Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2546
Supply chain management             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

ปริญญา ใต้ธงชัย โมเดลของการเรียนรู้
มาร์ก จอห์น ฮอลโลเวย์ Mr.supply chain

   
search resources

สตาร์ปริ๊นท์
ปริญญา ใต้ธงชัย




สภาพภายนอกของโรงงานแห่งนี้ไม่แตกต่างไปจาก โรงงานขนาดกลางทั่วไปที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเดียวกัน รถยกของกำลังขะมักเขม้นอยู่กับการลำเลียงกล่องกระดาษ ที่บรรจุผงซักฟอก ยาสีฟัน นำไปส่งให้กับลูกค้าอย่างยูนิลีเวอร์ คอลเกตฯ ตามคำสั่งซื้อ เพื่อนำวัตถุดิบเหล่านี้ไปผลิตสินค้าอีกต่อหนึ่ง

ใครจะรู้ว่า การดำเนินงาน เหล่านี้อยู่ภายใต้ระบบ supply chain management ที่โรงงานของไทยแห่งนี้ได้นำมาใช้งานแล้วอย่างเห็น ผล กว่าจะเป็นระบบดังกล่าวที่สามารถลดเวลา และต้นทุนสต็อกสินค้าของพวกเขาต้องผ่านการลองผิด ลองถูกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 4 ปีเต็ม โรงงานขนาดกลางแห่งนี้ ได้ ริเริ่มนำเอาระบบ supply chain management มาใช้ในการผลิตวัตถุดิบให้กับลูกค้าที่เป็นโรงงานผลิต มาตั้งแต่ปี 2542 ถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงงานผลิตที่มีเจ้าของเป็นคนไทย

แม้ว่าระบบ supply chain management จะมีการนำมาใช้แล้ว ก่อนหน้านี้ แต่ยังจำกัดอยู่เฉพาะระหว่างโรงงานผลิตกับศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติที่มีประสบการณ์ในเรื่องเหล่านี้มาอย่างดี เช่น ยูนิลีเวอร์ทำกับห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี หรือท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต

กระบวนการทำงานของระบบ supply chain management ที่สมบูรณ์แบบนั้นไม่ได้ทำจุดใดจุดหนึ่ง แต่ต้องเริ่มตั้งแต่ระหว่างโรงงานวัตถุดิบกับโรงงานผลิต ที่ต้องเชื่อมโยงกับ distribution center และต่อเนื่องไปถึงร้านค้าปลีก และไปถึงผู้บริโภค

"ที่ผ่านมาการทำ supply chain management มักจะเป็นคู่ของโรงงานผลิตกับ distribution center เท่านั้น ในระดับที่เป็น upstream อย่างผู้ผลิตวัตถุดิบกับโรงงานผลิตยังไม่มี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทคนไทย" ปริญญา ใต้ธงชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัทสตาร์ปริ๊นท์ จำกัด บอกกับ "ผู้จัดการ"

บริษัทสตาร์ปริ๊นท์เหมือนกับบริษัท ผู้ผลิตวัตถุดิบของไทยอีกหลายราย ที่ได้รับแรงกดดันให้ต้องยืดหยุ่น และรับมือกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา ลดขั้นตอน และลดต้นทุนการผลิต คือโจทย์สำคัญของเขา และนั่นก็คือที่มาของระบบ supply chain management ที่ต้องนำมาใช้อย่างเห็นผล

"สาเหตุก็เพราะต้องการลดต้นทุนคลังสินค้า และระยะเวลาในการผลิตและส่งของให้เหลือน้อยลง" เหตุผลที่ปริญญา บอกถึงการเริ่มต้นความคิดของเขาเมื่อ 4 ปี ที่แล้ว

ด้วยสาเหตุเหล่านี้บวกกับการเข้าร่วมเป็นกรรมการในสมาคม ECR Thailand ที่ปริญญาเป็นกรรมการ ต้องการผลักดันให้มีกรณีศึกษาของการนำระบบ supply chain management มาใช้กับผู้ผลิตวัตถุดิบกับโรงงานผลิต

pilot project แรกระหว่างบริษัท สตาร์ปริ๊นท์ ร่วมกับยูนิลีเวอร์ ก็เริ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2542

ทีมงานถูกจัดทำขึ้นในลักษณะของ Project Team มีปริญญา และมาร์ค จอห์น ฮอลโลเวย์ กรรมการอำนวยการฝ่าย Supply Chain บริษัทยูนิลีเวอร์ เป็นแกนนำของแต่ละฝั่ง ทีมงานเหล่านี้จะต้องเข้าอบรมโครงการ Project Management ที่ยูนิลีเวอร์จัดทำขึ้น

ทั้งสองไม่ได้ทำโดยลำพัง แต่จ้างบริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เป็นที่ปรึกษาเพื่อสร้าง model ขึ้นมา หวังว่าประสบการณ์และความรู้ของบริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ จะการันตีความเชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่ง

