Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 มกราคม 2550
ตลาดตราสารหนี้เตรียมเฮ ธปท.ยกเว้นกันสำรอง 30%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธาริษา วัฒนเกส
Bond




แบงก์ชาติเตรียมผ่อนมาตรการกันสำรอง 30%ให้ตลาดตราสารหนี้ "ธาริษา" ยกเหตุตาสว่างหลังออกจากถ้ำคุยภาคเอกชนพบว่าการผ่อนคลายการกู้เงินจากต่างประเทศทำให้ธุรกิจไทยโล่งอก แต่ในส่วนกองทุนอสังหาฯ ยังแห้ว อ้างมีความเสี่ยงในการนำเงินเข้า-ออกได้เร็ว นายแบงก์ชี้ท่าทีที่ยกเว้นทีละขยักเป็นสิ่งพิสูจน์ชัด มาตรการฯ ล้มเหลว จี้ผู้ว่าฯ ธปท.และรัฐมนตรีคลังรับผิดชอบ

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “นโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยต่อธุรกิจตลาดทุน” ว่า หลังจากที่ธปท.เตรียมออกประกาศผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง30% ให้ภาคธุรกิจที่ต้องการกู้เงินตราต่างประเทศเข้ามาลงทุนหรือขยายกิจการในไทยสามารถเลือกปฏิบัติได้ระหว่างใช้มาตรการกันสำรอง 30%หรือเลือกที่จะใช้วิธีการทำป้องกันความเสี่ยง (hedging)ด้วยการทำสัญญาซื้อขายเงินตลาดต่างประเทศล่วงหน้าตามระยะเวลา(swap) และหากในอนาคตการผ่อนคลายวิธีนี้ได้ผล โดยค่าเงินบาทไม่มีความผันผวนมากนักก็เตรียมจะนำการผ่อนคลายวิธีนี้มาใช้กับตลาดตราสารหนี้ด้วย

“หลังจากที่ได้พูดคุยกับภาคธุรกิจและสถาบันการเงินไปแล้วให้เขาเลือกกันสำรองหรือป้องกันความเสี่ยงตามต้นทุนของธุรกิจนั้นๆ ซึ่งทุกฝ่ายก็แฮปปี้กับทางเลือกที่ดี ดังนั้น ต่อไปมาตรการกันสำรอง30% นี้จะมีการผ่อนคลายในเชิงปฏิบัติมากขึ้น เพื่อเข้ามาช่วยให้ภาคธุรกิจและในตลาดต่างๆ มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เมื่อค่าเงินบาทมีความผันผวนน้อยลง ซึ่งเราอยากเห็นค่าเงินบาทเริ่มเกาะไปตามกระแสค่าเงินในภูมิภาค ก็อาจจะยกเลิกมาตรการกันสำรอง30% ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราต้องการให้กลไกต่างๆ ดีก่อน”

นอกจากนี้ ธปท.ขอความร่วมมือให้ผู้ที่ถือครองตราสารหนี้ระยะสั้น (Commercial paper) ซึ่งต่างกับการซื้อขายตราสารหนี้ระยะยาวที่มีการจดทะเบียนผู้ถือครองอย่างชัดเจน ควรมีการจดทะเบียนผู้ถือครองเมื่อมีการเปลี่ยนมือในตลาดรอง ซึ่งจะทำให้ทราบตัวตนของผู้ที่ถือครองและช่วยให้เห็นข้อมูลต่างๆ ที่ชัดเจนมากและทราบถึงจุดเปราะบางในการลงทุนตราสารหนี้ด้วยว่าอยู่จุดไหนด้วย ถือเป็นการวางระบบในการเก็บข้อมูลตราสารหนี้ระยะสั้นที่ดีในอนาคต

“ปัญหาที่เกิดขึ้นเราไม่ใช่เจ้าปัญหา แต่เกิดจากสภาพคล่องตลาดโลกมีเยอะ ขณะเดียวกันนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นเศรษฐกิจสหรัฐ จึงหันมาลงทุนภูมิภาคเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะในไทย แต่ยืนยันว่าการใช้มาตรการ30%ไม่ใช่การถอยหลังเข้าคลอง ซึ่งก่อนออกมาตรการดังกล่าวก็ได้ขอคำแนะนำทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟแล้วและเขาก็เข้าใจดีและให้เอกสารประกอบการตัดสินใจ ก่อนมีมาตรการดังกล่าวออกมา

