSMEs ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีการขยายตัวลดลง ประกอบด้วย กลุ่มอิเลกทรอนิกส์ ขยายตัวลดลงเหลือประมาณ 11% อัญมณี ลดลงเหลือประมาณ 10.7% เม็ดพลาสติก การขยายตัวลดลงเหลือประมาณ 22.5% เวชภัณฑ์ สบู่ เครื่องสำอางสมุนไพร จะมีการขยายตัวด้านการส่งออกลดลงเหลือประมาณ 7.6% สาเหตุมาจากแต่ละประเทศหันมาผลิตสินค้าจำหน่ายเองภายในประเทศ และมีการย้ายฐานการผลิตสบู่ของบริษัทผู้ผลิตขนาดใหญ่ ไปยังประเทศคู่ค้าของเรา อย่าง ประเทศ พม่า ลาว กัมพูชา ทำให้การขยายตัวในกลุ่มนี้ลดลง
นอกจากนี้ มีกลุ่มที่มีการคาดการณ์ว่าในปี 2550 จะมีการขยายตัวลดลงประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มยาง มีการขยายตัวประมาณ 12.9% ลดลงจากเดิมที่มีการขยายตัวประมาณ 40% สาเหตุมาจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นทำให้ราคายางสูงขึ้น หลายประเทศหันไปซื้อยางจากประเทศที่ราคาถูกกว่า หรือ กลุ่มข้าว มีการขยายตัวประมาณ 9.3% ลดลงเช่นกันสาเหตุมาจากเรื่องของประเทศคู่แข่งเวียดนามมีการส่งออกข้าวมากขึ้น และเรื่องคุณภาพของข้าว หรือ ในกลุ่มประมงค์ที่มีการขยายตัวลดลงเช่นกัน
|
|
|
|
|