Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 มกราคม 2550
เว้น30%เงินกู้นอกทุกประเภท             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธาริษา วัฒนเกส
Banking and Finance




นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง30%ของเงินตราต่างประเทศในกรณีการกู้เงินจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยว่า ในขณะนี้มาตรการที่ ธปท.กำลังพิจารณาอยู่นั้น จะเป็นมาตรการผ่อนคลายที่ครอบคลุมเงินกู้จากต่างประเทศในทุกประเภท จากเดิมที่ดูในส่วน สำหรับธุรกิจที่ต้องพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะ โดยจะแยกประเภทเงินกู้ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย เช่น ธุรกิจใดที่มีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้า ซึ่งส่วนใหญ่ธุรกิจประเภทนี้จะทำเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะก็อาจจะได้รับการยกเว้นมาตรการนี้

“ขณะนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาและเลือกแนวทาง เป็นการผ่อนคลายจะใช้กับเงินกู้ทุกประเภท และไม่กระทบให้เกิดความผันผวนของค่าเงินบาทด้วย แต่ขณะนี้ยังมีหลายแนวทางในการพิจารณา แต่คิดว่าการศึกษาคงจะไม่ช้า”

ผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า แนวทางที่จะให้มีการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนในการซื้อขายเงินทันที ที่มีการเอาเงินกู้ต่างประเทศเข้ามาเพื่อลงทุนในประเทศ เป็นแนวทางหนึ่งที่ ธปท.กำลังศึกษาอยู่ เพราะก็ยังแนวทางมีอีกหลายแนวทางที่มีความเป็นไปได้

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศของไทย ล่าสุด สิ้นเดือน ต.ค.2549 มียอดหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนทั้งสิ้น 45,179 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นเงินกู้ที่เข้ามาใน 10 เดือนแรกของปี 2549 จำนวน 1,376 ล้านเหรียญสหรัฐ

ยกเว้น30%เอกชนกู้นอก TDRIจวกมาตรการ30%-ต่างด้าว

นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้ความเห็นเกี่ยวกับกรณีที่ธปท.ประกาศมาตรการกันสำรอง 30% เพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาทของธปท.ว่า ธปท.ประกาศมาตรการเร็ว และแรงจนเกินไป

"หากถามว่าควรสกัดค่าเงินบาท ผมบอกว่าควร แต่มีหลายวิธีที่ทำได้ อย่างเช่น ลดดอกเบี้ยลงมา และไม่จำเป็นต้องต้องกันสำรองสูงถึง 30% หรืออาจเลื่อนเวลาออกไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ"

โดยคาดว่าแนวโน้มค่าเงินบาทในปีนี้มีแม้จะแข็งเมื่อเทียบกับดอลลาร์ แต่เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่น ค่าบาทอ่อนค่าลง เพราะการส่งออกในปีนี้ขยายตัวไม่มากนัก รัฐบาลจำเป็นต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับการแสดงถึงจุดยืนในการออกกฎหมายต่างๆ เพราะต้องยอมรับว่ากฎหมายที่เสนอมาในขณะนี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับต่างชาติ

อย่างไรก็ตาม หากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นว่า เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาพื้นฐานของประเทศ ก็ควรเร่งผลักดันกฎหมาย เหมือนที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลที่มี นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ในช่วงก่อนหน้าที่พยายามผลักดันกฎหมายที่ดีกับประเทศกว่า 500 ฉบับ โดยการผลักดันกฎหมายออกมา จำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้คอยให้คำแนะนำปรึกษา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบ โดยเฉพาะความเชื่อมั่นนักลงทุน

สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นกับ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว นายสมชัย กล่าวว่า การแก้ไขกฎหมายกระทบกับความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติแน่นอน ซึ่งตนก็ไม่เคยเห็นหอการค้าต่างประเทศ และสถานฑูต 28 แห่ง พร้อมใจกันคัดค้าน และออกจดหมายเปิดผนึก ต่อต้านการออกกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (นอมินี) อย่างพร้อมเพียงกัน

นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมายังพบประเด็นปัญหาว่าตัวเลขของหน่วยงานที่ออกมาระบุถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับบริษัทต่างๆ ซึ่งมีความไม่ชัดเจนว่ามีกี่บริษัทที่ได้รับผลกระทบ และการที่ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาระบุว่ามีผู้ประกอบการต่างชาติกระทบเพียงพันกว่ารายเท่านั้น ซึ่งตัวเลขก็ไม่ตรงกันกับของหอการค้าต่างประเทศ เพราะตัวเลขที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรนำมากล่าวถึงเป็นตัวเลขการขึ้นทะเบียนพ.ร.บ.ต่างด้าวปี 2542 ซึ่งเชื่อว่ามีหลายบริษัทที่เข้าข่ายนอมินี แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในปี 2542 ซึ่งทำให้เห็นว่าผลกระทบน่าจะมีจำนวนมากกว่าที่รองนายกรัฐมนตรีระบุ

อย่างไรก็ตาม การผลักดันกฎหมายนอมินีถือว่าเป็นกฎหมายที่ดี เนื่องจากมีการกำหนดคำนิยามที่ชัดเจนขึ้น และไม่ให้ใช้นอมินี โดยเฉพาะในส่วนของบัญชีแนบท้าย 3 ที่บอกให้เสรีมากขึ้น ควรบอกเวลาให้ชัดว่าให้เวลากี่เดือนในการปรับตัว 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us