อย่างไรก็ตาม ไอเอ็มเอฟมองว่าต่อไปการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจของโลกจะมีความซับซ้อนมากขึ้น ฉะนั้นทุกประเทศควรมีการบริหารจัดการนโยบายการเงินที่เพิ่มความยืดหยุ่น เพื่อช่วยให้ตัวเองมีแรงต้านทานสิ่งที่เข้ามาให้มีมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันประเทศใหญ่ๆ อย่างจีน สหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรปก็ควรช่วยกันแก้ไขปัญหาด้วย เพราะไม่ใช่นั้นกรรมจะตกอยู่กับประเทศเล็กๆ และทำให้เราหมดกระสุนในการดูแลเศรษฐกิจได้”

สำหรับการขอผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง30%ให้แก่กองทุนอสังหาริมทรัพย์นั้น นางธาริษา กล่าวว่า แม้ว่าการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์จะเป็นการลงทุนระยะยาว แต่ด้วยการลงทุนประเภทนี้มีการขยายตัวได้รวดเร็วมาก ขณะเดียวกันผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งอาจเป็นนักลงทุนต่างชาติหรือนักลงทุนไทยก็สามารถเข้าออกได้ง่าย ถือว่าเป็นธุรกรรมที่มีความเสี่ยงอยู่ จึงขอประเมินผลที่เกิดขึ้นระยะหนึ่งก่อน

“การลงทุนในกองทุนอสังหาฯมีการขยายตัวได้เร็วมาก ซึ่งเราไม่อยากได้เงินร้อนเหล่านั้นเข้ามาในประเทศเรา แต่เมื่อเขาเข้ามาตามน้ำเข้ามาหาเก็งกำไรค่าเงินบาท ทำให้เราเหนื่อยมากขึ้น เราจึงต้องระมัดระวัง เพราะการลงทุนประเภทนี้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนจำนวนมาก และมีผู้ถือหน่วยลงทุนเข้ามาเพิ่มได้ตลอด ทำให้มีการขยายกองทุนใหญ่ได้ง่ายและรวดเร็ว ถือเป็นโปรดักท์ที่มีความเสี่ยงอยู่”

อย่างไรก็ตาม หลังจากธปท.ประกาศมาตรการ 30% ออกมาและนักลงทุนต่างชาติแห่ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นจำนวนเงิน 2.8 หมื่นล้านบาท ขณะนี้มีนักลงทุนต่างชาติถอนเงินออกนอกประเทศเพียงครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งรอลงทุนในไทยต่อไป เนื่องจากนักลงทุนเหล่านั้นมองว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังดีอยู่ และค่าพีอีก็อยู่ในระดับที่ต่ำ ถือเป็นการจูงใจนักลงทุนต่างชาติอยู่

ทั้งนี้ มาตรการกันสำรองเงินนำเข้า 30% ธปท.ประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยการกำหนดให้สถาบันการเงินที่รับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาท ต้องกันเงินสำรองเป็นเงินตราต่างประเทศไว้ 30% ของเงินตราต่างประเทศ

แหล่งข่าวแบงก์พาณิชย์กล่าวว่า ถึงวันนี้ต้องบอกว่าเป็นความผิดพลาดในเชิงนโยบาย เพราะนอกจากทำให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่นในการลงทุนแล้ว ช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นเสียหายกว่า 8 แสนล้านบาท ขณะที่เงินบาทยังอยู่ที่ระดับไม่เกิน 36 บาทต่อดอลลาร์หรือไม่ได้อ่อนค่าลงตามที่ ธปท.ต้องการ ซึ่งหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าการออกมาตรการสกัดเงินบาทแข็งค่าครั้งนี้ เป็นการกลบความเสียหายจากการเข้าซื้อขายค่าเงินบาทของ ธปท.จนขาดทุนกว่า 2 แสนล้านบาท

"ตอนนั้นแบงก์ชาติควรใช้ลดดอกเบี้ยสกัดค่าบาทแข็งแต่กลับไม่ทำ มาวันนี้คงเห็นว่าผิดพลาดจึงลดดอกเบี้ยนโยบาย ขณะเดียวกันทยอยยกเว้นมาตรการ 30% กับตลาดหุ้นและเงินลงทุนที่เอกชนไปกู้มา ตอนนี้จะยกเว้นให้ตลาดตราสารหนี้ นับเวลาแค่เดือนกว่าที่ออกมาตรการ จึงพิสูจน์ชัดว่าผู้ว่าฯ ธปท.และ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รมว.คลังซึ่งเคยเป็นผู้ว่าฯ ธปท. ผิดพลาดและต้องรับผิดชอบ"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us