Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์29 มกราคม 2550
รุกฆาต "ชินคอร์ป"รอโอกาสยึดคืนสัมปทาน             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
Telecommunications




- ล็อกเป้า "ชินคอร์ป" รอเวลารุกฆาต หาช่องยึดคืนสัมปทานมือถือ-ดาวเทียม
- ผลพวงรอยร้าว "ไทย-สิงคโปร์" นำไปสู่การทวงสมบัติของชาติและความมั่นคง
- จับตาเหตุการณ์รุมเร้า "ชินคอร์ป" ครั้งใหม่ สั่นสะเทือนธุรกิจใต้เงาสิงคโปร์

พลันที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) พูดกลางที่ประชุมของสภาเยาวชน เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา ว่า "ขณะนี้กองทัพกำลังเกิดปัญหาเพียงเราหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเพื่อจะใช้สักเครื่องหนึ่ง มันก็วิ่งไปสู่ประเทศสิงคโปร์ เราจะพูดความลับทางราชการ มันก็วิ่งไปอยู่ที่สิงคโปร์"

ถ้อยคำพูดดังกล่าวนัยยะสำคัญพุ่งเป้าไปที่การใช้งานโทรศัพท์มือถือเอไอเอส อย่างที่หลายคนตีความหมายได้ และนำไปสู่ปฏิกิริยาต่อเนื่อง

หากแต่การพูดดังกล่าวดูแล้วน่าจะเป็นผลสืบเนื่องจากการที่สัมพันธ์ไทย-สิงคโปร์ เกิดรอยร้าวจากการที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางไปสิงคโปร์ จนกลายเป็นประเด็นการเมือง และรุกลามมาถึงภาคธุรกิจ โดยเฉพาะกล่องดวงใจในอดีตของพ.ต.ท.ทักษิณ อย่าง "ชินคอร์ป" อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เนื่องจากความสัมพันธ์ ระหว่าง ทักษิณกับสิงคโปร์ คงไม่ได้แตกต่างจากความสัมพันธ์ของ ชินคอร์ปกับเทมาเส็ก แม้ว่าการซื้อขายหุ้นชิปคอร์ประหว่างตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ให้กับเทมาเส็ก จะล่วงมากว่า 1 ปีแล้วก็ตาม

ชนวนเรื่องการขายหุ้นชินคอร์ปให้กับเทมาเส็ก มีประเด็นในติดตามและต้องเฝ้าจับตาดูอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การประกาศขายหุ้นดังกล่าวกลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของทั้งเศรษฐกิจและการเมืองไทย เพราะไม่ใช่การขายหุ้นธรรมดา แต่เป็นการขายธุรกิจของนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยให้กับบริษัทต่างชาติอย่างสิงคโปร์ จึงทำให้การขายหุ้นครั้งนี้ถูกตั้งคำถามเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนในประเด็นต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใช้นอมินีถือหุ้นแทน การซื้อขายหุ้นโดยไม่เสียภาษี รวมถึงการแก้ไข พ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 เรื่องสัดส่วนการถือครองหุ้น

ยิ่งถูกจุดชนวนครั้งใหม่ด้วยเรื่องการดักฟังโทรศัพท์ เรื่องความมั่นคงจึงถูกหยิบยกขึ้นมา และอาจนำไปสู่โอกาสที่จะเข้าไปดำเนินการยึดสัมปทานคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัมปทานมือถือและดาวเทียม ที่มีผลกระทบสำคัญต่อเรื่องความมั่นคงของชาติ

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 18 มกราคม ที่ผ่านมา พล.อ.มนตรี ศุภาพร ประธานคณะกรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ก่อนที่จะลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา เปิดเผยว่า มีการปรึกษาหารือกับ พล.อ.สนธิ เกี่ยวกับการหาวิธีป้องกันข้อมูลทางการทหารไม่ให้รั่วไหล โดยข้อกังวลดังกล่าวเกี่ยวพันกับกรณีที่บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือหุ้นในบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส และบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด ซึ่งให้บริการโทรศัพท์มือถือและดาวเทียมได้ขายหุ้นให้แก่บริษัทในสิงคโปร์ ทำให้กิจการมือถือและดาวเทียมต้องเปลี่ยนมือไปให้สิงคโปร์เป็นเจ้าของ

