Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์29 มกราคม 2550
"บล.กสิกรไทย"ว่ายทวนกระแสน้ำวิ่งหาโอกาสเปลี่ยนจากรับมาเป็นรุก             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย

   
search resources

รพี สุจริตกุล
Funds
กสิกรไทย, บล.




การดำเนินงานของ"บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย "ต้องพลาดไปจากเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้...แต่หาใช่ความผิดของบริษัทไม่ หากเพราะสถานการณ์ที่ไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจต่างหากที่ทำให้ "บล.กสิกรไทย"ต้องกลับมาตั้งต้นวางแผนกันใหม่....ซึ่งยุทธวิธีนั้นหาใช่การตั้งรับ ตรงข้ามกลับเป็นเชิงรุกเหมือน "การว่ายทวนกระแสน้ำ"ที่ไม่ต้องรอโอกาสวิ่งเข้าหา หรือเฝ้ารอสถานการณ์เอื้อจึงลงมือทำ

อาจเพราะ "บล.กสิกรไทย" คิดแล้วว่าการเฝ้ารอโอกาสนั้นรังแต่จะทำให้เสียโอกาสมากกว่า โดยเฉพาะกับโบรกเกอร์น้องใหม่ที่ต้องเข้ามาแข่งขันท่ามกลางพี่ใหญ่หลายค่ายที่อยู่มานานปีดีดัก มีส่วนแบ่งการตลาดที่เหนือชั้นกว่ามาก ยังไม่นับรวมโบรกเกอร์รายใหม่ที่อาจเปิดตัวขึ้นอีกท่ามกลายสมรภูมิรบที่รุนแรงอยู่แล้วให้ต้องทวีความรุนแรงขึ้นอีก...ไฉนเลยที่โบรกเกอร์น้องใหม่อย่าง "กสิกรไทย"จะนิ่งเฉยอยู่ได้

กระนั้นก็นับว่าโชคดี..ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง ในสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยนั้น ดูเหมือนโบรกเกอร์รายเล็กจะได้รับผลระทบน้อยกว่าพี่ใหญ่หลายราย... ด้วยเพราะขนาดกะทัดรัดนี่เองที่ทำให้การปรับตัวเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว บาดแผลจากการสู้รบปะมือจึงไม่ฉกรรจ์เท่าโบรกเกอร์ไซน์XL

แผลเล็กน้อยจึงเยียวยาได้เร็วกว่าและพร้อมที่จะวิ่งสู้ฟัดต่อไปในทันที อย่างที่ "รพี สุจริตกุล" ประธานกรรมการ บล.กสิกรไทย บอกว่า ในปีแห่งความผันผวน อันเกิดมาจากหลายปัจจัย ตั้งแต่เหตุวินาศกรมวางระเบิด 8 จุดในกรุงเทพมหานครเมื่อสิ้นปี มาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ล้วนส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทุกอย่างต้องชะลอลง ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงต่อรายได้และการประกอบธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์โดยตรง

สถานการณ์ที่ไม่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจเช่นนี้เองเป็นไปได้ว่าภาพรวมของอุตสาหกรรมบริษัทหลักทรัพย์ต้องชะลอ หรือนิ่งเพื่อดูความแน่นอนก่อนวางแผนรับมือใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าภาพรวมของอุตสาหกรรมโดยรวมเป็นเช่นนั้นจริง ย่อมเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ "บล.กสิกรไทย" คิด

"เราคิดที่จะ...ว่ายทวนกระแสน้ำ นั่นเพราะเรามองไกลไปจนอนาคตแล้วว่าโอกาสยังมี ในระยะยาวปัจจัยหลายประการยังคงสนับสนุนให้ธุรกิจเคลื่อนทัพต่อไปได้"

ที่สำคัญ แม้"บล.กสิกรไทย"จะเป็นน้องใหม่ที่มีส่วนแบ่งการตลาด ณ ปัจจุบันไม่ถึง 1% เลยก็ตาม หากแต่แบล็กอัพผู้อยู่เบื้องหลัง บล. แห่งนี้กลับไม่ใช่ผู้ประกอบการรายใหม่ และไซน์เล็กเหมือนบริษัทลูก

