Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน31 มกราคม 2550
กฏ30%-บึ้มกทม.พ่นพิษเอ็นเอวีกองทุนหุ้นลดวูบ             
 


   
www resources

โฮมเพจ เอ็มเอฟซี, บลจ.

   
search resources

เอ็มเอฟซี, บลจ.
Funds




รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) (MFC) เปิดเผยว่า บริษัทได้แจ้งไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวมเอ็มเอฟซีสปอทสี่ (SPOT4) เพื่อขอแก้ไขโครงการกองทุนจากกองทุนปิดเป็นกองทุนเปิด ซึ่งสาเหตุที่ต้องขอแก้ไขโครงการดังกล่าว เนื่องจากเหตุการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจในประเทศในช่วงปลายปีที่ผ่านมามีการพลิกผัน ทั้งการประกาศมาตรการป้องกกันการเก็งกำไรค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 และเหตุการณ์ลอบวางระเบิด 8 จุดในกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2549 จนส่งผลให้ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้ปรับตัวลดงลงอย่างคาดไม่ถึงจาก 730.55 จุด ณ วันที่ 18 ธันวาคม 2549 เป็น 622.27 จุด ณ วันที่ 10 มกราคม 2550 ซึ่งเป็นการปรับลดลงกว่าร้อยละ 14 ภายในเวลาเพียง 3 สัปดาห์

ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ดังกล่าวกองทุนรวมเอ็มเอฟซีสปอทสี่ ได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงเวลาดังกล่าวเช่นกัน ถึงแม้ว่าผู้จัดการกองทุนได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการรักษามูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนไว้ โดยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยของกองทุนได้ปรับลดลงจาก 11.1775 บาท ณ วันที่ 18 ธันวาคม 2549 มาอยู่ที่ 9.663 บาท ณ วันที่ 10 มกราคม 2550 หรือลดลงกว่าร้อยละ 13

โดยบริษัทจึงมีความเห็นว่า การปิดกองทุนตามที่กำหนดไว้ตามรายละเอียดโครงการคือในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550 จะมีผลให้กองทุนต้องเร่งจำหน่ายหลักทรัพย์ที่กองทุนถือครองในภาวะตลาดที่ผิดปกติอย่างมาก ซึ่งจะมีผลสืบเนื่องทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียประโยชน์อย่างมากจากมูลค่าหลักทรัพย์ที่ลดลงเกินกว่าที่ควรเมื่อเปรียบเทียบกับการจำหน่ายหลักทรัพย์ให้สภาวะตลาดปกติ

ดังนั้น บริษัทจึงเสนอให้มีการแก้ไขรายละเอียดโครงการของกองทุน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น โดยการปรับเปลี่ยนสภาพของกองทุนรวมเอ็มเอฟซีสปอทสี่ จากกองทุนปิดเป็นกองทุนเปิด เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งเห็นว่าควรจะรักษามูลค่าของกองทุนไว้ก่อนโดยไม่ต้องเร่งจำหน่ายหลักทรัพย์เพื่อปิดกองทุนสามารถคงสภาพการถือครองหน่วยลงทุนต่อไป ในขณะที่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีความประสงค์จะไถ่ถอนหน่วยลงทุนก็สามารถกระทำได้

สำหรับกองทุนรวมเอ็มเอฟซีสปอทสี่ มีนโยบายลงทุนในตราสารแห่งทุนเพื่อผลตอบแทนการลงทุนที่ดี จัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547 มีอายุโครงการ 3 ปี โดยจะครบกำหนดอายุกองทุนในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งกองทุนดังกล่าวมีเงื่อนไขพิเศษ คือ มูลค่าหน่วยลงทุนหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 127.50 ของมูลค่าที่ตราไว้ (10 บาท) เป็นเวลา 5 วันทำการติดต่อกัน และมูลค่าหน่วยลงทุนที่ต้องคืนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 125 ของมูลค่าที่ตราไว้ แล้วแต่เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อน

บลจ.กสิกรไทยปิดกองทุนRKBDCหลังมูลค่าเอ็นเอวีต่ำกว่า50ล้านบ.

