|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย ได้จัดงานเสวนาธุรกิจ “ผ่าเส้นทางสร้างธุรกิจแฟรนไชส์” ตอน “ ครบเครื่องเรื่องเอนเตอร์เทนเม้นท์จากเมเจอร์ถึงแมคโดนัลด์” โดย “วิชา พูลวรลักษณ์” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักลงทุนที่คิดนอกกรอบ ด้วยวิธีคิดในการทำธุรกิจของกลุ่มเมเจอร์คือการ open หรือเปิดตลอดเวลานั้นทำให้ได้เห็นโอกาสในเชิงธุรกิจต่างจากโมเดลเดิม
ภายใต้ทฤษฎีที่ว่าจะสร้างแวลูแอดได้อย่างไร ด้วยโครงสร้าง spiderman ที่มีธุรกิจหลักคือเอนเตอร์เทน รีเทล มีเดีย ภายใต้แบรนด์และคอนเซ็ปต์ต่างๆ เช่น สยามฟิวเจอร์ แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส จนมาถึงธุรกิจอาหารอย่างแมคโดนัลด์
วิชา มีมุมมองต่อการทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการระดับเอสเอ็มอีว่า การที่จะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจนั้นไม่มีสูตรสำเร็จ และวันนี้ "เงินทุน" ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด สิ่งสำคัญคือ “business model” ว่าเหมาะกับช่วงนี้หรือไม่ มีการเติบโตอย่างไร
ต้องเข้าไป "นวด" กับธุรกิจนั้นหรือต้องทำกันตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ เพื่อให้ทีมงานได้เห็นภาพการทำงานก็จะเกิด เขายกตัวอย่างธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่ทำอยู่ ที่ผ่านมาในต่างจังหวัดเป็นการลงทุนของสายหนังทั้งลงทุนสร้างโรงหนัง ซื้อหนัง แต่ทุกวันนี้ที่เมเจอร์ขยายการลงทุนไปต่างจังหวัดได้หลายแห่งเพราะเจรจากับสายหนังที่กลุ่มเมเจอร์ลงทุนสร้างโรงส่วนสายหนังจัดซื้อหนัง ทำให้ธุรกิจร่วมกันเกิดขึ้นและแบ่งรายได้กัน แสดงให้เห็นถึง business model ที่ทำอยู่ตรงไหน
" ถ้า business model ใช่ เรามีข้อมูลมากพอ เป็นการตัดสินใจถูกมากกว่าผิด"
นอกจากนี้ต้องหาผู้รู้หรือ GURU ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ แม้ว่าธุรกิจโรงภาพยนตร์จะเป็นธุรกิจที่รุ่นพ่อทำมาก่อน แต่คนละรูปแบบกัน เช่น ตนจบการเงินมาไม่ได้เป็นคนเก่งและมีคนเก่งมากกว่า ก็ต้องหาคนที่มีความรู้
วิชา ยังแนะเทคนิคการได้ความรู้จากเหล่ากูรูว่าหลักสำคัญคือการปฏิบัติตน อาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลยก็ได้ แต่มาเรียนรู้ว่าทำอย่างไรให้เขารัก ต้องเริ่มต้นจากตัวเองก่อน เช่นตนมีเพื่อนๆ มาปรึกษาจะบอกหมดเล่าให้ฟังทำให้ผู้มาขอคำแนะนำรู้สึกดี และสังคมคนไทยเป็นสังคมของการช่วยเหลือกัน ถ้าได้ความรู้จากผู้รู้จริงมาสอนชีวิตก็ง่ายขึ้น
"ต่อให้มี business model แต่ไม่ถามใครเลย ไม่ปรึกษาเพราะกว่าเขารู้ความลับ ก็หว้าเหว่ ทำไปจุดหนึ่งก็ไม่รู้จะเดินต่อไปอย่างไร"
