|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
“ปรีดิยาธร”โยนประธานบอร์ดบริหารคนใหม่ชี้ขาดเพิ่มทุน ปฏิเสธเงินเพิ่มทุนงอกจาก 3.5 หมื่นล้าน เป็น 6.5 หมื่นล้าน มากเกินไป ยอมรับการลดเครดิตหุ้นกู้ของทริสส่งผลต้นทุนหุ้นกู้สูงตามไปด้วย ขณะที่ “สมหมาย” รับสภาพแบงก์แย่ก็ควรถูกลดเครดิตตามไปด้วย พูดส่งเดช คลังพร้อมเพิ่มทุนแต่ยังไม่พร้อมที่จะจ่ายเงิน
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้บริหารธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) (TMB) กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำแผนการระดมทุนในครั้งนี้อยู่และยังไม่ได้ส่งมายังกระทรวงการคลัง โดยคาดว่าธนาคารทหารไทยจะสรุปผลการเพิ่มทุนครั้งนี้ได้ ต้องรอให้ประธานกรรมการบริหารคนใหม่ที่จะมีการแต่งตั้งในการประชุมกรรมการธนาคารครั้งต่อไปเป็นผู้ตัดสินใจและส่งแผนมายังกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนสูงถึง 65,000 ล้านบาทตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
ส่วนการที่ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ประกาศลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Hybrid Tier 1 Securities) ของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB เป็น B จากเดิมที่ B+ ไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะของธนาคารแต่อย่างใด แต่ยอมรับว่าการปรับอันดับความน่าเชื่อถือครั้งนี้อาจส่งผลกระทบต่อการระดมทุนในอนาคตของธนาคารได้ เนื่องจากจะทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยในการระดมทุนเพิ่มขึ้น
“การลดเครดิตหุ้นกู้ของฟิทช์ครั้งนี้คงไม่สงผลกระทบต่อธนาคารมากนัก ที่กระทบก็คงมีเพียงต้นทุนหุ้นกู้ที่จะออกในครั้งต่อไปแพงขึ้นเล็กน้อย แต่เท่าที่คุยกับนักลงทุนต่างประเทศเขายอมรับว่าฐานะของธนาคารไทยมีความแข็งแกร่งเนื่องจากใช้การตั้งสำรองตามเกณฑ์มาตรฐานบัญชีใหม่ (IAS 39) ของธนาคารแห่งประเทศไทย จึงทำให้ต่างชาติมีความเชื่อมั่นมากขึ้น” ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การลดเครดิตของฟิทช์ เรตติ้ง ไม่มีผลกระทบต่อธนาคารโดยเฉพาะหุ้นกู้ที่ต้องมีการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงกลางปีนี้ เพราะธนาคารได้เตรียมเงินสำหรับจ่ายให้กับหุ้นกู้ที่ครบอายุชุดดังกล่าวไว้แล้ว ซึ่งการลดอันดับเครดิตในครั้งนี้ก็เป็นไปตามสภาพความเป็นจริงของธนาคาร
“เราต้องยอมรับสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมือภาพของธนาคารที่ออกมามันไม่ดีเขาก็ปรับลดเครดิตเป็นเรื่องธรรมดา ลดเพราะเกรดมันต่ำลงโดยไม่เกี่ยวข้องกับการตั้งสำรองตามเกณฑ์ IAS39 ของแบงก์ชาติที่ออกมาแต่อย่างใด เราคงไม่ไปเถียงเขาต้องยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นและแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่บกพร่องให้ดีขึ้น” นายสมหมายกล่าว
นายสมหมายกล่าวว่า ส่วนแผนการเพิ่มทุนของธนาคารที่มีข่าวออกมาว่าต้องเพิ่มทุนอีก 65,000 ล้านบาทนั้นเป็นตัวเลขที่สูงเกินไปและธนาคารไม่จำเป็นต้องระดมทุนสูงขนาดนั้น โดยเท่าที่พิจารณาในเบื้องต้นเห็นว่าการเพิ่มทุนอีก 35,000 ล้านบาทก็น่าจะเพียงพอแล้วแต่ต้องรอให้คณะผู้บริหารธนาคารส่งแผนการเพิ่มทุนมาให้กระทรวงการคลังพิจารณาอีกครั้งก่อนที่จะมีการอนุมัติเพิ่มทุน
