Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550
American Connection             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 

   
related stories

สังคมไทย (1855-1976)




ขอขยายความข้อเขียนคราวที่แล้ว โดยเน้นในช่วงสงครามเวียดนาม (2507-2518) แม้ว่าไม่ใช่ครั้งแรกที่เสนอแนวคิด แต่เห็นว่าควรเพิ่มมิติการมองให้กว้างขึ้นอีก

เริ่มต้นอย่างจริงจังของอิทธิพลสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้รวมทั้งประเทศไทย สาระหลักเรื่องการเมืองและการทหาร ต้องยอมรับว่า กระแสประชาธิปไตยที่เบ่งบานในสังคมไทยช่วงนั้นย่อมได้รับจากอิทธิพลในช่วงสังคมอเมริกันเคลื่อนไหวต่อต้านสงครามเวียดนามอย่างกว้างขวาง

สำหรับการทหาร ซึ่งไม่ใคร่จะมีใครพูดถึงนักก็คือ ในรูปของการช่วยเหลือให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางการเงิน ว่ากันว่า กองทัพไทยได้เรียนรู้การบริหารงบราชการลับ เงินช่วยเหลือจากกองทัพสหรัฐฯ ในรูปต่างๆ แม้กระทั่งการให้ตอบแทนสำหรับกองกำลังช่วยรบในระดับภูมิภาคได้อย่างดี ต้องยอมรับว่ากองทัพไทยในช่วงนั้นมีอิทธิพลต่อสังคมมากทีเดียว ซึ่งดูเหมือนจะลดลงและค่อยๆ แยกตัวออกจากสังคมไทย ธุรกิจไทยที่กำลังเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังสงครามเวียดนาม

ที่สำคัญที่สุดที่ควรกล่าวนั้นคือ การปรับโครงสร้างสังคม และนโยบายเศรษฐกิจ รวมถึงอิทธิพลทางเศรษฐกิจและธุรกิจด้วย

ธุรกิจสหรัฐฯ ขยายการลงทุนมาในประเทศไทย โดยเฉพาะกิจการด้าน Consumer Product ซึ่งสะท้อนอิทธิพลสหรัฐฯ กำลังลงลึกถึงวิถีชีวิตและรสนิยมของคนไทย ตั้งแต่ตอนนั้นจนฝังลึกในสังคมตลอดมา

"การลงทุนของธุรกิจสหรัฐฯ" Consumer products

2499 Pepsi 2500 Coca-Cola
2501 Colgate-Palmolive
2511 McDonald, Kodak, Avon
2512 American Standard
2513 Johnson & Johnson, CPC
2515 Levi Strauss

อิทธิพลที่ทรงพลังของสหรัฐฯ คือเงินในรูปการช่วยเหลือการลงทุน หากค้นลงลึกไปจะพบบทบาทธนาคารหรือสถาบันการเงินของสหรัฐฯ หรือสถาบันที่สหรัฐฯ มีอิทธิพลเข้ามามีบทบาทในประเทศทั้งเปิดเผยและอย่างเงียบๆ ทั้งมาลงหลักปักฐานในประเทศไทย หรือมาในลักษณะเป็นโครงการ

EXIM Bank ของสหรัฐฯ ตั้งขึ้นมาในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 เพื่อให้สินเชื่อสำหรับผู้ซื้อสินค้าของสหรัฐฯ เป็นกุศโลบายสำคัญที่เป็นโมเดลที่ทำกันต่อๆ มา โครงการสำคัญที่ธนาคารแห่งนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย ก็คือโครงการอุตสาหกรรมผลิตกระดาษคราฟท์ ซึ่งทั้งกระทรวงการคลังและสภาพัฒน์ฯ สนับสนุน แต่โครงการนี้มีปัญหามากจนเอาตัวไม่รอด ในที่สุดเครือซิเมนต์ไทยต้องเข้าไปบริหารแก้ปัญหากิจการ

IFC เป็นหน่วยงานหนึ่งของธนาคารโลก ซึ่งสหรัฐฯ มีอิทธิพลไม่น้อย หน่วยงานนี้สนับสนุนการเงินสำหรับเอกชนทั่วโลก รวมทั้งเข้าถือหุ้นกิจการด้วย IFC ให้เงินกู้ปูนซิเมนต์ไทยและเข้าถือหุ้นถือเป็นการพลิกโฉมหน้าของเครือซิเมนต์ไทย ให้มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น

ส่วนสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่เข้าลงทุนในบ้านเราที่น่าสนใจก็คือ Banker Trust และ Chase Manhattan เข้ามาลงทุนโดยตรง

