Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 มกราคม 2550
มาตรการ30%แหกตา-ธปท.ลดหย่อนรายวัน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Banking and Finance




มาตรการ 30% แหกตารายวัน ล่าสุดแบงก์ชาติเปิดแถลงข่าวด่วน ยกเว้นให้ต่างชาติทั้งวอร์แรนท์ สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์หลักทรัพย์อ้างอิงตราสารทุน และการซื้อหรือจ่ายค่าเอ็นพีแอลตามภาระค้ำประกันที่บริษัทแม่ในต่างประเทศต้องจ่ายให้แก่บริษัทลูกที่จดทะเบียนในไทย เตรียมให้นักลงทุนต่างชาติเปิดบัญชี SNT เพิ่มอีก 1 บัญชี เพื่อชำระเงินบาทค่าสินค้าและบริการระหว่างต่างประเทศ ต้องมีเงินบาทในบัญชีนี้ไม่เกิน 3 วันและมียอดคงค้างในบัญชี ณ สิ้นวันได้ไม่เกิน 100 ล้านบาท พร้อมส่งหนังสือเวียนขอความร่วมมือแบงก์ ห้ามซิกแซก ไม่แลกเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาท เพื่อเลี่ยงเกณฑ์กันสำรองเงินทุนนำเข้า 30%

นายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดแถลงข่าวเย็นวานนี้ (29 ม.ค.)ว่า ธปท.ได้ออกประกาศให้นักลงทุนต่างชาติที่นำเงินตราต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทสามารถเลือกกันสำรอง 30% หรือป้องกันความเสี่ยง โดยหากนักลงทุนต่างชาติกู้ยืมเงินตราต่างประเทศทั้งในรูปของเงินกู้แบบทั่วไปและเงินกู้ยืมระหว่างบริษัทในเครือ (Inter-company Loan) และเงินตราต่างประเทศที่ได้รับจากการออกตราสารหนี้ สามารถป้องกันความเสี่ยงกับสถาบันการเงินในประเทศ (on-shore) เท่ากับจำนวนเงินและระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ (Fully Hedge) ในรูปของการทำสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (FX Swap) หรือการซื้อขายข้ามสกุลเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Cross Currency Swap) ทั้งนี้ ไม่รวมการป้องกันความเสี่ยงกับสถาบันการเงินในต่างประเทศ (off-shore)

สำหรับเงินกู้ที่อายุมากกว่า 1 ปี ต้องป้องกันความเสี่ยงแบบ fully hedge อย่างน้อย 1 ปี โดยหลังครบกำหนด 1 ปี ผู้กู้ยืมสามารถบริหารความเสี่ยงได้ตามที่ความเหมาะสมให้สอดคล้องกับธุรกรรมของธุรกิจนั้นๆ

นอกจากนี้นักลงทุนต่างชาติที่มีสินเชื่อเงินตราต่างประเทศเพื่อการส่งออกในลักษณะของสินเชื่อเงินตราต่างประเทศระยะสั้นสำหรับผู้ส่งออกที่นำไปซื้อวัตถุดิบ ผลิตสินค้าหรือจัดเตรียมสินค้า (Packing Credit) อายุไม่เกิน 180 วัน ที่สถาบันการเงินในประเทศให้แก่ลูกค้าในประเทศ และผู้กู้ยืมสัญญาว่าจะนำเงินตราต่างประเทศที่จะได้รับจากค่าสินค้าในอนาคตมาชำระคืนเงินกู้ให้ครบก็สามารถเลือกกันสำรองหรือเลือกป้องกันความเสี่ยงได้ด้วย

“ธุรกิจใดจะเลือกกันสำรอง30%แบบเดิม หรือจะเลือกป้องกันความเสี่ยงก็ได้ ขึ้นอยู่กับต้นทุนธุรกิจของแต่ละประเภท โดยหากเลือกกันสำรองจะมีต้นทุนประมาณ 1.5% ส่วนหากเลือกป้องกันความเสี่ยงจะมีต้นทุนจากความแตกต่างดอกเบี้ยระหว่างในประเทศกับต่างประเทศ อีกทั้งภาคธุรกิจจะได้ประโยชน์จากการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนด้วย”

