Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550
เส้นทางรื้อฟื้นความเฟื่องฟูในอดีต             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

Tourism




การกำหนดเส้นทางวิ่งของรถม้าสำหรับนักท่องเที่ยวตามยุทธศาสตร์รถม้าลำปาง หากดูเพียงผิวเผินก็เป็นการพานักท่องเที่ยวไปยังสถานที่สำคัญๆ ของเมืองที่นักท่องเที่ยวควรรู้จัก

แต่หากได้พิเคราะห์อย่างละเอียดแล้ว สถานที่สำคัญเหล่านั้นล้วนมีความหมายซ่อนเร้นที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงความเฟื่องฟูในอดีตของเมืองลำปาง ทั้งด้านศิลปะ วัฒนธรรม โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ

เหมือนประหนึ่งต้องการบอกให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้ว่า เมืองลำปางที่มีประวัติยาวนานกว่า 1,300 ปี ที่คนส่วนใหญ่มองเป็นเพียงเมืองทางผ่านในปัจจุบันนั้น เคยเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ และรุ่งเรืองมาก่อน

ในยุทธศาสตร์รถม้า กำหนดจุดที่ต้องพาให้นักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมไว้ถึงกว่า 30 จุด ตามแนวถนนรอบตัวเมือง

เริ่มจากจุดที่ 1 อาคารทองไพฑูรย์ อาคารเก่าแก่สวยงามในตลาดกองต้า ซึ่งบริเวณโดยรอบยังประกอบด้วยกลุ่มอาคารย้อนยุค ที่แสดงให้เห็นความเป็นศูนย์กลางการค้าของภาคเหนือตอนบนในอดีตได้อย่างชัดเจน

ต่อมาคือ สถานีรถไฟนครลำปาง เป็นจุดที่ 2 ซึ่งมีความโดดเด่นจากสถาปัตยกรรมเยอรมันเป็นจุดสำคัญทางการค้าขายในภาคเหนืออีกจุดหนึ่ง

จุดที่ 3 บ้านแม่เลี้ยงเนย ซึ่งมีตัวอาคารโดดเด่น บริเวณบ้านยังมีแท็งก์น้ำขนาดใหญ่ที่ทำจากไม้ทั้งหมด

จุดที่ 4 อาคารธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมาตั้งสาขาในภาคเหนือแห่งแรกที่ลำปางแสดงถึงความเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภาคเหนือตอนบนเมื่อหลายสิบปีก่อน

จุดที่ 5 โรงเลื่อยเค่งไท้เส็ง (เก่า) ซึ่งเคยเป็นสถานที่เปิดหวอชักหวูดให้สัญญาณภัยทางอากาศ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันโรงเลื่อยแห่งนี้เป็นของบริษัทลำปางวนชัย

จุดที่ 6 โรงน้ำแข็งแห่งแรก ของลำปาง ซึ่งนำน้ำจากแม่น้ำวัง มาทำเป็นน้ำแข็ง

จุดที่ 7 วัดศรีรองเมือง ซึ่งเป็นวัดที่ชาวพม่าสร้างขึ้น ทำให้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบพระราชวังในพม่า ภายในวัดยังมีส้วมโบราณอายุกว่า 100 ปี

จุดที่ 8 อาคารส่างโต ของต้นตระกูลผู้นำการสร้างวัดศรีรองเมือง และเคยถูกใช้เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการทหารญี่ปุ่น ในเขตปฏิบัติการรุกพม่า

จุดที่ 9 ข่วงโปโลเก่า ซึ่งเป็นสนามกีฬาตีลูกโปโลบนหลังม้าของชาวยุโรป สถานที่แห่งนี้เคยถูกใช้เป็นสนามกีฬาไทยฝรั่ง และในสมัยสงครามโลกยังเคยถูกใช้เป็นที่ตั้งกองพันทหารม้าของญี่ปุ่น

จุดที่ 10 วงเวียนไก่ขาว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของนครลำปาง

จุดที่ 11 บ้านบอมเบย์ ซึ่งเคยถูกใช้เป็นที่ตั้งของบริษัททำไม้บริติชบอมเบย์เบอม่าในอดีต

