Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550
Stem Cells Bank ธนาคารอะไหล่ร่างกาย             
โดย สุภัทธา สุขชู
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ไทยสเตมไลฟ์

   
search resources

Health
ไทยสเตมไลฟ์
Kostas I. Papadopulos




ถ้าย้อนชีวิตกลับไปในวันแรกเกิด ของขวัญชิ้นแรกในชีวิตที่คุณอยากได้คืออะไร?...เงินในบัญชีตัวเลขหลายหลัก เครื่องเพชรหลายกะรัต โฉนดที่ดินย่านสุขุมวิท ฯลฯ หรือ "อะไหล่ร่างกาย" เพื่อสำรองไว้รักษาโรคร้ายหรือความเสื่อมของอวัยวะในวันหน้า

ถ้าเลือกคำตอบสุดท้าย วันนี้คุณก็มีโอกาสได้มอบของขวัญที่มีค่าชิ้นนี้ให้กับตัวเองและลูกหลานไว้ใช้ยามฉุกเฉินได้แล้ว ด้วยการฝากเก็บสเต็มเซลล์ (Stem Cell) ในธนาคารสเต็มเซลล์

"สเต็มเซลล์ คือ เซลล์ต้นกำเนิดที่ยังไม่รู้จะเป็นอะไร พอมันไปอยู่ตรงไหนก็จะทำตัวเป็นเซลล์ตรงนั้น เช่น เกาะที่กล้ามเนื้อหัวใจก็กลายเป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เกาะที่เส้นประสาทก็ทำตัวเป็นเซลล์เส้นประสาทฯ พอมันไปเจอเซลล์ที่ไหนเสื่อมก็จะซ่อมแซมเซลล์อวัยวะส่วนนั้น เสมือนนายช่างประจำร่างกาย"

นี่เป็นอรรถาธิบายสั้นๆ แต่เห็นภาพเกี่ยวกับสเต็มเซลล์จาก น.พ.ชาตรี ดวงเนตร CEO แห่งกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ อีกโรงพยาบาลไทยที่ให้บริการรักษาคนไข้ด้วยสเต็มเซลล์มาแล้วหลายราย

สเต็มเซลล์กลายเป็นความหวังใหม่ทางการแพทย์ในการรักษาโรคและอาการบาดเจ็บในระดับเซลล์ จนแพทย์บางคนเปรียบเซลล์มหัศจรรย์นี้เป็นเสมือน "อวัยวะสำรอง"

วันนี้ วงการแพทย์ทั่วโลกได้นำสเต็มเซลล์ไปใช้รักษาโรคร้ายแรงมากกว่า 70 ชนิด เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์และพาร์คินสัน โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน โรคเกี่ยวกับความผิดปกติของเลือดและไขกระดูก โรคเกี่ยวกับความบกพร่องของกล้ามเนื้อ รวมถึงอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต ไขสันหลังบาดเจ็บ และบาดแผลทางผิวหนัง

"สเต็มเซลล์คือสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดในชีวิตคนเรา" นิยามโดย Dr.Kostas I. Papadopulos ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการแห่งไทยสเต็มไลฟ์ บริษัทจัดเก็บสเต็มเซลล์แห่งแรกและใหญ่ที่สุดของไทย ซึ่งเปิดให้บริการมาตั้งแต่เดือน มิ.ย.2548

ปกติร่างกายจะผลิตสเต็มเซลล์ขึ้นเองจากไขกระดูก แต่ในภาวะที่เกิดอุบัติเหตุหรือโรคร้ายแรง จำนวนอาจไม่เพียงพอที่จะซ่อมแซมเซลล์และเนื้อเยื่อที่เสียหาย แพทย์จึงต้องเก็บสเต็มเซลล์ของคนไข้ออกมาเพิ่มจำนวนก่อนฉีดกลับเข้าไปยังอวัยวะส่วนที่ต้องการรักษา

แต่การเก็บขณะที่ร่างกายไม่สมบูรณ์ สเต็มเซลล์ที่ได้อาจไม่แข็งแรงและไม่มากพอ ทางออกเดียวก็คือต้องรอคนอื่นบริจาค ซึ่งก็ยังเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและพิการ เพราะโอกาสที่สเต็มเซลล์บริจาคจะมี HLA ตรงกับของคนไข้มีน้อยมาก (ร่างกายคนไข้จะต่อต้าน)