"แบงก์กสิกรไทย" คือ ทัพใหญ่ที่จะเข้ามาสนับสนุนทัพเล็กของ บล.กสิกรไทย ด้วยฐานลูกค้าทั้งรายใหญ่รายย่อยที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายของบริษัท... "กสิกรไทย"บริษัทแม่สามารถสนับสนุนและป้อนงานให้ได้ในทันทีที่บริษัทลูกต้องการ

อย่างน้อย ๆ ฐานบัญชีเงินฝาก 5 ล้านบาทขึ้นไปที่เป็นเป้าหมายราย่อยของ บล. กสิกรไทย มีถึง 15,000 บัญชี ในขณะที่ฐานบัญชีเงินฝาก 50 ล้านบาทขึ้นไปก็มีอยู่ประมาณ 700 บัญชี นี่แค่ส่วนหนึ่งที่เป็นปัจจัยหนุนให้ บล. กสิกรไทยเปิดแผนรุกตลาด

แต่การตัดสินใจที่จะ"ว่ายทวนน้ำ" แค่ปัจจัยดังกล่าวคงไม่เพียงพอ รพี อธิบายต่อไปว่า ประเด็นเรื่องสถาบันประกันเงินฝากนี่แหละที่เป็นปัจจัยต่อทัศนคติผู้ฝากเงินออม...เพราะเมื่อใดที่สถาบันประกันเงินฝากเกิดผู้ฝากที่มีเงินออมมาก ยิ่งทวีความเสี่ยงสูงหากต้องเก็บเงินไว้ในที่ๆเดียว ผู้ฝากจะต้องปรับกระบวนคิดใหม่รู้จักกระจายความเสี่ยงให้เงินที่ออมได้ไหลออกมายังช่องทางการเงินอื่น ๆ บ้าง ไม่ว่าจะธุรกิจประกันชีวิต ธุรกิจจัดการกองทุน รวมถึงธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งหมายถึงการลงทุนในหุ้น...หากแต่ทุกรูปแบบของการกระจายเงินออกไปนั้น หรือเรียกอีกอย่างว่า "การลงทุน"สิ่งสำคัญสุดผู้ออมจะต้องรู้และเข้าใจในหลักการและความเสี่ยงที่แตกต่างกัน

"สิ่งสำคัญที่สุดโดยเฉพาะผู้ฝากเงินรายย่อย ที่เป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเรา จะต้องมีความรู้และความเข้าใจในการลงทุน การโยกเงินฝากไปยังช่องทางการเงินอื่น ๆ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุน เหมือนกับก่อนที่จะลงทุนในหุ้น ในรายที่ไม่เคยมีประสบการณ์เลย ตรงนี้อาจให้เริ่มจากการลงทุนในกองทุนรวม ให้มีผู้บริหารจัดการเงินให้ หลังจากที่เริ่มมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นโอกาสที่จะเข้ามาลงทุนเองก็มีสูง ซึ่งในส่วนนี้ บล.จะเป็นผู้รับไม้ต่อจากกองทุนรวม"

รูปแบบดังกล่าวจึงเข้าคอนเซ็ป บริการที่ครบวงจร หรือ ยูนิเวอร์เซลแบงกิ้ง ที่แบงก์กสิกรไทยตั้งใจให้เป็น... และให้บริษัทลูกต่อยอดความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน โดยผ่านพนักงานนั่งประจำสาขาเป็นผู้ให้ความรู้และแนะนำเรื่องการลงทุนกระจายความเสี่ยง หรือการหาผลตอบแทนเพิ่มในรูปแบบต่าง ๆ ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเริ่มเข้าสู่วงจรขาลงอีกด้วย

และนี่คือการมองการณ์ไกลที่ "บล.กสิกรไทย" มองเห็น จึงคิดและกล้าที่จะจะตัดสินใจรุก "ว่ายทวนกระแสน้ำ"อย่างไม่หวั่นเกรง เพราะรู้อยู่แก่ใจเสมอว่าในกระแสน้ำเชี่ยวกรากนั้นมีผู้ที่พร้อมให้การช่วยเหลือ ดังนั้นเรื่องจมน้ำตาย เลิกคิดได้เลย...

