Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550
บำรุงราษฎร์ หัวหอกโรงพยาบาลไทยบุกต่างแดน             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 

   
related stories

Medical Hub of Asia เกมนี้ยังไม่จบ
โรงพยาบาลกรุงเทพเจาะตลาดอเมริกาด้วยสเต็มเซลล์
ผู้ป่วยอเมริกันหันไปพึ่งหมอต่างแดน
เมื่อประกันสุขภาพในญี่ปุ่นไม่ครอบคลุม

   
www resources

โฮมเพจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

   
search resources

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
สิน อนุราษฎร์
Hospital




จากความตั้งใจที่จะยกระดับขึ้นสู่มาตรฐานสากลเมื่อ 15 ปีก่อน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ไม่เพียงบรรลุเป้าหมายดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังเป็นหัวหอกโรงพยาบาลไทยในการบุกตลาดต่างแดนอีกด้วย

ปีที่ผ่านมาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ให้บริการทางการแพทย์กับผู้ป่วยรวมประมาณ 1.1 ล้านราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยต่างชาติถึง 450,000 คน จาก 190 ประเทศทั่วโลก นับเป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการผู้ป่วยต่างชาติมากที่สุดในประเทศไทย

นอกเหนือจากความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมดังกล่าวแล้ว โรงพยาบาลแห่งนี้ยังได้รับความสนใจจากสื่อต่างประเทศทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ อีกมาก ล่าสุด นิตยสาร Newsweek ฉบับวันที่ 30 ตุลาคมปีที่แล้ว ได้จัดอันดับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็น 1 ใน 10 สถานพยาบาลมาตรฐานระดับนานาชาติที่มีชาวต่างชาติมาใช้บริการมากที่สุดในโลก ร่วมกับสถานพยาบาลในเยอรมนี อินเดีย รัสเซีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิสราเอล และสหรัฐอเมริกา โดยเป็นโรงพยาบาลแห่งเดียวของไทยที่ได้รับการจัดอันดับในครั้งนี้

ความสำเร็จของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน แต่เป็นผลจากการกำหนดวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ตั้งแต่ 15 ปีก่อน และได้มีการวางแผนงาน ลงมือปฏิบัติ รวมทั้งทุ่มลงทุนอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา

ในปี 2535 คณะกรรมการและผู้บริหารโรงพยาบาลในเวลานั้นมีวิสัยทัศน์ที่จะยกระดับมาตรฐานโรงพยาบาลให้ได้ระดับสากล จึงต้องมีการพัฒนากันยกใหญ่ทั้งในด้านการแพทย์และการบริการ โดยในเวลานั้นบำรุงราษฎร์ยังเป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เตียง มีแพทย์ประจำเพียง 20 คนเท่านั้น

"ตอนนั้นผมมาดูแลด้านการแพทย์ก็ขอเวลา 10 ปี ในการที่จะพัฒนาไปถึงจุดที่เป็นมาตรฐานสากล เพราะสิ่งแรกสุดที่ต้องทำคือสร้างบุคลากร การจะไปถึงจุดนั้นต้องมีหมอประจำอย่างน้อย 100 คนขึ้นไป ต้องมีผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งในบางสาขาก็หายาก ถึงต้องใช้เวลานาน" ศ.นพ.สิน อนุราษฎร์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์กลุ่มภูมิภาค โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เล่าถึงจุดเริ่มต้น

ก่อนหน้าที่ ศ.นพ.สินจะถูกชักชวนมารับหน้าที่ดังกล่าวที่บำรุงราษฎร์ เขาทำงานอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลากว่า 20 ปี ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเดินทางกลับมาประเทศไทย เป็นศาสตราจารย์และผู้อำนวยการด้านการแพทย์สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ที่ Texas Tech University

นอกจากการพัฒนามาตรฐานด้านการแพทย์แล้ว บุคลากรด้านอื่นๆ รวมทั้งมาตรฐานการบริการก็ต้องถูกยกระดับขึ้นด้วยเช่นกัน

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์บรรลุเป้าหมายแรกเมื่อได้รับมาตรฐานรับรองคุณภาพโรงพยาบาลไทย HA (Hospital Accreditation) จากสถาบันพัฒนาและรับรองมาตรฐานโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข ก่อนที่จะคว้ามาตรฐาน JCI (Joint Commission International) จากสหรัฐอเมริกา ได้ในปี 2545 เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของไทยและเอเชียที่ได้มาตรฐานนี้และในปัจจุบันก็ยังเป็นโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน JCI เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย โดยได้รับการรับรองครั้งที่สองในเดือนเมษายน 2548 เป็นรายแรกในเอเชีย เช่นกัน

