Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550
Energy Security             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 


   
search resources

Energy




แถลงการณ์ของที่ประชุม East Asia Summit ที่เมือง Cebu ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา นอกจากจะกล่าวถึงการกระชับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของประเทศสมาชิก และประเด็นเกี่ยวกับการก่อการร้ายที่เป็นประเด็นแหลมคมในทางการเมืองระหว่างประเทศแล้ว

กรณีว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงาน (energy security) ซึ่งได้รับการบรรจุเป็นอีกหัวข้อหนึ่งในแถลงการณ์ของการประชุมสุดยอดแห่งภูมิภาคนี้กำลังบอกกล่าวทิศทาง และยุทธศาสตร์ด้านการพลังงานที่สำคัญมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

สาระสำคัญของ Energy Security ของ East Asia Summit ในด้านหนึ่งดำเนินไปภายใต้ความพยายามที่จะพัฒนาพลังงานชีวภาพ (biofuel) ให้เป็นแหล่งพลังงานทดแทน fossil fuel ที่นับวันจะลดปริมาณลง และการแสวงหามาตรการเพื่อการใช้พลังงาน สะอาด (clean energy) ซึ่งสอดรับกับข้อกำหนดของพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ขณะเดียวกันกรณีดังกล่าวได้เผยให้เห็นโอกาส ในการเปิดแนวรุกด้านการพลังงานของญี่ปุ่นเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น กล่าวชื่นชมวาระว่าด้วย energy security ของ East Asia Summit ในครั้งนี้ว่าเป็นกรณี ที่เหมาะสมกับเวลา (timely) อย่างยิ่ง พร้อมกับเสนอความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ทั้ง 16 ประเทศ (10 ชาติสมาชิก ASEAN รวมถึงจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ในกรณีว่าด้วยพลังงานนี้ด้วย

ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ญี่ปุ่นมีทรัพยากรธรรมชาติอย่างจำกัด ทำให้ญี่ปุ่นปลอดจากวาทกรรมว่าด้วยความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ หากจำเป็นต้องแสวงหาหนทางในการได้มาอย่างเพียงพอเพื่อตอบสนองต่อการจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีในระดับต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกรณีดังกล่าวดำเนินไปทั้งในบริบทของนโยบายแห่งรัฐและกิจกรรมของภาคธุรกิจเอกชน

ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ ญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้า gas ธรรมชาติในรูปของ LNG (Liquefied Natural Gas) มากที่สุดรายหนึ่งของโลก โดยมีสัดส่วนการนำเข้า LNG มากถึง 66% ของปริมาณการซื้อขาย LNG ในตลาดโลกในช่วงทศวรรษที่ 1990 ก่อนที่สัดส่วนดังกล่าวจะลดลงเหลือ 48% ในช่วงปี 2002 หลังจากที่นานาประเทศหันมาให้ความสนใจในการใช้ LNG มากขึ้น โดยเฉพาะเกาหลีใต้ที่เร่งพัฒนาเศรษฐกิจและกลายเป็นผู้นำเข้า LNG อันดับสองของโลก ขณะที่จีนและอินเดีย เริ่มลงทุนสร้าง terminal เพื่อนำเข้า LNG และคาดว่าทั้งสองประเทศนี้จะกลายเป็นผู้บริโภค LNG รายใหญ่ในอนาคตอันใกล้

โดยในปี 2002 ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นนำเข้า LNG มากถึง 2.6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต (ประมาณ 54.6 ล้านตัน) ขณะที่ความสามารถของ terminal ในการรับส่ง LNG ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของบรรษัทผู้ผลิตกระแสไฟฟ้า และบรรษัทผู้ให้บริการ gas ที่มีกระจายอยู่ทั่วทุกหัวเมืองขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น มีศักยภาพที่สูงถึงระดับ 9.2 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต (188.6 ล้านตัน) ซึ่งหมายถึงโอกาสในการรองรับต่ออัตราการเติบโตที่ไม่สิ้นสุดง่ายๆ

LNG เป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่เติมเต็มความต้องการใช้พลังงานของญี่ปุ่นในสัดส่วนที่มากถึง 12% โดย LNG ที่นำเข้ามานี้กว่า 2 ใน 3 ถูกลำเลียงเข้าสู่กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า โดย Tokyo Electric Power Co. (TEPCO) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการไฟฟ้ารายใหญ่ของญี่ปุ่น ระบุว่าภายในปี 2008 การผลิตกระแสไฟฟ้าของญี่ปุ่นจะอาศัย LNG ในสัดส่วนที่มากถึงร้อยละ 40 ซึ่งใกล้เคียงกับการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเตาปฏิกรณ์ปรมาณู เลยทีเดียว

