Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550
จีนกับความพยายาม "ทำความสะอาด" ถ่านหิน             
 


   
search resources

Energy




จีนกำลังพยายามจะควบคุมอุตสาหกรรมถ่านหิน ซึ่งแม้จะเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของจีน แต่ขณะเดียวกันก็กำลังคุกคามอนาคตของจีน

ปลายปีที่แล้ว จีนได้ฤกษ์เปิดโรงไฟฟ้าพลังถ่านหินแห่งใหม่มูลค่า 2.3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากที่สุดและ ประหยัดพลังงาน โรงไฟฟ้าใหม่นี้ตั้งอยู่ใกล้ กับเมือง Wenzhou ในมณฑล Zhejiang มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 1,000 เมกะวัตต์ และจะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินรุ่นใหม่ที่ใช้เทคโน โลยี "ถ่านหินสะอาด"ซึ่งประหยัดพลังงาน หม้อไอน้ำขนาดยักษ์ของโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ สามารถผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูงถึง 600 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่าจุดเดือด "วิกฤติ"(critical boiling point) แต่กลับใช้ถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิงน้อยลงร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้ารุ่นเก่าของจีน ในการผลิตไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง ประสิทธิภาพที่สูงของหม้อไอน้ำที่ใช้เทคโนโลยีใหม่นี้ ทำให้ได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า "ultra-supercritical"

Huaneng โรงไฟฟ้าของรัฐบาลจีน ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าใหม่ดังกล่าว อวดว่า โรงไฟฟ้าแห่งนี้จะวางมาตรฐาน ใหม่สำหรับการควบคุมมลพิษในจีน เพราะจะช่วยลดการแพร่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการทำให้โลกร้อน (global warming) โดยจะลดลงได้ประมาณร้อยละ 14 และจะสามารถกำจัดการระบายสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นมลพิษต่ออากาศได้เกือบสมบูรณ์

โรงไฟฟ้าของรัฐบาลจีน 5 แห่งกำลังสร้างโรงงาน ultra-supercritical ซึ่งใช้เทคโนโลยี "ถ่านหินสะอาด"ที่ประหยัดพลังงาน อย่างโรงไฟฟ้าที่ Wenzhou ดังกล่าว เพิ่มอีก 10 แห่ง เพื่อสร้างสมดุลระหว่างความต้องการพลังงานและการพัฒนาประเทศกับแรงกดดันที่จีนจะต้องปกป้องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของตน

อุตสาหกรรมพลังงานของจีนซึ่งใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักด้วยเทคโนโลยีที่ล้าหลัง กำลังต้องการการปรับปรุงอย่างเร่งด่วนที่สุด ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานที่ถูกที่สุดแต่ก็ "สกปรก"ที่สุด เพราะสร้าง มลพิษต่ออากาศ แต่จีนมีแหล่งถ่านหินสำรองซึ่งพิสูจน์แล้ว ถึง 1 ล้านล้านตัน เป็นรองก็แต่เพียงสหรัฐฯ กับรัสเซียเท่านั้น ซึ่งนับเป็นโชคดีของจีน ที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าพุ่งกระฉูดถึงร้อยละ 60 นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ขณะนี้จีนใช้ถ่านหินถึง 1 ใน 3 ของการบริโภคถ่านหินทั่วโลก โดยจีนได้ใช้ถ่านหินไปประมาณ 2.2 พันล้านตัน ในปีที่แล้ว เพื่อผลิตไฟฟ้าร้อยละ 80 ของไฟฟ้าทั้งหมดที่จีนผลิตได้ และถ่านหินยังเป็นเชื้อเพลิงหลัก ที่ชาวจีนใช้ให้ความอบอุ่นภายในบ้านถึงร้อยละ 75 ของเชื้อเพลิงที่ใช้ในบ้าน ถ้าขาดถ่านหิน เศรษฐกิจของจีนคงไม่อาจรุ่งเรืองได้ถึงขนาดนี้

แต่ก็เช่นเดียวกับอังกฤษและอดีตสหภาพโซเวียต ที่เศรษฐกิจ รุ่งเรืองเพราะถ่านหินในช่วงศตวรรษที่ 19 จีนกำลังเริ่มประสบปัญหา ด้านพลังงานเช่นเดียวกับที่อินเดีย มหาอำนาจทางเศรษฐกิจอีกชาติหนึ่งก็กำลังประสบอยู่ จีนเติบโตรวดเร็วและยาวนานจนรัฐบาลกลาง สูญเสียการควบคุมอุตสาหกรรมพลังงาน เกือบครึ่งหนึ่งของโรงไฟฟ้า ถ่านหินที่สร้างขึ้นในจีนระหว่างปี 2001 ถึง 2005 ล้วนเป็นโรงงานเล็กๆ ที่ใช้เทคโนโลยีแบบเก่า และสร้างโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่งบ่อยครั้งที่ไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลกลาง

ประธานาธิบดี Hu Jintao และนายกรัฐมนตรี Wen Jiabao จึงได้ประกาศนโยบายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นนโยบายเร่งด่วนประการหนึ่งของชาติ และรัฐบาลกลางจีนจะทุ่มงบประมาณหลายแสนล้านดอลลาร์ในช่วง 20 ปีข้างหน้านี้กับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และพัฒนารูปแบบการใช้พลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น พลังแสงอาทิตย์ พลังงานลม เชื้อเพลิงชีวมวล รวมถึงเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดด้วย

ผู้นำทั้งสองของจีนหวังว่า การพัฒนาการใช้พลังงานทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนจะสามารถ ชดเชยต้นทุนทางสังคมที่สูญเสียไป เพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบไร้การควบคุมของจีนได้ แต่กว่าจะถึงวันที่จีนจะสามารถควบคุม อุตสาหกรรมถ่านหินให้สะอาดได้ อาจต้องใช้เวลานานหลายทศวรรษ ในขณะที่ตอนนี้สุขภาพของชาวจีนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงจากภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม

สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหิน นอกจาก จะปกคลุมไปทั่วจีนแล้ว ยังกระจายข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เกิดฝนกรดในเกาหลีใต้ แคนาดาและยุโรป ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่แพร่ออกมาจาก การเผาไหม้ถ่านหินในจีน (จีนใช้ถ่านหินไป 2 หมื่น 5 พันล้านตันในปี 2005 ซึ่งสูงที่สุด ในโลก) ทำให้ชาวจีนต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึง 400,000 คนต่อปี ขณะที่ชาวบ้าน ในชนบทจีนมากกว่า 10 ล้านคน ต้องฟันผุ ได้รับพิษจากสารหนู หรือเป็นโรคข้อเข่าผิดปกติที่เรียกว่า knock-knee เนื่องจากรับประทานข้าวโพดและพริกไทย ที่ใช้วิธีผึ่งแห้งเหนือเตาถ่านภายในบ้าน เตาถ่านยังเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของหญิงชาวจีนในชนบท เพราะเป็นสาเหตุของโรคระบบ ทางเดินหายใจ

ธนาคารโลกเพิ่งระบุว่าเมือง Linfen ซึ่งเป็นเมืองถ่านหินในมณฑล Shanxi ของจีน เป็นเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก และในจำนวนเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดติดอันดับโลก 20 แห่งนั้นอยู่ในจีนถึง 16 แห่ง International Energy Agency องค์กรระหว่างประเทศ ด้านพลังงานคาดการณ์ว่า จีนจะแซงหน้าสหรัฐฯ ในฐานะประเทศที่แพร่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก เร็วกว่าที่เคยคิดไว้

จีนตั้งเป้าหมายจะลดการบริโภคพลังงานลงร้อยละ 20 ภายในปี 2010 และสัญญาจะลดสารก่อมลพิษอย่างซัลเฟอร์ไดออกไซด์ลงอย่างน้อยร้อยละ 10 ภายในช่วงเวลาเดียวกัน โดยรัฐบาลจีนได้เริ่มใช้มาตรการภาษีและกลไกทางการค้าอื่นๆ ในการ "ทำความสะอาด"อุตสาหกรรมพลังงาน ส่วนรัฐวิสาหกิจพลังงานยักษ์ใหญ่ของจีน ก็กำลังทุ่มลงทุนในการปรับปรุงเหมืองถ่านหินให้ทันสมัย สร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่รุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด และประหยัดพลังงาน และการใช้พลังงานทางเลือกจากถ่านหินทดแทนน้ำมัน

แต่ปัญหาคือจะกำจัดโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดเล็กและล้าหลังที่มีอยู่มากมายได้อย่างไร ทางการจีนเคยหยุดอนุญาต สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ ในช่วงปี 1999-2000 แต่หลังจากหมดช่วงเวลาดังกล่าว โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดเล็กก็ผุดขึ้นไปทั่ว เพราะเจ้าหน้าที่จีนในระดับท้องถิ่นต่างก็เร่ง หาพลังงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น เกิดไฟฟ้าดับบ่อยครั้งในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ของจีน ตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา เนื่องจาก ระบบกระจายถ่านหินของทางการจีน ไม่อาจทำได้ทันกับความต้องการใช้ของชาวจีน ทั่วประเทศ