วัตถุดิบประเภทกล่องกระดาษ บรรจุภัณฑ์ ที่สตาร์ปริ๊นท์ ผลิตป้อนให้กับยูนิลีเวอร์นั้นมีอยู่มากมายหลาย ชนิด พวกเขาเริ่มทดลองนำมาใช้จาก สินค้าตัวเดียวก่อน จากนั้นจึงขยายต่อไปยังสินค้าตัวอื่นๆ

"เราเริ่มจากสินค้าตัวเดียวก่อน และเริ่มจากจำนวนน้อยๆ ก่อน ถ้าเกิดโมเดลที่เราสร้างขึ้นมาไม่ได้ผลจะได้ไม่เสียหายมาก"

ภายใต้กระบวนการสร้างSupply chain management ปัจจัยสำคัญที่สุดอยู่ที่การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ข้อมูลการผลิต ระหว่างยูนิลีเวอร์ และสตาร์ปริ๊นท์ ที่ต้องทำอย่างเปิดเผย และทันทีทันใด (เรียลไทม์)

"เป็นขั้นตอนของ business process เราต้องมาดูว่า มีอะไรที่ร่วมกันได้ บ้าง และมาปรับเปลี่ยน project เข้าหากัน เพื่อให้ง่ายขึ้น ประหยัดขึ้น มีประสิทธิภาพ มากขึ้น สื่อสารน้อยลง"

ประสบการณ์และ know-how ของยูนิลีเวอร์ ที่นำระบบ Supply chain management มาใช้อย่างจริงจังในช่วงหลายปีมานี้ นับว่ามีส่วนสำคัญอย่างมาก ไม่เพียงยูนิลีเวอร์ จัดตั้งแผนก Supply chain management ขึ้นมา และลงมือทำ อย่างจริงจังกับใช้ Distribution Center รายใหญ่แล้ว ยังอยู่ระหว่างขยายผลใช้กับร้านค้าปลีกต่างๆ

ระบบไอทีที่เข้ามาสนับสนุน อย่าง SMI (Supplier Manage Inventory) เป็นระบบข้อมูลสต็อกสินค้าออนไลน์ที่ยูนิลีเวอร์ ทำขึ้นเพื่อใช้สื่อสารข้อมูลแผนการผลิตออนไลน์ระหว่างยูนิลีเวอร์และซัปพลายเออร์

ภายใต้ระบบ SMI แทนที่ยูนิลีเวอร์จะแฟกซ์ หรือโทรศัพท์สั่งซื้อวัตถุดิบเหมือน เดิม เปลี่ยนมาใช้ระบบออนไลน์ข้อมูลผ่าน อินเทอร์เน็ต ข้อมูลสต็อกสินค้าของยูนิ ลีเวอร์ที่ถูกนำขึ้นระบบออนไลน์ที่สตาร์ ปริ๊นท์ สามารถเข้าไปดูได้ตลอดเวลา นั่นหมายความว่า แทนที่จะต้องรอแฟกซ์ หรือโทรศัพท์ ผู้ผลิตวัตถุดิบอย่างสตาร์ปริ๊นท์ รู้ได้ว่าพวกเขาจะต้องวางแผนเครื่องจักรผลิต วัตถุดิบสินค้าใดก่อนหลังจากข้อมูลสต็อกสินค้าเรียลไทม์บนหน้าเว็บของยูนิลีเวอร์

"ทุกอย่างถูกทำบน web หน้าที่ของเราคือ log in เข้าไปดูข้อมูล สต็อกของ ยูนิลีเวอร์เหลือเท่าไร ถ้าลดมาถึงตัวเลขที่กำหนดไว้ เราก็จัดของส่งไปให้เขา เราเอง ก็รู้ได้ว่า ถึงเวลาไหนที่เราต้องผลิตเท่าไร เขาเองจะได้เอาเวลา เอาทรัพยากร เอาคน ไปทำอย่างอื่น"

ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ ก็คือ แผนการผลิตล่วงหน้าเป็นอีกส่วนหนึ่ง ที่ต้องออนไลน์แบบเรียลไทม์ เพื่อการจัด เตรียมผลิตวัตถุดิบให้สอดคล้องกับแผน การผลิตของยูนิลีเวอร์ อันเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการบริหารการผลิตที่ได้จากระบบ supply chain management

"เมื่อก่อนยูนิลีเวอร์ต้องโทรมาบอกว่า จะเปลี่ยนแผนการผลิตแล้ว เวลานี้ไม่ต้อง เราไปดูข้อมูลได้จากหน้าจอพีซี ยูนิ ลีเวอร์เองจะ update ข้อมูล เช้า บ่าย เขาจะผลิตเท่าไร เรามาคำนวณว่าเราจะผลิตเท่าไร ส่งสินค้าเท่าไร