จากสถิติ โอกาสที่คนไทยด้วยกันจะมีสเต็มเซลล์ที่ HLA ตรงกันมีเพียงหนึ่งในห้าหมื่นคน ขณะที่คนต่างเชื้อชาติกันจะมี HLA ตรงกันมีโอกาสเพียงหนึ่งในแสน ยิ่งลูกครึ่งยิ่งมีโอกาสแค่หนึ่งในสองแสน ด้วยเหตุนี้ธุรกิจรับฝากสเต็มเซลล์จึงบูมในหลายประเทศที่การแพทย์พัฒนาแล้ว

ไทยสเต็มไลฟ์มีวิธีจัดเก็บสเต็มเซลล์จาก 2 วิธี ได้แก่ จากเลือดในรกและสายสะดือเด็กแรกเกิด และจากกระแสโลหิต

ธรรมชาติได้มอบสเต็มเซลล์ชั้นดีจำนวนมากเป็นของขวัญแห่งชีวิตให้มนุษย์ อยู่ในเลือดจากรกและสายสะดือ ซึ่งถือเป็นของขวัญพิเศษชิ้นแรกที่พ่อแม่ควรมอบให้แก่ลูกรักด้วย เพราะมีโอกาสถึงหนึ่งในสองพัน ที่เด็กจะต้องใช้สเต็มเซลล์ในวันหน้า โดยบางคนอาจจำเป็นต้องใช้ตั้งแต่อายุยังไม่เกิน 20 ปีด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ดี สเต็มเซลล์จากรกฯ ไม่เพียงเป็นของขวัญสำหรับลูกผู้เป็นเจ้าของสายสะดือนั้น แต่บ่อยครั้งที่ยังกลายเป็นของขวัญสำหรับสมาชิกคนอื่นในครอบครัว ที่ผ่านมามีหลายกรณีที่ลูกคนโตได้ใช้สเต็มเซลล์จากรกฯ ของน้องเพื่อรักษาโรคร้ายแรงของตัวเอง

ทั้งนี้เพราะโอกาสที่พี่น้องท้องเดียวกันจะมีสเต็มเซลล์ที่มี HLA ตรงกันมีสูงถึงหนึ่งในสี่มากกว่าคนทั่วไปหลายเท่า

การเก็บสเต็มเซลล์จากรกฯ จะต้องเก็บทันทีที่ทารกคลอดออกมา โดยแพทย์จะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที ในการเจาะเก็บเลือดจากสายสะดือ

ปัจจุบันไทยสเต็มไลฟ์ร่วมมือกับโรงพยาบาลพันธมิตรกว่า 50 แห่งทั่วประเทศ ในการจัดเก็บเลือดจากรกและสายสะดือให้กับลูกค้าด้วยชุดอุปกรณ์ (Collecting Kit) ของบริษัท ที่มีเก็บไว้ที่โรงพยาบาลเหล่านั้นหรือพ่อแม่อาจนำติดตัวไปเอง

"เลือดจากรกจะไม่ใช่ของเสียที่ควรถูกนำไปฝังหรือกำจัดทิ้งอีกต่อไป เพราะมันเป็นสมบัติล้ำค่าของแต่ละครอบครัว ถือเป็นทรัพยากรของชาติ และยังเป็นทรัพยากรของโลก" ดร.คอสทัสเปลี่ยนภาพรกจากสิ่งที่ดูไร้ค่าทันทีที่สายใยหล่อเลี้ยงจากแม่สู่ลูกถูกตัดลง ให้กลายเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีค่ายิ่งทางการแพทย์

ยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ ซึ่งกำหนดเป็น mission ของรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบจัดเก็บสเต็มเซลล์ของทารกแรกเกิดชาวสิงคโปร์เอาไว้ทุกคน เพื่อเป็นการประกันสุขภาพของประชากร อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ในวงการแพทย์ของสิงคโปร์

สำหรับผู้ที่ไม่เคยเก็บสเต็มเซลล์จากรกและสายสะดือ ไทยสเต็มไลฟ์ก็มีวิธีจัดเก็บสเต็มเซลล์ของผู้ใหญ่ โดยเก็บจากกระแสโลหิต