"แม้จะเป็นบริษัทเอกชนดำเนินการ แต่ทรัพยากรที่ยิงขึ้นไปค้างอยู่บนท้องฟ้าถือเป็นทรัพยากรของชาติ เป็นเรื่องผลประโยชน์ของชาติเมื่อเจ้าของดาวเทียมเป็นของชาติอื่น เราก็ต้องรักษาประโยชน์ของชาติ เมื่อเราเป็นทหารเห็นว่าเมื่อข้อมูลและความลับใดที่เสี่ยงว่าจะตกไปอยู่ในมือของคนอื่น ก็ต้องปกปักรักษาเป็นธรรมดา"

พล.อ.มนตรี ย้ำว่า แม้วันนี้สัมปทานโทรคมนาคมจะตกไปอยู่ในมือของเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศเกือบทั้งหมด แต่ทหารก็มี "เครื่องมือ" ในการควบคุมและจัดการดูแลเช่นกัน เนื่องจากหากพบว่าบริษัทเอกชนนำข้อมูลสื่อสารของทหาร หรือของรัฐบาลไปให้ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าของกิจการจริง ก็สามารถส่งทหารเข้าไปควบคุมที่ศูนย์การสื่อสาร หรือสวิตชิ่ง(switching) ได้ซึ่ง คมช.มีเครื่องมือที่เป็นกฎหมายในการเข้าไปดำเนินการได้อยู่แล้ว โดยเฉพาะกฎอัยการศึก

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทำให้สังคมเห็นว่าขณะนี้สิงคโปร์เป็นเจ้าของดาวเทียมไทยคม แม้ว่าดาวเทียมไทยคมเป็นของคนไทย แต่มีกลุ่มทุนเทมาเส็กเป็นเจ้าของอยู่ ซึ่งกองทัพได้ใช้ช่องสัญญาณไทยคมอยู่ 1 ใน 4 ช่องสัญญาณ เพื่อใช้ในการติดต่อประสานงานกับหน่วยทหารในต่างจังหวัด และใช้ในการติดต่อสื่อสารกิจการด้านความมั่นคงของกองทัพ ดังนั้น หากสิงคโปร์มีรหัสผ่านก็สามารถเข้ามาเพื่อรับส่งข้อมูลต่างๆ ที่ทางทหารมีการติดต่อผ่านดาวเทียมได้ เป็นเรื่องทางเทคนิค

ถึงขนาดที่ สิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ถึงกับมีแนวคิดที่จะเสนอให้รัฐบาลลงทุนยิงดาวเทียมของรัฐไว้ในในกิจการของภาครัฐ ด้วยงบประมาณการลงทุนประมาณ 5-6 พันล้านบาท เพื่อป้องกันข้อมูลความลับทางราชการรั่วไหล

หากเหตุการณ์ปะทุกันหนักหน่วง จนถึงขั้นที่คมช.ต้องเล่นไม้แข็งกว่านี้ มีความเป็นได้ว่าการทวงสมบัติไม่ว่าจะเป็นดาวเทียมหรือมือถือจะต้องเป็นประเด็นใหญ่ในอนาคตอย่างแน่นอน

เอไอเอสพร้อมตรวจสอบ

ต่อปัญหาการดักฟังโทรศัพท์มือถือที่เกิดขึ้นและกำลังเป็นประเด็นพาดพิงไปทางธุรกิจ ทำให้เอไอเอสในฐานะผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ นำโดยสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ต้องรีบชี้แจ้งกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าเอไอเอสดักฟังโทรศัพท์บุคคลต่าง ๆ ว่าเอไอเอสยืนยันว่า ไม่เคยนำเข้าอุปกรณ์ดักฟังโทรศัพท์ และไม่เคยดักฟังโทรศัพท์ของลูกค้า พร้อมทั้งยินดีให้ทางการเข้าตรวจสอบ

"การนำเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคมจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐก่อนทุกครั้ง และบริษัทไม่เคยนำเข้าและครอบครองอุปกรณ์ดังกล่าวเลยตรงนี้สามารถตรวจสอบได้ ดังนั้นบริษัทจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหากมีการดักฟังโทรศัพท์จริงๆ ซึ่งเราก็ให้ความสำคัญในจุดนี้และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการสอดส่องดูแล โดยหากพบว่ามีใครกระทำผิด เราจะไล่ออก และยังดำเนินการทางกฎหมาย จึงอยากให้ลูกค้ามั่นใจตรงจุดนี้" สมประสงค์ กล่าว

อย่างไรก็ตามเรื่องผลกระทบนั้นจนถึงตอนนี้ยังไม่ได้รับรายงานว่ามีลูกค้าแจ้งขอยกเลิกการใช้บริการ หรือโทรมาสอบถามที่ Call Center หลังจากที่บริษัทถูกกล่าวหา และยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาขอตรวจสอบ แต่การที่ออกมาพูดในวันนี้ เพื่อต้องการแสดงจุดยืนและให้เห็นว่าบริษัทให้ความร่วมมือกับทางการอย่างเต็มที่

ด้าน วิเชียร เมฆตระการ กรรมการอำนวยการ เอไอเอส กล่าวว่า ประเด็นการดักฟังโทรศัพท์ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท โดยปีนี้บริษัทยังคงตั้งเป้าผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น 7-8%จากการเติบโตของตลาดรวมที่คาดว่าจะเติบโตประมาณ 14-15% จากปี 2549 ที่มีผู้ใช้บริการรวมกว่า 38 ล้านคน

1 ปีเทมาเส็ก

หลังจากที่เทมาเส็กเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารบ้าง อย่างตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ได้ลาออกไป ก็ได้มีการแต่งตั้งวิเชียร เมฆตระการเข้ามาแทน และหลังจากนั้นในช่วงปลายปีทางเทมาเส็กก็ได้ส่งนายฮุย เวง ซอง ผู้บริหารจากสิงคโปร์เทเลคอม (สิงเทล) เข้ามาเป็นรองผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาด สายงานธุรกิจสื่อสารไร้สาย พร้อมกับได้ดึงนายสรรค์ชัย เตียวประเสริฐกุล มาเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นความพยายามที่ต้องการพลิกสถานการณ์ของเอไอเอส เนื่องจากช่วงหลังการประกาศขายหุ้นเมื่อ 23 มกราคม ทำให้สถานการณ์ธุรกิจของกลุ่มชินคอร์ป โดยเฉพาะเอไอเอสประสบปัญหาค่อนข้างมาก ตั้งแต่โดนกระแสบอยคอตการใช้สินค้าในกลุ่ม ขณะที่คู่แข่งอย่างดีแทคก็สร้างสีสันฉวยจังหวะตีตื้นขึ้นมามาก

อย่างไรก็ตาม 1 ปีที่ผ่านมา เทมาเส็กยังไม่ได้เข้ามาจัดการหรือปรับเปลี่ยนอะไรกับธุรกิจชินคอร์ป ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะจากสถานการณ์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้เทมาเส็กยังคงสงวนท่าทีในการปฏิบัติการใดๆ อย่างมาก รวมถึงแผนที่จะตัดขายธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจเป้าหมายออกไปก็ชะงักไปด้วย โดยที่ผ่านมาเทมาเส็กได้แจ้งว่าต้นปี 2550 จะจัดตั้งสำนักงานในประเทศไทย เพื่อดูแลและประสานงานเรื่องการลงทุนในประเทศไทยโดยเฉพาะ และมีรายงานข่าวยืนยันว่าจากปัญหาเรื่องภาพลักษณ์ของชินคอร์ป ทำให้ทางเทมาเส็กกำลังวางแผนเรื่องการปรับภาพลักษณ์องค์กร พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us