Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550
ผู้ป่วยอเมริกันหันไปพึ่งหมอต่างแดน             
โดย มานิตา เข็มทอง
 

   
related stories

Medical Hub of Asia เกมนี้ยังไม่จบ
บำรุงราษฎร์ หัวหอกโรงพยาบาลไทยบุกต่างแดน
โรงพยาบาลกรุงเทพเจาะตลาดอเมริกาด้วยสเต็มเซลล์
เมื่อประกันสุขภาพในญี่ปุ่นไม่ครอบคลุม

   
search resources

Health




เมื่อประมาณเดือนกันยายนของปีที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์เอบีซีนำเสนอสกู๊ปพิเศษเรื่อง "ชาวอเมริกันแสวงหาเฮลท์แคร์ในต่างแดน" เป็นเรื่องราวของนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันรายหนึ่งที่ประสบอุบัติเหตุระหว่างท่องเที่ยวอยู่ในประเทศโครเอเชีย...

สองปีก่อน สแพรโร มาฮอนนี่ สาวอเมริกันจากนิวยอร์ก วัย 27 ปี ประสบอุบัติเหตุรถชนในโครเอเชีย ทำให้ขาข้างซ้ายของเธอหักละเอียด ถึงขั้นอาจจะต้องตัดขา...เธอต้องนอนรักษาตัวอยู่ในห้องไอซียูที่ไกลจากบ้านเธอถึง 4,000 ไมล์ ขณะเดียวกันก็วิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องค่ารักษาพยาบาลในต่างถิ่น "ฉันควรจะยอมจ่ายหมื่นเหรียญให้หมอตัดขาทิ้ง หรือฉันและครอบครัวจะยอมล้มละลายเพื่อรักษาขาฉันไว้" สแพรโรคิดวิตกระหว่างตัดสินใจ โดยที่ขณะนั้นคำนวณเป็นจำนวนค่าใช้จ่ายตามที่เธออาจต้องจ่ายในอเมริกาทั้งที่ยังไม่รู้ว่าค่ารักษาพยาบาลที่โครเอเชียจะเป็นเท่าไร

ในที่สุดเธอเลือกยอมล้มละลายเพื่อรักษาขาของเธอไว้ เธอบอกแพทย์ในโครเอเชียว่า ขอให้ทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาขาของเธอไว้ อีก 3 สัปดาห์ต่อมา ขณะเธออยู่ในห้องพักฟื้นของโรงพยาบาล เธอได้รับบิลค่าใช้จ่ายจำนวน 5,000 เหรียญเท่านั้น ซึ่งหากเป็นในอเมริกา เธอคงต้องจ่ายหลายหมื่นเหรียญ เป็นเหตุการณ์ที่เธอไม่มีวันลืม...นอกจากจะไม่ต้องล้มละลายแล้ว เธอยังสามารถบรรลุความฝัน...สแพรโรฉลองครบรอบ 1 ปีของอุบัติเหตุด้วยการปีนขึ้นบันได และปัจจุบันเธอเป็นนักวิ่งตามที่เธอฝันไว้ "อเมริกาประสบความสำเร็จในการโฆษณาว่าเป็นประเทศที่มีเฮลท์แคร์ที่ดีที่สุดมาเป็นเวลานาน นั่นเพราะอเมริกามีโรงเรียนการแพทย์มากมายและเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย แต่ไม่ได้หมายความว่า ทุกคนจะสามารถเข้าไปใช้บริการเหล่านั้นได้ง่ายๆ" สแพรโรกล่าวทิ้งไว้ให้คิด ยิ่งกว่านั้นเธอนำประสบการณ์ของเธอมาเปิดประตูให้แก่ชาวอเมริกันอีกหลายคนได้ก้าวออกมาจากห้องที่ปิดตายมานานด้วยเว็บไซต์ www.medicaltourism.com ที่ช่วยให้ชาวอเมริกันมีทางเลือกใหม่ในการรักษาพยาบาล "จะดีแค่ไหน ถ้าผ่าตัดเสริมจมูกให้สวยแล้วยังได้ไปเที่ยวทะเลต่อด้วย"

