Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543
Managing New Products             
 





Managing New Products เป็นหนังสือว่าด้วยกรอบในการชี้แนะแนวทางให้กับบริษัทในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยผู้เขียน ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางด้านการตลาด และการริเริ่มสร้างสรรค์ คูมาสดีได้เสนอกรอบแนวทาง ที่เรียกว่า MAPTM System ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนพื้นฐานในการริเริ่มสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ดังนี้

- การประเมิน โดยการหมั่นตรวจสอบผลตอบรับเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ และเปรียบเทียบกับสิ่งที่คาดหมายไว้

- บริหารการจัดการ เพื่อให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นโดยกำหนดตัวผู้รับผิดชอบ

- ชักจูงพนักงานให้ร่วมบุกเบิก และร่วมเสี่ยงโดยมีการประเมินวัดเป็นระบบ

- ทัศนคติ สร้างวัฒนธรรม ที่กระตุ้น และให้รางวัลกับการเสี่ยง และการสร้างสรรค์

- วางแผนยุทธศาสตร์ผลิตภัณฑ์ ที่มีจุดมุ่ง ที่ชัดเจนเกี่ยวกับบทบาทของผลิตภัณฑ์ใหม่ในยุทธศาสตร์ขององค์กร

- นำแผนเข้าสู่กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยมีการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

- ตั้งทีมงานรับผิดชอบ และสื่อสารให้เข้าใจร่วมกัน เพราะเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในกระบวนการริเริ่มสร้างสรรค์

นอกจากขั้นตอนพื้นฐานทั้ง 7 ข้อแล้ว ผู้เขียนยังให้คำแนะนำเพิ่มเติมในเชิงปฏิบัติด้วย ตัวอย่างเช่น ในการวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ เขากระตุ้นบริษัทให้ทำการตรวจสอบแบบวินิจฉัย เพื่อทำความเข้าใจบทบาททางการเงิน และทางยุทธศาสตร์ ที่ผลิตภัณฑ์ใหม่ใช้ในอดีต และคาดเดาจากข้อมูลไปในอนาคต เพื่อใช้เป็นแนวทางไปสู่ยุทธศาสตร์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป ผู้เขียนยังเสริมด้วยตัวอย่างของกิจการที่พ่ายแพ้แก่คู่แข่งทั้ง ที่มีแนวทางในเชิงรุกในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะกิจการดังกล่าวขาดการตรวจสอบแบบวินิจฉัย และ ที่สำคัญก็คือ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ล้มเหลวเหล่านั้น เป็นเพียงผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ ที่เสริมต่อหรือขยายจากสินค้า ที่วางตลาดอยู่แล้ว หาใช่ผลิตภัณฑ์ "ใหม่" ที่แท้จริง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us