Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543
ระบบจัดการใหม่ผลานสูตรดั้งเดิม             
 

   
related stories

เตียหงี่เฮียง จากเถ้าแก่ภูธร..สู่ตลาดฮ่องกง

   
search resources

เตียหงี่เฮียง (เจ้าสัว), บริษัท
ธนภัทร โมมินทร์
Native Food




ด้วยความ ที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ธนภัทร โมรินทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เตียหงี่เฮียง (เจ้าสัว) จำกัด กล่าวย้ำว่ากระบวนการผลิตสำคัญนั้น มาก คือ ต้องพยายามควบคุมความสะอาด และรสชาติให้เป็นไปตามสูตร คัดเฉพาะหมูชำแหละ ที่สดเท่านั้น ผู้บริโภคซื้อรับประทานเมื่อใดก็ตาม รสชาติต้องคงเดิม ขั้นตอนการปรุงผสมสูตรผลิตภัณฑ์ทุกชนิดตัวธนภัทรจะเป็นคนทำเอง หลังจากนั้น จึงจะให้คนงานมารับช่วงในการทำต่อ เนื่องจากต้องการรักษาสูตรไม่ ให้รั่วไหลไปยังคนอื่น ถือเป็นสูตรอาหารเอกลักษณ์เฉพาะของ"เตีย หงี่เฮียง"

ปัจจุบันโรงงานเตียหงี่เฮียงใช้วัตถุดิบเนื้อหมูชำแหละประมาณ 3 ตันกว่าต่อวัน มีคนงานประจำโรงงานประมาณ 70 คนที่เหลืออีกราว 20 คน จะเป็นเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน โดยได้ปรับระบบการจัดการให้คล่องตัวขึ้น ด้วยการแบ่งโครงสร้างองค์กรเป็น 4 แผนก ประกอบด้วยฝ่ายบุคคล ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบัญชี และฝ่ายการผลิต

มีธนภัทร และภรรยาเป็นคนควบคุมดูแลตรวจสอบการทำงานทุกแผนก ขณะเดียวกันก็ตั้งหัวหน้าฝ่ายขึ้นมาดูแลแต่ละแผนกอีกทอดหนึ่ง

นับจากปี 2516 เป็นต้นมา การผลิตทุกตัว ทั้งหมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง หมูสวรรค์ เนื้อสวรรค์ แหนม หมูยอ แหนมซี่โครง ข้าวตังหมูหยองจะรวมผลิตในตัวอาคารโรงงานเดียวกัน

แต่ในปี 2536 ได้แยกส่วนการผลิตข้าวตังหมูหยองออกไปทำการผลิตอีกตัวอาคารหนึ่ง ด้วยเหตุผลที่เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขบเคี้ยว มีความต่างจากผลิตภัณฑ์ตัวอื่น

ที่สำคัญปริมาณการผลิตค่อนข้างจะมาก และใช้พื้นที่ในการทำงานกว้างกว่าผลิตภัณฑ์ตัวอื่น โดยมอบหมายงานให้กฤษณี หุ่นธานี และบุญคุณ เลิศกิจขจร ซึ่งเป็นญาติฝ่ายภรรยาเป็นผู้ดูแล

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปพื้นเมืองภายใต้แบรนด์ "เตียหงี่เฮียง" มีร้านขายปลีกในจังหวัดนครราชสีมาทั้งหมด 4 จุดคือ ร้านใหญ่บนถนนท้าวสุระ สาขาย่อยอีก 3 จุดกระจายในย่านชุมชนต่างๆ ในเมืองโคราช

นอกจากนี้ยังขายส่งไปตามร้านค้าต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลาดภาคเหนือก็จะมีจำหน่ายในจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก และภาคใต้มีวางขายในบางจังหวัด เช่นจังหวัดพังงา จังหวัดสงขลา อำเภอหาดใหญ่

ธนภัทรเปิดเผยว่ากิจการเตียหงี่เฮียงจะต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ เพื่อยกระดับเป็นสินค้าระดับชาติในอนาคต ภายใต้การบริหารงานของเขาเป็นหลัก เพราะเพิ่มผู้เป็นบิดา ซึ่งขณะนี้อายุได้ย่างเข้า 80 ปี และได้วางมือไปนับสิบปีแล้ว ส่วนพี่น้องอีก 5 คนคือ เพ็ญศรี รัชตะชัยยศ, อำไพ แซ่ลิ้ม, อัมพร โมรินทร์, สุรชัย โมรินทร์ และพิเชษฐ์ โมรินทร์ ต่างแยกย้ายไปมีครอบครัว และธุรกิจค้าขายส่วนตัวกันหมด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us