หันกลับมามองแผนงานรุกคืบอย่างต่อเนื่องของ "บล.กสิกรไทย"ในปี 2550 ดูจากเป้าหมายไม่ได้หวังไว้สูงอะไรมากมาย แต่ขอแบบเอาชัวร์แน่ใจว่าทำได้ ดังนั้นจึงตั้งเป้าแชร์ส่วนแบ่งตลาดปีหมูแค่ 1.5% ซึ่งถ้าวิ่งเข้าถึงระดับนี้ก็ทำให้ บล.แห่งนี้ถึงจุดคุ้มทุนเสียที ในขณะที่ปี 2549 ส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ประมาณ 0.5-0.6% พร้อมคาดการณ์แบบ 3 ปีข้างหน้าไปเลยว่า ส่วนแบ่งตลาดต้องเพิ่มเป็น3 %ให้ได้ ทั้งนี้ก็ไม่ใช่เพื่อใคร ก็เพื่อตัวเองนั่นแหละที่ฝันเอาไว้ว่าจะติดอันดับ 1ใน 15 โบรกเกอร์ให้ได้ จากทั้งหมดมี 39 แห่ง

"เรายังมีแผนการตลาดที่คิดทำควบคู่กับแบงก์กสิกรไทยในการแนะนำและเข้าใจถึงบริการด้านหลักทรัพย์ของเราทั้งในส่วนของฐานลูกค้าธนาคาร และฐานลูกค้า K-Cyber Banking นั่นคือลูกค้ารายย่อย ส่วนลูกค้ารายใหญ่เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้องการข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุนเอง เราจึงมุ่งที่จะพัฒนาบทวิเคราะห์ในเชิงลึกยิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย และด้านตลาดเงินตลาดทุนที่แบงก์มีอยู่มาเป็นตัวเชื่อมข้อมูลซึ่งกันและกัน"

ซึ่งกลวิธีดังกล่าว ระพี เชื่อว่าจะสร้างจุดแข็งให้กับ บล. กสิกรไทยได้เป็นอย่างดียิ่ง และด้วยกลวิธีดังกล่าวนั้นจะนำมาสู่การเติบโตของฐานบัญชีลูกค้าบริษัทแบบ 100% จากปัจจุบัน บริษัทมีบัญชีลูกค้าอยู่ 3,000 บัญชี และปี 2550 จะขยายเพิ่มอีก3,000 บัญชี โดยทั้งนี้รายได้ที่คิดว่ามาจากส่วนวานิชธนกิจนั้นอยู่ที่ 30% ส่วนอีก70%มาจากรายได้หลักทรัพย์

นอกจากนี้ยังมีกลวิธีของ บล. กสิกรไทยเองที่จะเป็นตัวหนุนให้บริษัทได้สร้างฝัน "ณัฐรินทร์ ตาลทอง" กรรมการผู้จัดการสายงานนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บอกว่า สิ่งที่จะทำให้ประสบความสำเร็จคือคุณภาพของบริการ ด้วยการเพิ่มพนักงานด้านการตลาดเป็น 70 คนในการดูแลลูกค้า ผสานด้วยคุณภาพสินค้า

"คุณภาพสินค้า เรามีการปรับปรุงระบบซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต กับ K Cyber Trade ซึ่งจุดเด่นคือ ความคล่องตัวในการซื้อขายแบบSingle Port เชื่อมต่อระบบบัญชีซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต และเจ้าหน้าที่ไว้เป็นหนึ่งเดียว และยังมี Credit Balance ภายใต้สินค้า K Power- Trade ที่เป็นการเพิ่มอำนาจการซื้อหลักทรัพย์ให้ลูกค้าที่ใช้บริการนี้มีต้นทุนที่ถูกลงด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เราคิดเพียง 5.75%ต่อปี"

คำตอบของแนวคิด "ว่ายทวนกระแสน้ำ" ของ "บล.กสิกรไทย"จะไปถึงจุดหมายดั่งที่ตั้งเป้าไว้ หรือผิดหวังอย่างปี ที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่ตอบไม่ได้ในระยะเวลาอันใกล้...เพราะอย่างที่ "ระพี" กล่าวสิ่งที่บริษัทกระทำอยู่ในวันนี้ จะเป็นคำตอบที่เกิดขึ้นในอนาคตซึ่งไม่ใช่อันใกล้ หากแต่เป็นอนาคตระยะยาวที่"บล.กสิกรไทย"วางตำแหน่งตัวเองไว้แล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us