Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์29 มกราคม 2550
กระบวนยุทธ์ธุรกิจ:Customer-led Growth Strategy             
โดย ธีรยุส วัฒนาศุภโชค
 


   
search resources

Marketing
Knowledge and Theory




สถานการณ์ไม่แน่นอน ทรงๆทรุดๆแบบนี้ ธุรกิจที่หวังจะเติบโตต่อไป คงต้องมีแผนงานที่แยบยลและสร้างความมั่นคงกับกิจการด้วย ซึ่งการจะสร้างความแน่นอนบนความผันแปรแบบนี้ คงหนีไม่พ้นการที่กิจการต้องหา "ฐาน" ให้กับกิจการด้วย ซึ่งในภาวะแบบนี้ คงไม่มีอะไรที่ดีไปกว่าการยึดลูกค้าเอาไว้ให้มั่น และเติบโตไปพร้อมๆกับลูกค้าด้วยครับ นั่นคือ การใช้กลยุทธ์ Customer-led Growth

แต่การที่จะสร้างความแนบแน่นและเติบโตไปพร้อมกับลูกค้าได้อย่างดีนั้น ไม่ใช่เรืองง่ายๆเลยครับ เนื่องจากลูกค้าเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความซับซ้อนสูง และมิใช่ว่าเราจะสามารถเข้าถึงความต้องการและความรู้สึกได้อย่างลึกซึ้งทุกครั้ง

และจากการศึกษาที่ดำเนินการในเรื่องนี้ จาก Bain & Company บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการระดับโลก ปรากฏว่ากิจการต่างๆมักมองในแง่ดีครับ และคิดว่าตนเองสามารถตอบสนองลูกค้าได้ตรงตามคาดหมาย หรือ เกินความคาดหมายเสียอีก แต่สิ่งที่กล่าวมานั้น เป็นการคิดเพียงฝ่ายเดียวนะครับ เนื่องจากลูกค้าอาจจะไม่ได้คิดอย่างเดียวกันกับเราก็ได้

ซึ่งผลจากการวิจัย บริษัท 80% คิดว่าตนเองเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นหลัก และสามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่เหนือชั้นให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อสอบถามไปยังลูกค้า ผลกลับตรงกันข้ามครับ โดยเพียงแค่ 8% เท่านั้นที่ยืนยันว่าตนเองพึงพอใจและแนบแน่นกับกิจการดังที่กล่าวอ้าง

ดังนั้นจึงมีความคลาดเคลื่อนจากสิ่งที่คิดกับความเป็นจริงอย่างมาก การที่จะลดความคลาดเคลื่อนดังกล่าว และจึงได้มีการแนะนำเทคนิค 3 D ในกลยุทธ์การเติบโตพร้อมกับลูกค้าขึ้นมา เพื่อสร้างความแนบชิดสนิทเสน่หา ให้กลายเป็นลูกค้าที่สร้างกำไรกลับมายังกิจการได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสามารถเติบโตไปพร้อมๆกับลูกค้าได้ เริ่มจาก

D ตัวแรก คือ การ Design นั่นเอง โดยการดีไซน์นี้ มิได้หมายถึงการออกแบบสินค้าให้รูปทรงเตะตาเท่านั้นนะครับ แต่หมายความรวมถึงการออกแบบในทุกแง่มุมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่จะนำเสนอต่อลูกค้า ได้ตรงตามที่ลูกค้าต้องการอย่างสมบูรณ์

ซึ่งจากการวิจัยดังกล่าว ได้เน้นหนักไปที่กิจการ 8% ที่สามารถออกแบบลักษณะสินค้าบริการที่เหมาะสมกับลูกค้านั้น ปรากฏว่ามุ่งเน้นกิจกรรมทางด้าน การวิจัยตลาดอย่างต่อเนื่อง การทำโฟกัสกรุ๊ป การใช้การสังเกตลูกค้า การสัมภาษณ์ลูกค้าเบื้องลึก การทำกิจกรรมเก็บข้อมูลความต้องการและทัศนคติของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ

ซึ่งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ จะทำให้เข้าใจลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง และสามารถนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาสินค้าและบริการที่แตกต่าง สร้างเสริมประสบการณ์ประทับใจที่เหนือชั้นต่อลูกค้าได้ครับ

อาทิเช่น โวด้าโฟน ผู้เล่นรายสำคัญในธุรกิจมือถือ ที่เคยแบ่งกลุ่มลูกค้าตามสภาพภูมิศาสตร์ เนื่องจากคาดว่าถิ่นที่อยู่จะทำให้ความต้องการและพฤติกรรมการใช้แตกต่างกันไป แต่หลังจากที่ติดตาม และสำรวจความต้องการของลูกค้าอย่างใกล้ชิดจริงจัง ปรากฏว่าถิ่นที่อยู่ไม่มีความสำคัญขนาดนั้น แต่กลับพบปัจจัยอื่นที่มีความสำคัญมากกว่า