และสำหรับแผนเดินหน้าของธุรกิจอาหารแมคโดนัลด์นั้น วิชา บอกว่า ที่ผ่านมาแมคฯ เพียงหลับไปประมาณ 2-3 ปีเท่านั้น การที่เข้ามาลงทุนก็ได้มีการคิดก่อนจะทำทำอย่างไรกับธุรกิจนี้ ซึ่งได้มีการวางแผนงานไว้แล้วตั้งแต่อินโนเวชั่น กลุ่มลูกค้าและการเติบโตของธุรกิจนี้
ขณะเดียวกันได้มีการเตรียมทีมงาน โดยได้ส่งผู้บริหารแมคโดนัลด์ไป “รับน้อง” หรือเรียนรู้งานในต่างประเทศประมาณ 3 เดือน และปรับโครงสร้างการทำงาน วิธีคิด ซึ่งภายใน 1 เดือนนี้จะเห็นแมคโดนัลด์สาขาเอสพานาส ในรูปลักษณ์ใหม่ที่ให้ความรู้สึกที่แตกต่าง ทั้งการแบรนด์ดิ้งจะทำให้ธุรกิจมีสีสันมากขึ้น
ซึ่งนโยบายของบริษัทแม่ ได้เปลี่ยนนโยบาย เบื่อการเป็นฟาสต์ฟูดโดยรีเฟสใหม่ที่เป็นมากกว่านี้ จะเห็นอินโนเวชั่นใหม่อย่างที่เกิดในอเมริกาภายในร้านมีบริการซีดีให้เช่าไปดู เป็นอินโนเวชั่น เอนเตอร์เทนเม้นท์มากขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางที่ตนชอบจะเห็นได้ว่าผู้บริหารแมคฯ ในไทยที่เข้ามาทำงานไม่ได้มาจากธุรกิจอาหารเลย
ส่วนการจะก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 หรือรีดเดอร์นั้น วิชา ให้ความเห็นว่า สำหรับแมคฯ ในไทยไม่ได้มองที่จำนวนสาขา และแมคฯไทยไม่ใช่เบอร์ 1 เหมือนในต่างประเทศ แต่มองจุดที่ทำให้เกิดความผิดพลาดและแก้ไขมากกว่า แต่ต้องการให้มองแมคฯ ในตลาดโลก ความเข้มแข็งของแบรนด์ การแชร์ประสบการณ์ระหว่างกัน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการทำธุรกิจแฟรนไชส์ นำความสำเร็จของแต่ละที่มาต่อท่อ สร้างเน็คเวิร์กเป็นการแชร์ข้อมูลทั่วโลก
ปณิธาน เศรษฐบุตร กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เมเจอร์ซีนีแอด จำกัด อดีตผู้บริหารยัมเรสเตอร์รองส์ ธุรกิจอาหารรายใหญ่ กล่าวเสริมให้คำแนะนำผู้ประกอบธุรกิจอาหารว่า
1. คุณภาพ ถ้าไม่ตัดสินใจทิ้งของที่หมดอายุวันนั้นคือวันที่ต้องปิดกิจการ เพราะธุรกิจอาหารต้องยึดมั่นในคุณภาพ เป็นเส้นตรงที่ไม่มีการยืดหยุ่น ให้ยึดลูกค้าเป็นหลักดูแลเหมือนกับเป็นพ่อแม่คนที่สองที่ไม่นำของด้อยคุณภาพให้รับประทาน เพราะลูกค้าจะรู้สึกถึงคุณภาพที่คงเส้นคงวาซึ่งการยึดมั่นในคุณภาพ จะทำให้การขยายธุรกิจมีฐานลูกค้าที่ใหญ่ขึ้นทุกวัน ไม่มีการสูญเสียลูกค้า
2. การบริการ พนักงานเป็นสิ่งสำคัญทำให้เขาเกิดความรักองค์กร มีความกตัญญู รู้คุณคน แม้ว่าพนักงานบางคนอาจจะหน้าตาอาจจะไม่รับแขก แต่ถ้าเขามีสิ่งที่กล่าวมานี้จะสามารถแสดงทางแววตาได้กล่อมคนให้มีทัศนคติที่ตรงกัน หรือคอร์แวลูของยัมฯ ที่มีด้วยกัน 8 ข้อ เช่น สนุกกับงาน ให้บริการที่ดี สำนึกต่อลูกค้า ถ้าพนักงานมีความสุขในองค์กรก็พร้อมที่จะบริการลูกค้า
|
|
|
|
|