จุดที่ 12 วัดสิงห์ชัย เป็นหมู่บ้านตำนานรถม้าในอดีตหมู่บ้านแรก ก่อนที่จะขยายตัวไปทั่วนครลำปาง

จุดที่ 13 บ้านบะเก่า บ้านทรงโบราณยกสูง มีรถม้าโบราณรุ่นแรกของเจ้าของบ้านจอดอยู่

จุดที่ 14 วัดเชียงราย ซึ่งสร้างอยู่ในชุมชนหมู่บ้านเชียงราย ที่ได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ลำปาง และสร้างไว้เพื่อระลึกถึงบ้านเกิด

จุดที่ 15 สำนักงานชลประทาน ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของห้างแองโกลไทย สร้างโดย มร.เอชอีเอ็ม มาร์ติน อาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรป

จุดที่ 16 บ้านปูเขียน ที่เคยใช้เป็นที่ตั้งของธนาคาร UOB ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยถูกใช้เป็นจุดนัดพบของขบวนการเสรีไทยในลำปางเป็นประจำ


จุดที่ 17 สำนักงานยาสูบแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งมาตั้งอยู่ที่ลำปาง แสดงถึงความเป็นศูนย์กลางทางการค้ายาสูบในยุคเริ่มต้นของอุตสาหกรรมนี้

จุดที่ 18 วัดสวนดอก

จุดที่ 19 โรงยาฝิ่นเก่า ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งในอดีต เพราะเป็นที่ชุมนุมของคนหมู่มาก จึงมีการตั้งบ้านเรือนร้านค้าที่หลากหลาย

จุดที่ 20 ตลาดบริบูรณ์ แหล่งซื้อขายสินค้าสำหรับคนที่เดินทางผ่าน หรือมายังลำปาง มาช้านานจนถึงปัจจุบันก็ยังทำหน้าที่นี้อยู่

จุดที่ 21 ศาลหลักเมือง ซึ่งอยู่คู่เมืองลำปางมากว่า 1,300 ปี ในบริเวณนี้ยังมีศาลหลวงพ่อดำ หรือพระพุทธนิโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ซึ่งมีอยู่เพียง 4 องค์ในประเทศ ไทย ประดิษฐานไว้ในทิศต่างๆ โดยทิศเหนือประดิษฐานอยู่ที่ลำปาง และในบริเวณเดียวกัน ยังมีสิ่งปลูกสร้างที่แสดงความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของลำปางในอดีตอีกหลายจุด

จุดที่ 22 วัดบุญยืน ซึ่งหลวงพ่อเกษม เขมโก เคยเป็นเจ้าอาวาสของวัดนี้

จุดที่ 23 สะพานช้างเผือก สร้างขึ้นตามเส้นทางการเชิญช้างเผือกที่กำเนิดในปางเจ้าผู้ครองนคร ได้ถวายแก่รัชกาลที่ 5

จุดที่ 24 วัดประตูป่อง ซึ่งมีต้นไม้โบราณอายุมากกว่า 100 ปี ขึ้นสลับกันมากมาย

จุดที่ 25 บ้านเสานัก บ้านไม้สักโบราณอายุกว่า 100 ปี มีเสาไม้สักมากถึง 116 ต้น

จุดที่ 26 วัดแสงเมืองมา ซึ่งสร้างขึ้นโดยชาวเชียงแสน

จุดที่ 27 วัดพระแก้วสุชาดาราม เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) อยู่ถึง 32 ปี ก่อนจะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระแก้ว กรุงเทพฯ

จุดที่ 28 วัดเจดีย์ซาวหลัง

จุดที่ 29 สำนักปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อเกษม เขมโก มีรูปปั้นของหลวงพ่อสูง 9 เมตร ตั้งตระหง่านอยู่เบื้องหน้า

จุดที่ 30 วัดดอกบัว

จุดที่ 31 วัดศรีล้อม

จุดที่ 32 ตลาดหัวขัว หรือตลาดสะพานรัษฎาภิเศก ซึ่งเป็นตลาดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยโบราณที่มีพ่อค้าชาวจีนนำสินค้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันเป็นจำนวนมาก และปัจจุบันก็ยังคงมีการซื้อขายกันอยู่

จุดที่ 33 วัดปงสนุก

จุดที่ 34 สะพานพัฒนาภาคเหนือ

ฯลฯ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us