ถ้อยความของ Shinzo Abe ที่ระบุถึง energy security ในการประชุม East Asia Summit ในลักษณะที่ระบุว่า timely ดังกล่าวสอดรับกับข้อเท็จจริงที่ว่า consortium ในนาม Sakhalin Energy Investment ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนระหว่าง Shell Sakhalin Holdings B.V. (55%) ของ Royal Dutch Shell กับ Mitsui Sakhalin Holdings B.V. (25%) บริษัทในเครือ Mitsui & Co. และ Diamond Gas Sakhalin (20%) บริษัทในเครือของ Mitsubishi Corp. ซึ่งเป็นบรรษัทธุรกิจเอกชนระดับนำของญี่ปุ่น เพื่อเข้ารับสัมปทานในการผลิต gas และน้ำมันในแหล่ง Sakhalin-II นอกชายฝั่งทะเล Okhotsk ของรัสเซียกำลังประสบปัญหาหนักหน่วง

แหล่ง Sakhalin-II ซึ่งมีกำลังการผลิต LNG มากถึง 9.6 ล้านตันต่อปี และน้ำมันดิบ มากถึง 180,000 บาร์เรลต่อวัน ต้องประสบปัญหาเมื่อ Gazprom ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดกิจการ gas ของรัสเซีย ต้องการเข้าครอบครองอำนาจการบริหารใน Sakhalin Energy Investment ด้วยการบังคับ ให้ผู้ร่วมทุนทั้งสามรายจำหน่ายหุ้นเพื่อให้ Gazprom มีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 50 แทน โดย Dimitri Medvedev รองนายกรัฐมนตรีของรัสเซีบและเป็นประธานของ Gazprom ได้หยิบยกผลกระทบด้านสิ่งแวด ล้อมขึ้นมาเป็นเงื่อนไขที่อาจสั่งระงับโครงการ พัฒนา Sakhalin-II ด้วย

กรณีของ Sakhalin-II มีผลต่อยุทธศาสตร์ด้านการพลังงานของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วง เพราะปริมาณ gas จากแหล่ง Sakhalin ดังกล่าว สามารถตอบสนองและเติมเต็มความต้องการใช้พลังงานของญี่ปุ่นได้ถึง 10% ซึ่งการเปลี่ยนการควบคุมจาก consortium รายเดิมไปสู่มือของ Gazprom ย่อมไม่สามารถสร้างหลักประกันในการใช้ gas ธรรมชาติจากแหล่งนี้ได้ แม้ว่าผู้ประกอบการด้านพลังงานของญี่ปุ่นหลายรายจะลงนามในข้อตกลงซื้อ LNG จาก Sakhalin Energy เป็นสัญญาซื้อขายระยะยาวแล้วก็ตาม

โดยนับตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา Tokyo Gas ลงนามในข้อตกลงซื้อ LNG จาก Sakhalin Energy ในปริมาณ 1.1 ล้านตันต่อปี เป็นเวลา 24 ปี ขณะที่ Tokyo Electric Power Company ลงนามในข้อตกลงซื้อ LNG ปริมาณ 1.5 ล้านตันต่อปีเป็นเวลา 22 years และ Kyushu Electric Power Company ลงนามซื้อ LNG ปริมาณ 0.5 ล้านตันต่อปี เป็นเวลา 21 ปี โดยกำหนดการส่งมอบ LNG ดังกล่าวจะเริ่มขึ้นในปี 2008 นี้

ความพยายามที่จะเสริมสร้างความมั่นคงในเชิงพลังงานของญี่ปุ่น เป็นกรณีที่ดำเนินต่อเนื่องไม่สิ้นสุด โดยในช่วงปลายปี 2006 หลังจากที่เกิดปัญหาในกรณีของ Sakhalin-II ได้ไม่นาน รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศนโยบายว่าด้วยการขนส่งก๊าซธรรมชาติจากเดิมที่อยู่ในรูปของเหลว (Liquefied Natural Gas : LNG) มาสู่การใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ที่จะทำก๊าซธรรมชาติอยู่ในรูปของแข็ง (solidified natural gas) หรือในรูปของ natural gas hydrate (NGH) ภายในปี 2008 พร้อมกับความพยายามที่จะผลักดันให้เกิดมาตรการด้านความปลอดภัยในระดับสากลสำหรับการขนส่ง NGH ในการประชุม International Maritime Organization ที่ประเทศตุรกีเมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาด้วย

กรณีดังกล่าว สะท้อนให้เห็นความสามารถในการเลือกใช้มาตรการที่ย่อมมิได้เกิดขึ้นอย่างปราศจากการเตรียมการและวางแผนในเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาว โดยเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมและข้อจำกัดที่เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างรอบด้าน