Financial services

2508 EXIM Bank (Siam Kraft)
2512 IFC (Siam Cement)
2512 Banker Trust (TISCO)
2514 Chase Manhattan (CMIC)

MBA

คำอรรถาธิบายในมิติที่กว้างขึ้นกว่าในอดีตที่ว่าด้วยอิทธิพลสหรัฐฯ ในประเทศไทย ซึ่งต่อเนื่องจากคำอธิบายที่ว่าด้วยการลงทุน การเข้ามาของสินค้าไลฟ์สไตล์อเมริกัน จนถึงความรู้ที่คนไทยนิยมไปเรียนสหรัฐฯ มากขึ้น หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองนั้นที่สำคัญมากประการหนึ่งคือ ความรู้ด้านบริหารธุรกิจสมัยใหม่แบบอเมริกัน ซึ่งเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นในโลกในตอนนั้นนั่นคือ MBA

การมาของ MBA ครั้งสำคัญในเมืองไทยเข้ามาอยู่ในใจกลางสังคมธุรกิจไทยเสียด้วย สังคมการเงินซึ่งวางรากฐานเป็นสังคมวงในมีความมั่นคงและยิ่งใหญ่ในยุคที่ธนาคารไทยมั่นคง ทั้งมาจากธุรกิจครอบครัวตระกูลสำคัญของสังคมไทย และนโยบายรัฐที่คุ้มครองธุรกิจธนาคารด้วย จากนั้นถือเป็นยุคของความผันแปรทางการเงินของโลกเข้ามากระทบเมืองไทยโดยตรงมากขึ้นด้วย แต่ธนาคารไทยก็ยังมั่นคง

อิทธิพลของ MBA ขยายวงในหลายมิติ แม้ว่า MBA จะเปิดสอนในเมืองไทยที่ NIDA ด้วยความช่วยเหลือของสหรัฐฯ (ผ่าน Ford Foundation และมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ) มานาน แต่กว่าจะเกิดกระแสวงกว้าง ก็มาจาก MBA สหรัฐฯ ที่มีบทบาทในสังคมธุรกิจมากและแสดงฝีมือให้ประจักษ์

ยิ่งเมื่อธุรกิจเอกชนต้องการพัฒนาคนเพื่อตอบสนองการขยายตัว MBA ก็กลายเป็นสูตรสำเร็จ ด้วยการเริ่มต้นของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งมีผู้นำอย่างบัญชา ล่ำซำ ผู้ได้ชื่อว่าเป็น American Connection คนสำคัญ ด้วยโครงการให้ทุนการศึกษา MBA อย่างเป็นจริงเป็นจังครั้งแรกในประเทศไทย จากนั้นก็มาเครือซิเมนต์ไทย ซึ่งตอนนั้นมี MBA เพียงคนเดียวที่มีบทบาทสำคัญในบริษัทก็เริ่มโครงการด้วย โครงการนักเรียน MBA ของเครือซิเมนต์ไทยได้สร้างบุคลิกเฉพาะในเวลาต่อมา

การศึกษา MBA ในประเทศไทย

2509 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
2525 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2530 สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การมาของผู้จบ MBA จากสหรัฐฯ รุ่นสำคัญ

2512 ชุมพล ณ ลำเลียง (ปีที่จบการศึกษา 2510)
2513 ศิวะพร ทรรทรานนท์ (2513)
2514 ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ (2513), ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล (2513),
เอกกมล คีรีวัฒน์ (2514)

ต้องยอมรับว่าความจริงการเรียนรู้ การปรับตัวของผู้นำในวงการ ธุรกิจที่มีโมเดลข้างต้น มีส่วนสำคัญในการพัฒนาธุรกิจไทยอย่างไม่ต่อเนื่อง มากนัก แต่สังคมธุรกิจไทยก็ยังดำเนินต่อมาและแก้ปัญหาตัวเองได้ในช่วง อย่างน้อย 3 ทศวรรษ

เรื่องท้าทายที่สุดวันนี้ก็คือ ดูเหมือนสังคมไทยจะถอยหลังไปมากทีเดียว เหมือนยุค MBA เริ่มต้นในเมืองไทย ผู้นำวงการธุรกิจยุคสมัยเหล่านี้จะทำอย่างไร

หมายเหตุ ข้อเขียนชิ้นนี้สาระหลักเรียบเรียงมาจากหนังสือ ชุมพล ณ ลำเลียง "ผมเป็นเพียงลูกจ้าง" ของผู้เขียนเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us