Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550
Setsubun             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 





เสียงตะเบ็ง "ปีศาจ...ออกไป!" ในเทศกาล Setsubun เป็นสัญลักษณ์การขับไล่ปีศาจอันเป็นตัวแทนความชั่วร้ายหรือโชคร้าย และตามมาด้วยเสียงตะโกน "โชคดีจงเข้ามา" ที่ดังขึ้นในต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีนั้นเปรียบประหนึ่งสัญญาณของ season change นัยให้ทราบถึงความอบอุ่นของฤดูใบไม้ผลิที่กำลังจะมาเยือนอีกครั้ง

ถึงแม้ในสมัยโบราณคนญี่ปุ่นจะนับเดือนวันด้วยปฏิทินทางจันทรคติแต่การนับฤดูกาลนั้นใช้การสังเกตตำแหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์ในรอบปี ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 24 solar terms ตามเส้นทางการโคจรและระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ซึ่งจะส่งผลให้ความสั้นยาวของช่วงกลางคืน-กลางวัน มีความต่างกันในแต่ละฤดู

คำว่า Setsubun ประกอบด้วย 2 คำคือ Setsu มีรากศัพท์มาจาก kisetsu แปลว่าฤดูกาล กับคำว่า Bun มีรากศัพท์มาจากคำกริยา wakeru ซึ่งแปลว่าแบ่ง, แยก ดังนั้นเมื่อสองคำนี้มารวมกัน Setsubun หมายถึงการแบ่งฤดูกาลออกเป็น 4 ฤดู อันได้แก่ฤดูใบไม้ผลิ (Risshun), ฤดูร้อน (Rikka), ฤดู ใบไม้ร่วง (Risshu) และฤดูหนาว (Ritto)

โดยทางปฏิบัติแล้ว Setsubun ในอดีตจะจัดงานกันในวันก่อนเริ่มเข้าฤดูกาลใหม่ครบทั้ง 4 ฤดู แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป การให้ความสำคัญกับประเพณีการฉลองฤดูอื่นลดน้อยลงจนในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึง Setsubun จะหมายถึงประเพณีฉลองในวันก่อนเข้าฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น

ซึ่งนั่นหมายความว่าหลังวัน Setsubun ผ่านไปแล้วความหนาวเหน็บจะค่อยๆ ลดลงในขณะที่ดอกไม้ใบหญ้าจะเริ่มผลิดอกออกใบตามมา แต่ปัจจุบันดินฟ้าอากาศไม่แน่ไม่นอนหาเป็นเช่นแต่ก่อนนั้นไม่ ฤดูกาลผิดแผกแปลกไปจากที่ควรเป็นด้วยผลกระทบจากน้ำมือของมนุษย์ที่สูบ-กักตุน-ใช้น้ำมันอย่างบ้าคลั่ง

จากข้อเท็จจริงของการอ้างอิงโดยใช้อาทิตย์ทำให้ Setsubun ในแต่ละปีมักจะตรงกับวันที่ 3 หรือในบางปีอาจเลื่อนไปเป็นวันที่ 4 ของเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมีความแตกต่างกับเทศกาลตรุษจีนซึ่งกำหนดวันด้วยปฏิทินแบบจันทรคติ นอกจากนี้ธรรมเนียมปฏิบัติก็มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

โดยทั่วไปพิธีการของ Setsubun อาจมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นแต่โดยรวมแล้วในวัน Setsubun หัวหน้าครอบครัวหรือผู้ชายที่เกิดในปีนักษัตรนั้น เช่นปี 2007 ปีหมูซึ่งเรียกบุคคลนั้นว่า Toshi Otoko มักจะกลายเป็นบุคคลที่ถูกสมมุติให้สวมบทเป็นปีศาจโดยใส่หน้ากากยักษ์ Oni แล้วให้สมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะเด็กๆ ซึ่งมักจะขว้างปาถั่วเหลืองคั่วใส่พร้อมกับตะโกน "ปีศาจจงออกไป โชคดีจงเข้ามา" อย่างสนุกสนาน และถือเป็นการปัดความโชคร้ายให้ออกไปและเชิญความโชคดีให้เข้ามาสู่สมาชิกทุกคนในบ้าน

เมื่อพูดถึง Oni ก็มักจะหมายถึงยักษ์ หรือปีศาจ หรือวิญญาณชั่วร้ายที่มองไม่เห็นที่นำพามาซึ่งโชคร้ายและสิ่งไม่พึงปรารถนา โดยทั่วไป Oni ในจินตนาการของชาวญี่ปุ่นมักจะมีเขาแหลมๆ 2 ข้างบนศีรษะ ใบหน้าและผิวหนังมีสีแดงหรือไม่ก็สีน้ำเงิน