วิธีนี้ผู้ถูกเก็บจะถูกกระตุ้นสเต็มเซลล์ให้ออกมาในกระแสเลือดในปริมาณที่มากพอด้วยการฉีดยา G-CSF บริเวณต้นแขนวันละครั้งเป็นเวลา 4-5 วัน จากนั้นจึงเก็บสเต็มเซลล์ด้วยเครื่องแยกชนิดเซลล์จากกระแสโลหิต โดยเข็มที่รับโลหิตจะแทงเข้าเส้นเลือดข้อพับแขนข้างหนึ่ง เพื่อดึงโลหิตมาคัดแยกและเก็บเฉพาะชั้นสเต็มเซลล์ แล้วคืนโลหิตที่เหลือเข้าทางเส้นเลือดข้อพับแขนอีกข้าง ใช้เวลาดูหนังเพลินๆ 2-4 ชั่วโมงก็เสร็จ

แม้จะไม่เคยมีการจำกัดอายุที่มากที่สุดที่จะเก็บสเต็มเซลล์ แต่ ดร.คอสทัสแนะนำว่า ควรฝากเก็บตั้งแต่ช่วงอายุยังน้อย เพราะสเต็มเซลล์ที่ได้จะอ่อนเยาว์ และยังไม่เสื่อมตามสภาพร่างกาย

"ลองคิดดู ถ้าเก็บสเต็มเซลล์เมื่ออายุ 25 ปี แล้วต้องเอามาสร้างเซลล์สมองตอน 70 ปี เซลล์สมองใหม่ก็จะดูสดใส กระปรี้กระเปร่าเหมือนคนวัย 25 จะดีแค่ไหนเชียว" ดร.คอสทัสกล่าวเพราะรู้ดีว่าความอ่อนวัยคือผลพลอยได้ที่เป็นจุดขายชั้นดี

หลังจากได้เลือด เจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์จะทำการคัดกรอง เช็กความสมบูรณ์ และเพิ่มจำนวนสเต็มเซลล์ ก่อนจัดเก็บไว้เป็นทรัพย์สมบัติส่วนตัวของลูกค้าและครอบครัว โดยแช่แข็งในถังไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส ซึ่งในทางทฤษฎี วิธีนี้จะรักษาคุณภาพของสเต็มเซลล์ได้นานกว่า 2 พันปี

สเต็มเซลล์และข้อมูลของลูกค้าจะถูกจัดเก็บไว้อย่างปลอดภัยและเป็นความลับ ณ บริษัทที่อยู่บนตึกเซ็นทรัลเวิลด์ออฟฟิศ ซึ่งมีระบบความปลอดภัยขั้นสูง ที่นี่จึงยิ่งเปรียบเสมือน "ตู้นิรภัยของครอบครัว"

เมื่อลูกค้าจำเป็นต้องใช้สเต็มเซลล์ บริษัทก็จะจัดส่งด้วยถังรักษาอุณหภูมิที่ต่ำถึงกว่า -200 องศาเซลเซียส พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญไปทำละลายสเต็มเซลล์ให้พร้อมใช้ถึง ณ โรงพยาบาลของลูกค้า

สนนราคาการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากรกและสายสะดือจะอยู่ที่ 25,000-40,000 บาท ขณะที่การจัดเก็บจากกระแสโลหิตอาจสูงถึง 179,000 บาท ส่วนค่าฝากเก็บจะอยู่ที่ 6,000-8,400 บาทต่อปี หรือเหมาจ่ายนาน 20 ปี ราคาก็อยู่ที่ 90,000-105,000 บาท

ไทยสเต็มไลฟ์เกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัท ซูพีเรียไบโอเทค ซึ่งมีผู้ร่วมทุนเป็นคณะแพทย์ไทยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ กับบริษัท สเต็มไลฟ์ มาเลเซีย โดยมีสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติเป็นผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ

ปัจจุบันลูกค้า 2 ใน 3 เป็นลูกค้าคนไทย และสเต็มเซลล์ส่วนใหญ่มาจากการเก็บจากเลือดในรกและสายสะดือที่พ่อแม่คนดังหลายคนตั้งใจฝากเก็บไว้ให้ลูกรักเป็นของขวัญ โดยหนึ่งในนั้นก็มีของพระราชวงศ์พระองค์น้อยรวมอยู่ด้วย

ดร.คอสทัส มองว่า หากการปฏิวัติอุตสาหกรรมเคยพลิกโฉมประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกมาแล้ว การค้นพบสเต็มเซลล์รักษาโรคและวิธีเก็บรักษาสเต็มเซลล์ก็ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน เพราะนี่คืออีกหน้าของประวัติศาสตร์ในทางการแพทย์ของมนุษยชาติ ...เพียงแต่คนที่เข้าถึงวิธีรักษาโรคแบบนี้ยังคงจะจำกัด เฉพาะคนที่มีกำลังเงินมากพอ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us