สำนักข่าว Xinhua ของทางการจีนรายงานเมื่อไม่นานมานี้ว่า จีนไม่สามารถทำตามเป้าหมายการประหยัดพลังงานและการลดมลพิษ ตามที่ตั้งไว้ในปีที่แล้ว (2006) ได้ เพราะเพียงแค่กลางปีที่แล้วเท่านั้น การใช้พลังงานและการแพร่ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก็เพิ่มเลยเป้าหมายไปร้อยละ 1 และร้อยละ 6 ตามลำดับ

ความสนใจในเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดของจีน เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 คำว่า "ถ่านหินสะอาด"นั้น มีความหมายครอบคลุมตั้งแต่การปรับปรุงเหมืองถ่านหินให้ทันสมัย ไปจนถึงการแปลงถ่านหินให้เป็นเชื้อเพลิงเหลวหรือก๊าซซึ่งสะอาดกว่า สำหรับใช้กับรถยนต์และโรงไฟฟ้าทดแทนน้ำมัน ในเวลานั้นความต้องการใช้พลังงานของจีนยังน้อยกว่าในปัจจุบันมาก และจีนยังเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันสุทธิ แต่ขณะนี้จีนได้กลายเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดิบร้อยละ 40 ของน้ำมันดิบที่จีนใช้ทั้งหมด

ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นตลอดเวลา และเหมืองถ่านหินที่อันตรายของจีน ทำให้จีนจำต้องอ้าแขนรับเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกมองว่าเป็นของแพง และรัฐบาลจีนและรัฐวิสาหกิจของจีน กำลังทุ่มงบ 128,000 ล้านดอลลาร์ ลงทุนในท่อส่งและโรงงานใหม่ๆ ที่สามารถแปลงถ่านหินให้เป็นเชื้อเพลิงเหลวหรือก๊าซ เพื่อผลิตเชื้อเพลิง ดีเซล ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาดกว่า สำหรับใช้กับยานพาหนะ และผลิตก๊าซมีเทนสำหรับใช้กับโรงไฟฟ้า รวมทั้งผลิตก๊าซ dimethyl เป็นเชื้อเพลิงสำหรับใช้กับการขนส่ง เชื้อเพลิงหุงต้มในครัวเรือน และใช้สำหรับให้ความอบอุ่น

โดยบริษัท Shenhua ของจีนกำลังก่อสร้างโรงงานเชิงพาณิชย์ แห่งแรกของโลก ที่สามารถแปลงถ่านหินให้เป็นน้ำมันที่กลั่นแล้ว ซึ่ง สามารถนำไปใช้ในการผลิตพลาสติกหรือเป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ได้ Shenhua ยังจับมือกับบริษัทต่างชาติ เช่น Shell และ Sasol ซึ่งเป็น บริษัทแอฟริกาใต้ ที่บุกเบิกเรื่องการแปลงถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเหลว ในการร่วมทุนผลิตเชื้อเพลงดีเซลสะอาดจากก๊าซ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้ผลแน่นอนกว่า โดย Sasol China คาดว่าโรงงานใหม่ 2 แห่งในมณฑล Shanxi กับ Ningxia ของจีน จะสามารถผลิตดีเซลสะอาดได้โรงงานละ 80,000 บาร์เรลต่อวัน ภายในปี 2013

นอกจากนี้จีนยังหวังจะสร้างโรงงานแปลงถ่านหินเป็นก๊าซที่ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Internal Gas Combined Cycle : IGCC ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะถ่ายคาร์บอนออกไปในระหว่างการผลิตขึ้นอีก 3 แห่งภายในปี 2010

อุตสาหกรรมถ่านหินของจีนประกอบด้วยรัฐวิสาหกิจขนาดยักษ์ของรัฐบาลกลางกับอีกส่วนหนึ่งเป็นเหมืองถ่านหินขนาดเล็กของ รัฐบาลท้องถิ่นและผู้ประกอบการท้องถิ่น โดยเหมืองขนาดเล็กเหล่านี้ ผลิตถ่านหินได้ประมาณ 1 ใน 3 ของผลผลิตถ่านหินทั้งหมดของจีน แต่มีอัตราการเสียชีวิตของคนงานเหมือง 2 ใน 3 ของการเสียชีวิตทั้งหมด อัตราการเสียชีวิตนี้ลดลงร้อยละ 21 ในปีที่แล้ว หลังจากทางการจีนสั่งปิดเหมือง 1,700 แห่งจากที่มีอยู่ทั้งหมด 26,000 แห่ง

อย่างไรก็ตาม ปัญหาของอุตสาหกรรมถ่านหินของจีนคือ การควบคุม อย่างเช่นแม้กฎหมายจะกำหนดให้เหมืองถ่านหินทุกแห่ง จะต้องมีเครื่องมือชะล้างเถ้าถ่าน ซึ่งทำให้เกิดมลพิษและกากแร่ ซึ่งลดประสิทธิภาพการใช้พลังงาน แต่ก็มีเพียงร้อยละ 30 ของเหมือง ถ่านหินในจีนเท่านั้นที่ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับดังกล่าว