ในระหว่างที่ต้องลงทุนเพื่อปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานในด้านต่างๆ ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจจนต้องลอยตัวค่าเงินบาท บำรุงราษฎร์ก็ได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน วิกฤติที่เกิดขึ้นทำให้ยอดผู้เข้าใช้บริการหดหายไปเป็นจำนวนมาก ผู้บริหารจึงเริ่มเบนเข็มไปยังกลุ่มคนไข้ต่างชาติที่เริ่มให้ความสนใจบำรุงราษฎร์มากขึ้น เนื่องจากค่าบริการถูกกว่าประเทศอื่นๆ จากการที่ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะได้มาตรฐานในระดับสากล แต่ชื่อเสียงของบำรุงราษฎร์ก็ยังจำกัดอยู่ในแวดวงผู้ป่วยชาวไทย และชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในไทยและประเทศใกล้เคียงเท่านั้น จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ทำให้บำรุงราษฎร์เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างเป็นผลมาจากการถูกนำเสนอใน 60 Minutes รายการโทรทัศน์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา

มาตรฐานการแพทย์ระดับสากลในราคาประเทศกำลังพัฒนา บวกเข้ากับจุดขายในเรื่องการท่องเที่ยวพ่วงตามมา ทำให้บำรุงราษฎร์รู้แล้วว่าตลาดอยู่ที่ไหน

ปัจจุบันชาวอเมริกันเป็นคนไข้ต่างชาติที่มาใช้บริการที่บำรุงราษฎร์มากที่สุด รองลงมาเป็นสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บังกลาเทศ ตามมาด้วยโอมาน อังกฤษ ญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาและพม่า โดยมีล่ามคอยให้บริการ 17 ภาษา จำนวนรวม 90 คน มีศูนย์ประสานงานที่ทำหน้าที่ ติดต่อและให้ข้อมูลกับผู้ป่วยที่ติดต่อเข้ามาทั้งทางโทรศัพท์และอีเมลตลอด 24 ชั่วโมง

"เวลาคนไข้ติดต่อเข้ามา เจ้าหน้าที่จะไปปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน ถ้ารักษาได้ก็ประเมินว่าจะทำอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายเท่าไรให้คนไข้รู้คร่าวๆ ว่าจะต้องเสียเงินประมาณเท่าไรแล้วตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง" ศ.นพ.สินกล่าว

ปัจจุบันโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ถือว่าเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่รวมถึง 1 ล้านตารางฟุต มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทันตแพทย์กว่า 900 คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับวุฒิบัตรและการฝึกอบรมจากต่างประเทศ ในแผนกบริการผู้ป่วยในมีเตียงจำนวน 554 เตียง ส่วนแผนกบริการผู้ป่วยนอกมีห้องตรวจ 135 ห้อง สามารถรองรับผู้ป่วยนอกได้ถึงวันละ 3,500 คนเลยทีเดียว

ความสำเร็จของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในประเทศไทยทำให้ผู้บริหารมีการขยายงานออกสู่ต่างประเทศ ประเดิมที่ฟิลิปปินส์เป็นแห่งแรก

"ที่เราเลือกไปฟิลิปปินส์ก็เพราะโรงพยาบาลที่นั่นเขามีปัญหาเรื่องการเงินและผู้ร่วมทุน เขาติดต่อมาเราก็ไปดู ก็เห็นว่าตลาดมีอำนาจการซื้อไม่เลวนัก น่าจะดี ก็เลยไป" นพ.การุณ เมฆานนท์ชัย ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ เล่าถึงการขยายออกต่างประเทศของบำรุงราษฎร์

หลังจากเปิดดำเนินงานมาได้ 2 ปี โรงพยาบาลแห่งนี้มีผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ จนมีการวางแผนที่จะลงทุนเพิ่มอีกประมาณ 200 ล้านบาท เพื่อให้สามารถรับผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้น โรงพยาบาลที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นการลงทุนอีกแห่งหนึ่งของบำรุงราษฎร์ที่ยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

โรงพยาบาลแห่งนี้ใช้เงินลงทุนราว 400 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายปีหน้า โดยจะใช้รองรับผู้ป่วยในแถบตะวันออกกลางที่ในขณะนี้มาใช้บริการที่บำรุงราษฎร์ด้วยปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก แต่หากเป็นผู้ป่วยที่ต้องการหมอที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษก็จะส่งตัวมารักษาที่กรุงเทพฯ โดยระบบข้อมูลต่างๆ จะลิงค์ถึงกันหมด เพราะใช้ซอฟต์แวร์ระบบโรงพยาบาลชุดเดียวกันที่ทางบำรุงราษฎร์พัฒนาขึ้นเอง

ขณะนี้ทางผู้บริหารก็ยังมองหาจังหวะในการรุกเข้าสู่ประเทศอื่นด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย หรือตุรกี ขึ้นอยู่กับว่าโอกาสและความพร้อมจะเป็นเมื่อใด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us