ความกระตือรือร้นของรัฐบาลญี่ปุ่นดังกล่าวยังตอบสนองต่อข้อเท็จจริงที่ว่าการลงทุนในแหล่งก๊าซธรรมชาติในรูปของ LNG ส่วนใหญ่ต้องใช้งบประมาณในการลงทุนมหาศาลในกระบวนการผลิต และคงรูปก๊าซธรรมชาติที่ได้ให้อยู่ในรูปของเหลว ซึ่งต้องอาศัยระดับอุณหภูมิที่ต่ำมากถึงลบ 162 องศาเซลเซียส และเกี่ยวเนื่องไปสู่ต้นทุนการขนส่ง LNG อีกโสตหนึ่งด้วย

มูลค่าการลงทุนและความยุ่งยากในการควบคุมอุณหภูมิเพื่อการผลิต LNG ที่ต้องอาศัยเงินจำนวนมหาศาล กลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการลงทุนพัฒนาแหล่งก๊าซขนาดกลางและเล็กที่มีอยู่อย่างหนาแน่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปโดยปริยาย เพราะต้นทุนการผลิตก๊าซในแหล่งดังกล่าวสูงเกินจากความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ ทั้งที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจจะเข้าพัฒนาเพื่อเป็นหลักประกันความมั่งคงด้านพลังงานของญี่ปุ่นในอนาคต และเป็นแรงผลักดันให้เกิดการวิจัยทางเทคโนโลยี NGH ขึ้นมา

จากการประมาณการในรายงานของหน่วยงานภาครัฐญี่ปุ่นระบุว่า การลงทุนเพื่อผลิตและขนส่ง LNG จะมีลักษณะที่คุ้มค่า (cost-efficient) ก็ต่อเมื่อมีการขนส่งก๊าซจำนวนมากในระยะทางไกล ซึ่งหมายถึงการลงทุนในแหล่งก๊าซในตะวันออกกลาง หรือแหล่งที่ไกลกว่านั้น ขณะที่เทคโนโลยี NGH ซึ่งใช้เงินลงทุนน้อยกว่าจะเข้ามาเติมเต็มการผลิตและขนส่งก๊าซจากแหล่งที่อยู่ในรัศมีไม่เกิน 6,000 กิโลเมตร ซึ่งหมายถึงแหล่งก๊าซ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินโดนีเซียและบรูไนอย่างชัดเจน

นโยบายว่าด้วยการขนส่งก๊าซในรูปของ NGH ในด้านหนึ่งก็คือการประกาศความพร้อมของญี่ปุ่นที่จะเข้าครอบครองและลงทุนพัฒนาแหล่งก๊าซขนาดกลางและเล็ก ซึ่งภายใต้เงื่อนไขของความคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจยังไม่ได้รับการพัฒนาไปโดยปริยาย

NGH มีลักษณะคล้ายผลึกน้ำแข็งที่เกิดจากการนำก๊าซมาผสมเข้ากับน้ำภายใต้แรงดันสูงและสามารถคงรูปเป็นของแข็งที่ระดับอุณหภูมิลบ 20 องศาเซลเซียส โดย methane hydrate หรือที่ได้รับการเรียกขานว่า burning ice เป็นรูปแบบหนึ่งของ NGH ที่ได้รับความสนใจมากในปัจจุบัน ซึ่งหากเทคโนโลยีว่าด้วย NGH สามารถลงหลักปักฐานในเชิงธุรกิจ นั่นก็หมายความว่าญี่ปุ่นจะสามารถรุกเข้าไป exploit แหล่งก๊าซขนาดกลางและเล็กเหล่านี้ได้ก่อนคู่แข่งขันรายอื่น

ทั้งนี้ Mitsubishi Heavy Industries Ltd. และ Mitsui Engineering & Shipbuilding Co. รวมถึงบรรษัทเอกชนญี่ปุ่นอีกหลายรายได้ เริ่มผลิต NGH แล้ว ขณะที่ Mitsui Engineering & Shipbuilding Co. และ National Maritime Research Institute ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยถึงความเป็นไปได้ในการผลิตถังบรรจุเพื่อใช้สำหรับการขนส่ง NGH ในเชิงพาณิชย์เป็นการเฉพาะ

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของการพัฒนาและกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อสนับสนุนความจำเริญเติบโตอย่างยั่งยืนจากระดับขั้นของเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างหลักประกันที่มั่นคงเพียงพอ สำหรับตอบสนองความต้องการและสร้างประโยชน์สุขให้กับผู้คนในชาติ ที่มีมิติเชื่อมโยงกับระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างยากที่จะแยกออกจากกันได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us