ปัญหาการควบคุมก็เป็นปัญหาของอุตสาหกรรมไฟฟ้าเช่นกัน โรงไฟฟ้าใหม่ๆ เกือบทุกแห่งของจีน จะมีเครื่องกรองซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือฝุ่นละออง แต่มักไม่ได้ใช้ เนื่องจากการเดินเครื่องระบบควบคุมมลพิษต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง

รัฐบาลจีนพยายามใช้มาตรการภาษี เพื่อหวังกำจัดเหมืองถ่านหินที่ไม่ปลอดภัยหรือไม่มีประสิทธิภาพออกไปจากธุรกิจ โดยเรียกเก็บค่าปรับสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสารก่อมลพิษจากเหมืองถ่านหินเพียงตัวเดียวในจีน ที่ถูกเรียกเก็บค่าปรับ และค่าปรับ ต่อการแพร่ซัลเฟอร์ไดออกไซด์จำนวน 1 ตัน ก็ได้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และอาจจะเพิ่มสูงขึ้นอีก นอกจากนี้ทางการจีน ยังจะปรับปรุงระบบการแจกจ่ายไฟฟ้า เพื่อที่จะให้โรงไฟฟ้าถ่านหินที่สะอาดกว่าและประหยัดพลังงานมากกว่า สามารถขายไฟฟ้าได้มากกว่าโรงไฟฟ้าที่ยังคงใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัยและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

ตลาดค้าคาร์บอนเครดิตโลก ซึ่งตั้งขึ้นตามพิธีสารเกียวโตและมีอายุได้ 2 ปีแล้ว อาจมีส่วนช่วยให้อุตสาหกรรมถ่านหินของจีน สะอาดได้ "คาร์บอนเครดิต"เกิดจากการที่ชาติพัฒนาแล้ว มาลงทุน ในกิจการที่ช่วยลดการแพร่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศกำลังพัฒนา โดยประเทศพัฒนาแล้วที่มาลงทุนนั้น จะได้รับคาร์บอนเครดิต กลับไป ซึ่งสามารถนำไปซื้อขายกับประเทศพัฒนาแล้วด้วยกัน ผ่านตลาดค้าคาร์บอนโลก

สำหรับในจีน มีโครงการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 200 โครงการ และสถาบันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนของจีน ยังกำลังชักชวนนักลงทุนสหรัฐฯ ให้เข้ามาลงทุนสร้างโรงงานซีเมนต์ที่ใช้ถ่านหินอย่างมีประสิทธิภาพทั้งหมด 25 แห่งในจีน เพื่อให้สหรัฐฯ ได้รับคาร์บอนเครดิตกลับไปขายให้แก่อังกฤษ โดยจีนหวังว่า โรงงานซีเมนต์เหล่านั้นจะสามารถเป็นต้นแบบให้แก่ผู้ผลิตซีเมนต์ที่เหลืออีก 4,000 รายในจีน ซึ่งผลิตซีเมนต์เป็นจำนวนร้อยละ 45 ของซีเมนต์ที่ผลิตได้ในโลก และบริโภคถ่านหินมากกว่า 100 ล้านตันต่อปี

ชาติตะวันตกต้องการได้สิ่งทอ ซีเมนต์และเหล็กกล้าราคาถูกจากจีน แต่ขณะเดียวกันก็ผลักดันให้จีนเพิ่มค่าเงินหยวน ซึ่งจะชะลอการส่งออกของจีน และกดดันให้ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม จีนรู้สึกไม่พอใจ เนื่องจากจีนจำเป็นต้องมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว เพื่อจะสร้างงานให้แก่ชาวจีนที่มีจำนวนมหาศาล และเนื่องจากชาติตะวันตกเองต่างหากที่เป็นผู้มีส่วนสำคัญที่ทำให้โลกร้อนขึ้น Camco International บริษัทค้าคาร์บอนเครดิตในลอนดอนแนะจีนว่า ไม่ควรยอมปรับเพิ่มค่าเงินหยวนตามที่ถูกกดดัน แต่ควรจะเพิ่มต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมลงไปในการผลิตสินค้าของจีน กล่าวคือ เก็บภาษีถ่านหินในสินค้าที่จีนผลิต ซึ่งไม่ช้าก็เร็วก็เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าการเพิ่มต้นทุนดังกล่าว จะทำให้สินค้าจีนที่ขาย ทั่วโลกจะมีราคาแพงขึ้น แต่ในขณะเดียว กัน จีนก็จะได้รับประโยชน์จากการที่สภาพแวดล้อมในจีนเองก็จะสะอาดขึ้นด้วย

เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์ แปลและเรียบเรียง
จาก นิวสวีค 15 มกราคม 2550   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us