ธปท.ยังยกเว้นมาตรการกันสำรอง30% ให้แก่ตราสารทุนบางประเภท ได้แก่ ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นทุน(Warrant) สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (Transferable Subscription Right) และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์หลักทรัพย์อ้างอิงตราสารทุน(Depository Receipt) ทั้งนี้ต้องเป็นตราสารที่เกี่ยวกับหุ้นทุนเท่านั้น ไม่รวมถึงประเภทที่มี Option ที่ไม่เกี่ยวข้องกับหุ้นทุน นอกจากนี้ ยังยกเว้นให้แก่ธุรกรรมที่มีการนำเงินตราต่างประเทศมาซื้อหรือจ่ายหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ทุกประเภทที่ผ่านกระบวนการของศาลตามภาระค้ำประกันของบริษัทแม่ในต่างประเทศที่มีต่อบริษัทลูกที่อยู่ในไทยด้วย

ขณะเดียวกัน ธปท.ยังได้มีการอำนวยให้ความสะดวกให้แก่นักลงทุนต่างชาติมากขึ้น โดยหากนักลงทุนต่างชาติรายใดที่ต้องการการชำระเงินบาทค่าสินค้าและบริการระหว่างต่างประเทศจะต้องขอมีบัญชีเงินบาทเพื่อประโยชน์ในการชำระค่าสินค้าโดยเฉพาะ(Special Non-resident Baht Account for Trades and Services ) หรือบัญชี SNT กับธนาคารพาณิชย์ โดยเงินบาทที่ฝากเข้าบัญชีไม่ต้องถอนออกภายใน 3 วันทำการ และสามารถเก็บเงินบาทนั้นไว้ในบัญชี เพื่อใช้จ่ายชำระค่าสินค้าและบริการในไทยได้ แต่ต้องมียอดคงค้างในบัญชี ณ สิ้นวันไม่เกิน 100 ล้านบาท

ขณะเดียวกันธปท.ก็มีการขยายระยะเวลาเงินบาทนำเข้าบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (NRBA) รวมถึงดอกเบี้ยและผลประโยชน์จากการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนในไทยที่มีบัญชีมูลค่าต่ำกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งไม่ต้องส่งออกภายใน 3 วันทำการ จากเดิมที่กำหนดให้ส่งออกภายใน 1 วัน และมียอดคงค้าง ณ สิ้นวัน ไม่เกิน 300 ล้านบาท

“เงินทุนไหลเข้าออกในแต่ละบัญชีขึ้นอยู่กับช่วงเวลา โดย ณ สิ้นวันเฉลี่ยมีเงินทุนไหลเข้าบัญชี SNSประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท ส่วนบัญชี NRBA มีเม็ดเงินไหลเข้าประมาณ 1.3-1.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับในก่อนหน้านี้ ”

ทั้งนี้ บัญชี NRBA สามารถเปิดได้ตามปกติ เพื่อใช้ในการชำระเงินทุกประเภทของธุรกรรมตามระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และบัญชี SNS เป็นบัญชีพิเศษที่ใช้ประโยชน์การลงทุนหุ้นและสัญญาล่วงหน้าของตลาด TFEX และ AFET ส่วนบัญชี SNT เป็นบัญชีพิเศษที่ใช้เพื่อการชำระค่าสินค้าและบริการ อย่างไรก็ตามเงินบาทในบัญชีแต่ละประเภทสามารถโอนไปมาระหว่างบัญชีประเภทเดียวกันได้ ยกเว้นบัญชี SNS ที่รับโอนจากบัญชี NRBA ได้ โดยการโอนเงินระหว่างผู้มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ(NR)ด้วยกันได้

ส่งหนังสือเวียนแบงก์วอนแบงก์ช่วย

ธปท.ยังได้ออกหนังสือเวียนเป็นประกาศไปยังธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจทุกแห่งในการขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทให้เข้มงวดมากขึ้น เนื่องจาก ธปท.พบว่าสถาบันการเงินในต่างประเทศมีความพยายามทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศแลกบาท ทั้งในส่วนของการซื้อขายพันธบัตร ตราสารหนี้ และการทำสัญญาซ้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า โดยชำระเฉพาะส่วนต่างการซื้อขายเท่านั้น ไม่มีการส่งมอบเงินตราต่างประเทศแลกบาทจริงตามสัญญา(Non-Deliverable Forward : NDF) ซึ่งเป็นความพยายามหลีกเลี่ยงมาตรการกันเงินสำรอง30% ที่ธปท.ได้ประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2549 ที่ผ่านมา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพเงินบาทได้