โดยในเบื้องต้นคาดว่าภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ผู้บริหารธนาคารน่าจะส่งแผนการเพิ่มทุนมาให้กระทรวงการคลังพิจารณาได้ แต่ในขณะนี้ก็ยังไม่สามารถระบุรายละเอียดการเพิ่มทุนใดๆ ได้ต้องรอความชัดเจนของแผลการเพิ่มทุนก่อน
“ยังบอกไม่ได้ว่าต้องทำอะไรบ้างแต่ที่แน่ๆ กระทรวงการคลังพร้อมสนับสนุนการเพิ่มทุนแต่ยังไม่พร้อมที่จะจ่ายเงินจนกว่าจะมีแผนที่ชัดเจนออกมา” นายสมหมายกล่าว
โดยวานนี้ ฟิทช์ เรทติ้งส์ได้แจ้งประกาศลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Hybrid Tier 1 Securities) ของธนาคารทหารไทย(TMB) เป็น ‘B’ จากเดิมที่ ‘B+’ และปรับแนวโน้มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-term Foreign Currency Issuer Default Rating (“IDR”)) เป็นมีเสถียรภาพ จากเดิมที่แนวโน้มเป็นบวก ฟิทช์ยังได้ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-term Foreign Currency IDR) ที่ระดับ ‘BB+’ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ ‘B’ อันดับเครดิตสากสกุลเงินต่างประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘BB’ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ ‘D’ และอันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘3’
ขณะเดียวกัน บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ได้ประกาศปรับแนวโน้มอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ TMB เป็นมีเสถียรภาพ จากเดิมที่แนวโน้มเป็นบวก และคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ระดับ ‘A(tha)’ อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F1(tha)’ และอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘A-(tha)’ (A ลบ (tha))
ทั้งนี้ การปรับลดอันดับเครดิตของ Hybrid Tier 1 Securities ของธนาคาร สะท้อนถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการที่ธนาคารจะไม่จ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ถือ Hybrid Tier 1 Securities ภายหลังจากที่ได้มีการรายงานผลขาดทุนสุทธิที่ 12.3 พันล้านบาท ในปี 2549 เมื่อไม่นานมานี้และเมื่อพิจารณาถึงความสามารถในการทำกำไรที่ไม่แข็งแกร่ง คุณภาพสินทรัพย์ที่อ่อนแอ และความเสี่ยงในการกันสำรองเพิ่มเติมของธนาคารซึ่งอาจส่งผลกระทบเงินกองทุนในอนาคต การงดจ่ายผลตอบแทนดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับว่าระดับของความเข้มงวดที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) จะทำการตีความข้อบังคับเกี่ยวกับตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาและการประเมินของ BOT เกี่ยวกับเสถียรภาพของธนาคาร อาทิเช่น ระดับของเงินกองทุน ความสามารถในการทำกำไร หรือระดับกำไรสะสม
อนึ่ง ณ สิ้นปี 2549 อัตราส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 ของ TMB ลดลงเป็น 7.3% จาก 10% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2549 ระดับขาดทุนสะสมของธนาคารได้รับการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 55 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2549 จาก 43.2 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2549 แม้ว่าธนาคารจะทำการเพิ่มทุนในปี 2550 รวมทั้งปรับโครงสร้างเงินกองทุนของธนาคาร ธนาคารก็ยังคงมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถกำจัดตัวเลขขาดทุนสะสมดังกล่าวได้
|
|
|
|
|