|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2550
|
|
ที่แน่นอนที่สุด รถม้ามาถึงลำปางในรัชกาลที่ 6 เมื่อรถไฟเชื่อมรางมาถึงลำปาง เมื่อปลายปี พ.ศ.2457
ก่อนสร้างสะพานรัษฎาภิเศก 3 ปี คือสะพานสร้างเสร็จเดือนมีนาคม พ.ศ.2460 รถไฟมาถึงลำปาง รถม้าได้ขนย้ายจากกทม.มาถึงลำปางเช่นกัน รถม้าคันแรก ได้แก่ รถม้าของเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย คือ พลตรีมหาอำมาตย์โท เจ้าบุญวาทย์ วงษ์มานิต เป็นผู้นำมาใช้ ได้นำรถม้ามาโดยว่าจ้างสารถี ซึ่งเป็นแขกมาจากกรุงเทพฯ เพื่อมาขับรถม้าให้
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าลำปางเป็นศูนย์กลางการค้าของภาคเหนือตอนบน เครื่องอุปโภค และของใช้ต่างๆ เช่น เกลือ รองเท้า เสื้อผ้า น้ำมัน จะต้องขนส่งโดยตรงจากกรุงเทพมหานครเพื่อมาลง และขนส่งต่อไปยังจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และต่อไปยังประเทศลาว ด้านอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และประเทศพม่าที่อำเภอแม่สาย เชียงราย เช่นกัน รถม้าจึงเกิดความสำคัญในการขนส่งภายในจังหวัดขึ้นตั้งแต่นั้นมา กล่าวได้ว่ารถม้าเป็นเส้นเลือดสายใหญ่ของจังหวัดลำปางไปโดยปริยาย
จากจำนวน 1-2 คันที่เจ้านครนำเข้ามา ก็เพิ่มทวีขึ้นตามลำดับ และเหตุที่ทางกรุงเทพมหานครได้นำรถยนต์เข้ามาวิ่ง ซึ่งสะดวกกว่ารถม้ามาก รถม้าจึงได้อพยพไปตามหัวเมืองต่างๆ อีกหลายหัวเมือง เช่น นครศรีธรรมราช นครราชสีมา แต่เหตุผลใดไม่ปรากฏ จึงไม่มีรถม้าวิ่งในจังหวัดดังกล่าวถึงปัจจุบันนี้ เหมือนจังหวัดลำปาง
ในปี พ.ศ.2490 รองอำมาตย์ตรี ขุนอุทานคดี ได้ก่อตั้งสมาคมล้อเลื่อน และเป็นปีที่ขอจดทะเบียน และในปี พ.ศ.2492 จึงได้ใบอนุญาต และท่านได้เป็นนายกสมาคมรถม้าคนแรก และเป็นผู้แทนราษฎรของจังหวัดลำปาง ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกสมาคมรถม้า ซึ่งถือได้ว่าเป็นสมาคมแรกของจังหวัดลำปาง การขอจดทะเบียนล้อเลื่อน จังหวัดลำปางจึงเป็นจังหวัดเดียวที่มีการจดทะเบียนประเภทล้อเลื่อน ที่จะต้องเสียภาษี และมีป้ายวงกลมอย่างถูกต้องในประเทศไทย การจดทะเบียนรถม้า ต้องเสียภาษีปีละ 5 บาท ต่อ 1 คัน และใบขับขี่จะต้องต่อใบอนุญาต 2 บาทต่อปี
จังหวัดลำปางจึงถือได้ว่าเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีการจดทะเบียนรถม้าที่วิ่งในถนนหลวงที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นแห่งเดียวที่หลงเหลืออยู่ในประเทศไทย และมากที่สุดในโลก
ในปี พ.ศ.2493 รองอำมาตย์ตรี ขุนอุทานคดี ได้มอบให้เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าบุญวาทย์ วงษ์มานิต เป็นนายกสมาคมรถม้าคนที่ 2 ช่วงเจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง เป็นนายกสมาคมรถม้านี้ ถือได้ว่าเป็นยุคทองของรถม้า ซึ่งในปี พ.ศ.2500 รถม้าของจังหวัดลำปางมีถึง 185 คัน ซึ่งถือได้ว่ามีมากที่สุด ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสมาคมรถม้าขึ้น รถม้าในจังหวัดลำปาง เขาเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Queen Victoria จะมีล้อ 4 ล้อ เบาะหลังเป็นเก๋ง เป็นเบาะใหญ่ นั่งได้ 2 คน และม้านั่งเสริม สามารถนั่งได้อีก 2 คน รวมแล้วรถม้าคันหนึ่ง ถ้าเป็นคนไทย หรือตัวไม่ใหญ่มาก ก็นั่งได้ 4 คน ปกติแล้ว รถม้ารับฝรั่ง เขาจะนั่งเพียง 2 คนเท่านั้น
(ที่มา : จากเอกสาร "เที่ยวลำปาง นั่งรถม้า" จัดทำโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
|
|
|
|
|