ธปท.จึงขอย้ำว่า ธปท.ไม่สนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรม NDF ของให้สถาบันการเงินกำกับดูแลไม่ให้มีธุรกรรม NDF ตามหนังสือเวียนลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 49 เรื่องขอความร่วมมือปฎิบัติมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท ข้อ 6 มาตรการดูแล NDF ซึ่งระบุว่าขอให้สถาบันการเงินระงับการทำธุรกรรม NDF อ้างอิงเงินบาทกับบุคคลที่มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ (นอนเรสซิเด้นท์) ยกเว้นกรณีต่ออายุ ( Rollver )สัญญาเดิมหรือกรณีจำเป็นต้องยกเลิกสัญญาที่ทำไว้ (Unwind) เนื่องจากเกิดความผิดพลาดของลูกค้าคู่สัญญาที่ไม่สามารถนำเงินมาชำระเต็มมูลค่าสัญญาได้เท่านั้น

ด้านนายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ธปท.กล่าวว่า การที่ธปท.ขอความร่วมมือไปยังธนาคารพาณิชย์ ไม่ให้สนับสนุนการทำธุรกรรม NDF เนื่องจากตอนนี้พบว่าในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทในต่างประเทศ (Off Shore) มีเงินบาทค่อนข้างน้อย จึงแก้ปัญหาโดยการทำธุรกรรม NDF โดยเวลามีการทำธุรกรรมก็จะใช้วิธีหักลบกลบหนี้แล้วจ่าย หรือรับเฉพาะส่วนต่าง ซึ่งทำให้เงินที่ต้องจ่ายเป็นเงินบาทน้อยลง หรือได้เงินบาทออกไปต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีบางส่วนซึ่งจ่ายส่วนต่างที่เป็นเงินดอลลาร์ สรอ. แทนการจ่ายเป็นเงินบาท ซึ่งทำให้ไม่ต้องกันเงินสำรอง 30%

“โดยปัญหาตอนนี้ ก็คือ หากใช้วิธีนี้ในการทำธุรกรรม ข้อมูลการทำธุรกรรมหายไป มีเงินดอลลาร์เข้ามา หรือเงินบาทออกไปอย่างไร เพราะไม่รู้ว่าการทำธุรกรรมตอนนี้ชำระกันอย่างไร เพราะมีการหักลบกลบหนี้ไป และถือว่าเป็นการเลี่ยงมาตรการกันสำรอง 30% “ นายสุชาติกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท. ไม่ยอมให้สัมภาษณ์ใดๆ หลังล่าสุดเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า ธปท.เตรียมยกเว้นมาตรการกันสำรอง 30% ให้ตลาดตราสารหนี้ ทำให้นักวิชาการวิพากษ์วิจารณ์แบบชี้ชัดว่า เป็นความผิดพลาดเชิงนโยบายของ ธปท.และกระทรวงการคลัง

"หลังจากประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. ที่ผ่านมา เพียง 1 วันต้องยกเว้นบังคับใช้กับตลาดหุ้น กระทั่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาหรือผ่านมา 1 เดือน ได้ยกเว้นให้ภาคเอกชนที่ไปกู้ต่างประเทศ ล่าสุดวานนี้ก็ยกเว้นให้นักลงทุนต่างชาติหลายรายการ ขณะนี้เหลือเพียงกองทุนอสังหาริมทรัพย์เท่านั้นที่ยังบังคับใช้มาตรการฯ นับเป็นความปัยศอย่างแท้จริง เพราะไม่เพียงแค่ตลาดหุ้นไทยต้องพังไปกว่า 8 แสนล้านบาท และทำให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยเท่านั้น ค่าเงินบาทยังอยู่ที่ 35.80 บาทต่อดอลลาร์ หรือยังไม่อ่อนค่าเพื่อเอื้อต่อผู้ส่งออกตามที่ ธปท.และ ม.ร.ป.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ และ รมว.คลัง กล่าวอ้าง" แหล่งข่าวนักวิชาการกล่าวและว่า มีความเป็นไปได้ที่การออกมาตรการฯ ครั้งนี้ เป็นการกลบความเสียหายจากการเข้าซื้อขายค่าเงินบาทของ ธปท.จนขาดทุนกว่า 2 แสนล้านบาท เมื่อปีที่ผ่านมา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us