นอกจากนี้ เจฟฟ์ ชูล์ท ผู้เขียนหนังสือ "Beauty from Afar" ซึ่งเป็นหนังสือแนะนำการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพหรือเมดิคัลทัวร์ ได้เล่าถึงกรณีของเขาว่า เขามีปัญหาเรื่องสุขภาพฟันที่ต้องรักษารากจำนวนหลายซี่ ผู้ที่เคยรับการรักษารากฟันจะทราบดีว่า ขั้นตอนสุดท้ายหลังจากรักษารากฟันเสร็จสิ้นแล้วคือ การครอบฟัน ผู้เขียนเองมีประสบการณ์นี้มาแล้วในอเมริกา ขนาดมีประกันแล้วยังต้องควักกระเป๋าเองอีกประมาณ 800 เหรียญ ราคาเต็มประมาณ 1,600-1,800 เหรียญ ซึ่งผู้เขียนเคยครอบฟันในเมืองไทย ซี่หนึ่งไม่เกิน 20,000 บาท...กลับมาที่เรื่องของเจฟฟ์ เขามีฟันที่ต้องรักษาจำนวนหลายซี่ ซึ่งคำนวณแล้วเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 18,000 เหรียญ สำหรับคลินิกในคณะทันตแพทย์ของมหาวิทยาลัย ถึง 30,000 เหรียญ สำหรับคลินิกเอกชน เมื่อเห็นตัวเลข เขาเริ่มหาทางอื่นที่จะประหยัดเงินและรักษาฟันของเขาด้วย เจฟฟ์เริ่มเสิร์ชอินเทอร์เน็ตและพบว่าในประเทศกำลังพัฒนาอย่างอินเดีย บราซิล คอสตาริกา หรือเม็กซิโก เป็นต้น มีระบบการแพทย์ที่ไม่น้อยหน้าอเมริกา และที่สำคัญค่าใช้จ่ายถูกกว่ามาก เขาตัดสินใจเลือกไปทำฟันที่คอสตาริกา โดยเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงินทั้งสิ้น 8,000 เหรียญ รวมค่าเดินทางด้วยแล้ว เขาฟันธงเลยว่า การเดินทางไปรับการรักษานอกประเทศอเมริกาจะช่วยประหยัดเงินได้ถึง 50-80% แถมได้พักผ่อนตากอากาศไปด้วย ทั้งนี้ ไม่ใช่ไม่มีความเสี่ยง ฉะนั้นก่อนที่จะตัดสินใจเลือกไปรักษาสุขภาพในต่างแดนก็ต้องมีการค้นคว้าหาข้อมูลให้ดีเสียก่อน เขาจึงเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยชาวอเมริกันในการทำความรู้ความเข้าใจเรื่องเมดิคัลทัวร์

ในหนังสือเจฟฟ์กล่าวถึงโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ด้วยว่า เป็นโรงพยาบาลชั้นนำระดับต้นของธุรกิจการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของประเทศไทย เมื่อปีที่แล้วบำรุงราษฎร์มีคนไข้ชาวอเมริกันมากถึง 50,000 ราย ซึ่งเพิ่มมากขึ้นถึง 30% จากปีก่อน

ซึ่งเขาได้เคอร์ทิส ชโรเดอร์ ซีอีโอของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มาเขียนคำแถลงปิดท้ายเล่มในหนังสือของเขาเล่มนี้ด้วย

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างจำนวนน้อยนิดเท่านั้นของชาวอเมริกันผู้มีประสบการณ์ในการมารับบริการด้านเฮลท์แคร์ในต่างแดน...ธุรกิจด้านเมดิคัลทัวริซึ่ม เพิ่งเริ่มขึ้นเท่านั้น ตลาดด้านนี้ยังสามารถขยายได้อีกมาก ประเทศไทยเองก็ถือเป็นผู้นำหนึ่งในแถบเอเชีย แต่จะประมาทประเทศอย่างอินเดียหรือสิงคโปร์ไม่ได้ ดังนั้นผู้ให้บริการในไทยต้องพยายามรักษาระดับคุณภาพและบริการให้สูงและโดดเด่นกว่าคู่แข่ง ที่สำคัญราคายังคงต้องแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ชนิดที่ลูกค้าต้องรู้สึก "คุ้มและสบายใจ"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us