|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
DELTA ปีนี้ยังคงใช้นโยบาย เน้นสินค้ามูลค่าเพิ่มมาร์จิ้นสูง เพื่อดันให้กำไรเติบโต แม้ยอดขายขยับไม่มาก หลีกสินค้าผลิตจากจีนเพราะสู้ค่าแรงไม่ไหว จึงต้องหันมาผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม มั่นใจอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังขยายตัว และตลาดมีความต้องการสินค้าเพิ่ม พร้อมทำ HEDGING ทั้งหมด ป้องกันความผันผวนค่าเงิน หลังปีที่ 49 ค่าบาทแข็งเกินคาด หวั่นส่งผลทบต่อกำไร ส่วนโรงงานที่สโลวาเกียเดินเครื่องเต็มที่มีนาคมนี้ ขณะที่และอินเดียผลิตได้ปีหน้า
นายอนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DELTA) เปิดเผยว่าปีนี้บริษัทไม่ได้เน้นตั้งเป้ายอดขายให้เติบโตต่อเนื่อง แต่จะเน้นการผลิตสินค้าที่มีมาร์จิ้นสูง เพื่อดันกำไรจากการดำเนินงานให้เติบโต พร้อมกับเร่งโรงงานในประเทศอินเดียแล้วเสร็จ หลังพบว่าการเติบโตของตลาดในประเทศดังกล่าวสูงมาก แม้จะเร่งแต่ก็ยังเชื่อว่าโรงงานนี้จะเสร็จและเดินเครื่องผลิตได้ในปี 51 ซึ่งขณะนี้ DELTA ได้เช่าโรงงานในอินเดียเพื่อผลิตสินค้าจำหน่าย
" สโลวาเกียตลาดไม่สู้อินเดีย แต่กำลังซื้อของสโลวาเกียมีมากกว่า ที่อินเดียเราเร่งก็คงไม่ได้ดังใจนัก เพราะเทคโนโลยีและพฤติกรรมของแรงงาน เลยช้าไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้เสียหายกับเรา ปัจจุบันเราขายที่อินเดียปีละ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คนเขาเยอะและการเติบโตสูงมาก แม้กำลังซื้อน้อย ประเทศเขายังต้องการเทคโนโลยีอีกมากพร้อมกับการพัฒนาประเทศด้วย " นายอนุสรณ์กล่าว
โดยโรงงานที่สโลวาเกียนั้นขณะนี้เดินหน้าผลิตได้บ้างแล้ว จะเริ่มดำเนินการผลิตได้เต็มกำลังในเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งโรงงานนี้สร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในแถบยุโรป และเป็นฐานการผลิตเพื่อตลาดยุโรป
สำหรับ ตัวเลขมาร์จิ้นจากการดำเนินงานเฉลี่ยปีนี้จะเพิ่มขึ้นมาอยู่เหนือ 20% ขณะที่ปี 49 นั้นต่ำกว่า นอกจากนี้ DELTA ยังเล็งที่ปรับแผนการผลิตด้วยการเลี่ยงผลิตสินค้าที่ต้องใช้แรงงานมากและเป็นสินค้าที่มาร์จิ้นต่ำ หรือยอดขายไม่เติบโต รวมทั้งสินค้าที่ประเทศจีนผลิตออกมาแข่งขันด้วย เนื่องจากสู่ค่าแรงจากจีนไม่ได้ ทำให้เกิดส่วนต่างเรื่องราคา
นายอนุสรณ์กล่าวถึงเงินบาทที่แข็งค่าว่า ส่งผลกระทบต่อบริษัทเช่นกัน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ไม่คาดมาก่อนเลยว่าค่าเงินจะทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท เนื่องจาก DELTA ป้องกันผลกระทบจากค่าเงิน ด้วยการทำ HEDGING ไว้แล้วแต่ไม่ได้ป้องกันไว้ทั้งหมด และจากค่าเงินบาทเมื่อต้นปี 49 อยู่ที่ประมาณเกือบ 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่ปลายปี 49 พบว่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าอยู่ที่กว่า 36 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นส่วนต่างที่ห่างกันอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น ปีนี้ DELTA จึงหันมา HEDGING ไว้ทั้งหมด เพื่อป้องกันผลกระทบและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากค่าเงินบาทแข็งและอ่อนค่ามากเกินไป เพราะอย่างน้อยก็ทำให้เกิดส่วนต่างของกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
" ก่อนหน้านี้เราไม่กังวลและเชื่อผลของการแข็งค่าของเงินบาทจะไม่ส่งผลกระทบต่อเรา แต่จากต้นปีมาปลายปี ค่าเงินเปลี่ยนไปมาก จะบอกว่าไม่กระทบ ก็ใช่ แต่เราก็ต้องการเห็นตัวเลขกำไรและการแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ต่อบาท มันต่างมากจากที่เคย ไม่คิดว่าปลายปีบาทจะแข็งค่าได้ขนาดนี้ ผู้ประกอบการส่งออกก็โดนกันหมด " นายอนุสรณ์กล่าว
โดยปี 49 DELTA ตั้งเป้าการเติบโตจากก่อนหน้าที่บริษัทตั้งเป้าไว้ 10-15% แต่นับจากปี 48 เป็นต้นมา DELTA กลับไม่ได้เน้นการทำยอดให้เพิ่มต่อเนื่องแล้ว แต่จะหันมาผลิตสินค้าที่มีมาร์จิ้นสูง พร้อมกับการควบคุมต้นทุนให้ต่ำ อันจะทำให้เกิดผลตอบแทนจากการดำเนินงานอย่างคุ้มค่านั่นคือผลกำไรที่จะตามมา ส่งผลดีไปยังผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ต้องได้รับเงินปันผลอย่างต่อเนื่องทุกปี
สำหรับการจ่ายเงินปันผลงวดนั้น จะประเมินจากเงินสดที่มีอยู่ในมือและต้องดูจากควต้องการใช้เงินในอนาคตเพื่อลงทุนว่าจะใช้มากน้อยเพียงใด ซึ่งเหลือจากการเม็ดเงินที่ใช้ลงทุน จึงจะขึ้นอยู่กับความต้องการใช้เงินขณะนั้นด้วย และจากส่วนแบ่งตลาดของบริษัทที่เพิ่มขึ้น เชื่อว่าตลาดโดยรวมของอุตสาหกรรมชิ่นส่วนอิเล็กทรอนิกส์น่าจะเติบโตสูงกว่าเดิม เนื่องจากความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้น
นายอนุสรณ์กล่าวว่า ผลงานของปี 49 ทั้งปีนั้นน่าจะทำได้ตามเป้าหมายคือที่ระดับไม่ต่ำกว่า 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น น่าจะทำได้ไม่ต่างจากที่ตั้งไว้ และหลังจากที่บริษัทมีผู้บริหารใหม่อย่าง นายเซีย เหิง เซียน หรือเฮนรี่ ที่มีประสบการณ์สูงในธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เมื่อเข้าร่วมงานกับเดลต้าไทย เขาก็เป็นหนึ่งในแกนนำสำคัญในการพัฒนาธุรกิจของกลุ่มเดลต้า เอ็นเนอร์ยี่ ซิสเต็มส์ (DES) ที่บริษัทฯได้ซื้อกิจการมาเมื่อเดือนกลางปี46 และได้รับแต่งตั้งเป็น CEO ของกลุ่ม DES เมื่อปี 47 จนสามารถเจาะตลาดยุโรปและอินเดียได้ ทำให้กลุ่ม DES สามารถลดการขาดทุนลงและจะทำสร้างกำไรในอนาคตอันใกล้นี้
|
|
|
|
|