จึงได้แบ่งกลุ่มลูกค้าเสียใหม่ ตามความถี่ของการใช้งาน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการใช้งานเป็นครั้งคราวไม่ถี่นัก กับกลุ่มที่เป็นผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง (Active users) ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่เน้นความทันสมัยและมีวิถีชีวิตที่เน้นความสนุกสนาน

โดยกลุ่มแรก โวด้าโฟนเสนอบริการในลักษณะเบสิค ไม่มีลูกเล่นหรือบริการเสริมมากนัก เพื่อให้เหมาะกับพฤติกรรมการใช้ ส่วนกลุ่มหลัง ต้องนำเสนอบริการควบคู่ไปกับบริการด้านเทคโนโลยีล่าสุด พร้อมด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่ๆ รวมถึง เอนเตอร์เทนเมนต์มากมายไม่ว่าจะเป็น เกม ริงโทน บอร์ดแบนด์ ทีวีออนดีมานด์ ข่าวสารและกีฬา ซึ่งนอกจากจะทำให้ลูกค้าพอใจแล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้กลับมาอย่างมากอีกด้วย

Delivery คือ D ตัวที่สองซึ่งการทราบความต้องการลูกค้า และออกแบบสินค้าทั้งหมด ยังไม่เพียงพอครับ จำต้องสามารถเข้าถึงและดึงดูด สร้างความสนใจของลูกค้าที่มีต่อสินค้าบริการของเราให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องพยายามสร้าง touch points ที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับลักษณะของลูกค้าและธุรกิจ

ดังกรณีที่น่าสนใจของร้านเบเกอรี่เชนแห่งหนึ่ง ที่ได้มีการใช้แนวคิดในการลดต้นทุนและลดของเสียจากการผลิตเบเกอรี่ โดยเพิ่มอายุการวางของผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ในร้านให้ยาวนานขึ้น นั่นคือ หากอบขนมหลังบ่ายสามของวันนี้ จะสามารถวางจำหน่ายได้ถึงไม่เกินบ่ายสามโมงเย็นของอีกวันหนึ่ง หากเหลือจึงค่อยทิ้งไป

ซึ่งถึงแม้ว่าขนมปังที่วางขายจะยังมีคุณภาพดีและนุ่มนวลอยู่ แต่ยอดขายกลับลดลงอย่างน่าใจหาย ซึ่งเมื่อทำการวิเคราะห์หาสาเหตุ ปรากฏว่าเป็นเพราะร้านเบเกอรี่นั้น ลดเสน่ห์น่าดึงดูดใจไปอย่างมาก เนื่องจากขาด กลิ่น ที่หอมหวนชวนกินของการอบขนมในร้านระหว่างวัน ทำให้ลูกค้าเข้ามาในร้านน้อยลงมาก

เมื่อทราบดังนี้ กิจการจึงเปลี่ยนนโยบายกลับไปอบขนมทุกๆ 4 ชั่วโมง เพื่อให้กลิ่นหอมของขนมตลบอบอวลอยู่รอบๆร้านตลอดเวลา ซึ่งถึงแม้ว่าของเสียจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ทำให้ยอดขายและจำนวนลูกค้าที่เข้าร้านพุ่งสูงขึ้นอย่างมากด้วยครับ

D ตัวสุดท้าย คือ Development นั่นคือ การปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง โดยแม้ว่าขณะนี้กิจการจะมีความสนิทแนบแน่นกับลูกค้าเป็นอย่างดีแล้ว แต่จากการที่ลูกค้าก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นการจัดตั้งระบบของกิจการให้มีการติดตามและปรับปรุงคุณภาพทุกด้าน ดังที่กิจการที่ประสบความสำเร็จระดับโลกเกือบทุกแห่งที่มุ่งเน้นในด้านการพัฒนาคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นโตโยต้า กับการจัดการคุณภาพที่เลื่องชื่อ ไอบีเอ็ม สตาร์บัค เฟ็ดเอกซ์ และอีกมาก ที่ไม่หยุดคิดหยุดทำในสิ่งที่จะสรรสร้างคุณอนันต์แก่ลูกค้า เพื่อเป็น พันธมิตร ที่สนิทแนบแน่นกับลูกค้า และเติบโตไปพร้อมกับลูกค้านานเท่านานครับ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us