ตำนานที่กล่าวถึงยักษ์ Oni กับอำนาจวิเศษของถั่วในวัน Setsubun นั้นมีอยู่หลายตำนานแต่ที่ถูกหยิบยกมาเล่าอยู่บ่อยๆ คือเรื่องราวที่กล่าวไว้ที่วัด Mibu ในเกียวโต ซึ่งสรุปโดยย่อได้ว่า มียักษ์ตนหนึ่งใช้กำไลวิเศษแปลงกลายเป็นมนุษย์ผู้สวมใส่ชุดกิโมโนที่งดงามมากเข้ามาในบ้านของหญิงม่ายคนหนึ่ง ด้วยความอยากได้ชุดกิโมโนนั้นหญิงม่ายจึงออกอุบายต้อนรับยักษ์ด้วยข้าวปลาอาหารและสุรา เพื่อหวังจะขโมยชุดกิโมโนในขณะที่ยักษ์กำลังเมา แต่ความโลภของหญิงม่ายไม่ได้อยู่เพียงเท่านั้น หญิงม่ายยังได้ขโมยกำไลวิเศษติดมือมาด้วยจึงทำให้ยักษ์คืนร่างเดิมและตื่นขึ้นมาพร้อมกับความโกรธ หญิงม่ายตกใจกลัวจึงคว้าถั่วเหลืองที่อยู่ใกล้มือปาใส่ยักษ์จนยักษ์ได้รับบาดเจ็บและหนีออกจากบ้านของหญิงม่ายไป ด้วยเหตุนี้จึงมีความเชื่อว่า ถั่วเหลืองมีอำนาจวิเศษสามารถใช้ขับไล่สิ่งชั่วร้ายได้

ในพิธีของ Setsubun หลังจากที่ปีศาจถูกขับไล่ออกไปแล้วสมาชิกในครอบครัวจะเก็บถั่วคั่วที่ตกอยู่ในบริเวณบ้านจำนวนมากกว่าอายุของตนอยู่ 1 เม็ด มากระเทาะเปลือกออกแล้วรับประทาน ตามความเชื่อที่ว่าถั่วที่ใช้ในพิธีมีความศักดิ์สิทธิ์นำพาสิริมงคลและความโชคดีมาให้ตลอดปีที่จะมาถึง

นอกจากการปาถั่วในบ้านแล้วยังมีการนำถั่วที่เหลือไปโปรยขับไล่วิญญาณร้ายที่มองไม่เห็นซึ่งอาจสิงสถิตอยู่รอบๆ บริเวณ บ้าน โรงเรียน หรือที่ทำงานด้วย

พิธี Setsubun ยังนิยมจัดขึ้นตามวัดหรือศาลเจ้าชินโตใหญ่ๆ โดยพระจะโปรยถั่วเหลืองคั่ว (Fukumame) และข้าวปั้นโมจิ (Fukumochi) ห่อด้วยกระดาษเงินกระดาษทองที่ผ่านการทำพิธีสวดมนต์มาแล้ว ท่ามกลางประชาชนที่เบียดเสียดกันมารับและนำไปรับประทานเพื่อความโชคดี ในบางวัดอย่างเช่นที่วัดนาริตะมักจะมีซูโม่ชื่อดังมาร่วมพิธีโปรยถั่วด้วยทุกปี

ในขณะเดียวกันชาวบ้านทั่วไปยังนิยมนำกิ่งใบของต้น Holly ที่ตกแต่งด้วยหัวปลาซาร์ดีนเผามาประดับทางเข้าบ้านโดยมีความเชื่อว่ากลิ่นของปลาซาร์ดีนจะช่วยปกป้องไม่ให้วิญญาณและสิ่งชั่วร้ายเข้ามาในบ้าน

บางแห่งในประเทศญี่ปุ่น เช่นแถบโอซากาหรือนาโงยามักจะนิยมรับประทาน Makizushi แบบแท่งยาวประมาณ 20 ซม. ด้วยความเชื่อเช่นเดียวกับการรับประทานถั่วเหลืองคั่ว Fukumame ที่ใช้ปาขับไล่ยักษ์

การรับประทาน Makizushi โดยปกติจะหั่นเป็นชิ้นให้พอดีคำแต่ Makizush ในวัน Setsubun มีวิธีที่ต่างออกไป กล่าวคือจะต้องรับประทานทั้งแท่งรวดเดียวจนหมดโดยไม่มีการตัดแบ่งและห้ามการสนทนาใดๆ ระหว่างรับประทาน

ถึงแม้ว่าในบางครั้งเรื่องราวทางวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สืบทอดมาถึงปัจจุบันอาจดูเหมือนเรื่องตลกขบขันสำหรับคนยุคใหม่ แต่แนวคิดและวิถีปฏิบัติตามธรรมเนียมญี่ปุ่นเก่าๆ อย่าง Setsubun ยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้ได้อย่างเหนียวแน่น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us