ผลที่ได้รับก็คือ จากระยะเวลาผลิตวัตถุดิบจนถึงส่งให้กับยูนิลีเวอร์ (lead time) ที่ต้องใช้เวลา 2 อาทิตย์ ลดลงเหลือ 5 วันและต้นทุนของคลังสินค้าลดลง 41% คือบทพิสูจน์

"ถ้าคิดเป็นเงิน 50-60 ล้านบาท แค่สินค้าตัวเดียว คิดดูว่ามีสินค้า 50 ชนิด จะเป็นเงินเท่าไร" ปริญญาบอกถึงผลที่ได้รับในครั้งนั้น "ในแง่ธุรกิจแล้วมันเป็น win-win ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นต้องมาแบ่ง 50:50 ผลที่ตามมาคือสัมพันธภาพระหว่าง เรากับยูนิลีเวอร์"

ปริญญาเชื่อว่า กุญแจความสำเร็จคือการสื่อสารและข้อมูลที่ติดต่อระหว่างกันต้องเรียลไทม์ "ตอนที่เราเริ่มทำยังเป็น การส่งอีเมล แต่หลังจากนั้นเมื่อทุกอย่างอยู่ บนเว็บไซต์ ซึ่งการจะทำอย่างนี้ได้แสดงว่า ทั้งสองต้องพร้อม"

แน่นอนว่า สตาร์ปริ๊นท์ไม่ใช่ผู้ผลิตเพียงรายเดียวในตลาดนี้ ธุรกิจต้นน้ำอย่าง พวกเขาจำเป็นที่จะต้องสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่ง และเครือข่ายความสัมพันธ์ สิ่งที่จะสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวระหว่างผู้ผลิตวัตถุดิบกับโรงงานผลิต

ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น ไม่เพียงแต่สตาร์ ปริ๊นท์จะนำไปใช้จนครบทุกสินค้าที่ผลิตป้อนให้กับยูนิลีเวอร์ สตาร์ปริ๊นท์ยังขยายผล นำโมเดลที่ได้รับจากระบบ supply chain management ไปใช้กับโรงงานผลิตอื่นๆ คือ คอลเกตปาล์มโอลีฟ และยังถูกนำไปใช้ เป็น Model ทดลองทำร่วมกับบริษัทโฟรโมสต์และเบอร์ลี่ยุคเกอร์ ในฐานะ โรงงานผลิต ทำร่วมกับผู้ผลิตวัตถุดิบรายย่อย โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

จนถึงวันนี้ ไม่ว่าบริษัทผู้ผลิตรายย่อยเหล่านี้ รับเอาระบบเหล่านี้ไปใช้หรือไม่ก็ตาม แต่สำหรับสตาร์ปริ๊นท์ พวกเขายังต้องเดินหน้าต่อไป พัฒนาการต่อเนื่องของเขา ก็คือ การสร้างมาตรฐานที่เป็นจริง และเป็นสากล ด้วยการนำดัชนีชี้วัด (key performance indicator) มาใช้วัดผลสำเร็จภายหลังจากนำเอาระบบ supply chain management มาใช้

"เราต้องการรู้ว่าประสิทธิภาพของ องค์กรแย่ลงหรือดีขึ้น เหมือนกับที่ซัปพลาย เออร์มองเรา เช่นว่า เราส่งของให้ลูกค้า เราต้องวัดอะไรบ้าง นี่คือสิ่งที่เราต้องทำต่อ เนื่อง" สงกรานต์ สืบวิสัย ผู้อำนวยการ supply chain คนแรกของบริษัทสตาร์ ปริ๊นท์กล่าว

ความต่อเนื่องและประสบการณ์อันยาวนานในการอยู่ร่วมกับยูนิลีเวอร์ของ สงกรานต์ คือส่วนหนึ่งของความพยายาม ในการปรับโครงสร้างองค์กรด้วยการนำเอามืออาชีพเข้ามาเสริมการทำงาน เพื่อเข้าสู่มาตรฐานสากลที่เป็นจริง

ไม่ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นจริงในโลก ธุรกิจหรือไม่ก็ตาม แต่การใช้เป็นเครื่องมือ ในการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจที่มีข้อมูล ที่ต้องทำอย่างเห็นผลแล้ว อินเทอร์เน็ตทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นจริง

เครือข่าย supply chain manage-ment ระหว่างยูนิลีเวอร์ และสตาร์ปริ๊นท์ คือ บทพิสูจน์ที่ว่านี้

"สิ่งที่ได้จากการทำธุรกิจยูนิลีเวอร์ คือ Business relationship ที่เราให้ได้มากกว่าอุตสาหกรรมการพิมพ์อื่นจะให้ได้" คำทิ้งท้ายของเขา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us