รายงานข่าวของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า กองทุนเปิดรวงข้าวดุลทรัพย์ปันผล (RKBDC) ประกาศหยุดรับคำสั่งซื้อขายคืนหน่วยลงทุน เนื่องจากกองทุนดังกล่าวมีมูลค่าหน่วยลงทุนลดลงต่ำกว่า 50 ล้านบาท ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน โดยมีผลให้ต้องเลิกกองทุนตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา

นายนคร ตามไท ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า สาเหตุของการปิดกองทุนเปิดรวงข้าวดุลทรัพย์ปันผล เนื่องจากกองทุนมีขนาดเล็ก และมีนักลงทุนบางส่วนได้ทำการขายคืนกองทุนดังกล่าวออกไปจำนวน 1-2 ราย ทำให้มีจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนมีจำนวนต่ำกว่า 35 ราย ซึ่งตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดไว้ ต้องยกเลิกกองทุนทันที

ทั้งนี้ ทางบริษัทจะชำระคืนหน่วยลงทุนให้กับนักลงทุนภายใน 10 วัน หลังจากที่ได้แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบแล้วในวันที่ 24 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ บลจ. กสิกรไทย ยังมีกองทุนที่มีความใกล้เคียงกับกับกองทุนเปิดรวงข้าวดุลทรัพย์ปันผล (RKBDC) เช่น กองทุนเปิดรวงข้าวดุลทรัพย์ หรือกองทุนเปิดรวงข้าวทุนวิภาค สำหรับนักลงทุนรายใดที่ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนกับทางบริษัท

ส่วนผลการดำเนินงานย้อนหลัง ณ วันที่ 19 มกราคม 2550 ย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ -5.40% ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ -0.57% และย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ -3.40% ส่วนมูลค่าหน่วยลงทุน 10.12 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวจดทะเบียนเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2539 ด้วยทุนจดทะเบียนของโครงการ 5,000 ล้านบาท

กองทุนเปิดรวงข้าวดุลทรัพย์ปันผล (RKBDC) สัดส่วนการลงทุนคิดเป็นเปอร์เซ็นของมูลค่ามูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2549 ประกอบด้วย 1. หุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน 12.00% 2. หุ้นทุนอื่นๆ 14.66% 3. ธนาคาร 14.92% 4. พันธบัตรหรือตราสารหนี้ รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังค้ำประกัน 19.14% 5. พลังงาน 19.64% 6. วัสดุก่อสร้างและตกแต่ง 4.74% 7. พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 6.51% และ 8. เงินฝาก บัตรเงินฝาก หุ้นกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงินของ หรือรับรอง รับอาวัลโดยสถาบันการเงิน และอื่นๆ 8.35%

สำหรับกองทุนเปิดรวงข้าวดุลทรัพย์ปันผล (RKBDC) เป็นกองทุนรวมผสม ประเภทรับซื้อหน่วยลงทุน ซึ่งไม่กำหนดอายุโครงการ โดยเน้นลงทุนในตราสารแห่งทุน ตราสารแห่งหนี้ และหรือเงินฝาก ทั้งนี้ กองทุนจะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนในขณะใดขณะหนึ่งไม่เกินร้อยละ 65 และไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการผลตอบแทนที่สม่ำเสมอในระยะปานกลางถึงระยะยาวภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม

ทั้งนี้ นโยบายการจ่ายเงินปันผลของกองทุนดังกล่าวไม่เกินปีละ 2 ครั้ง ในอัตราไม่น้อยกว่า 90% ของการเพิ่มขึ้นในสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงานประจำแต่ละงวดบัญชี ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าวไม่รวมถึงรายการกำไรหรือขาดทุนสุทธิจากเงินลงทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น (Unrealized Gain) ทั้งนี้ อัตราเงินปันผลที่จะจ่ายเมื่อคำนวณเป็นจำนวนเงินปันผลแล้วจะต้องไม่เกินการเพิ่มขึ้นในสินทรัพย์สุทธิ จากการดำเนินงานประจำงวดบัญชีที่จ่ายเงินปันผลนั้น และบริษัทจัดการอาจพิจารณาจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสมส่วนที่ไม่รวมกำไรหรือขาดทุนสุทธิจากเงินลงทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น (Unrealized Gain) ของกองทุนได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us