Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 มกราคม 2550
ธุรกิจแบงก์พาณิชย์ปี50ยังไม่สดใสส่วนต่างดบ.หด-สำรองIAS39กดกำไรลด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Banking and Finance




ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินแนวโน้มธุรกิจแบงก์พาณิชย์ปี 50 ยังไม่สดใส ปัจจัยลบเพียบ โดยเฉพาะเศรษฐกิจ-การเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจน ทำให้ภาคการลงทุน-บริโภคเอกชนไม่ขยับเพิ่ม ทำให้ยอดการปล่อยสินเชื่อสะดุด คาดผลประกอบการยังมีสิทธิ์ลดลงหรือใกล้เคียงกับปีก่อน จากส่วนต่างดอกเบี้ยที่ลดลง-ภาระการกันสำรองหนี้เสียเพิ่มตามเกณฑ์ IAS 39 แนะเร่งหารายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยช่วยพยุง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินแนวโน้มการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในปี 2550 ว่า ยังคงเป็นปีที่เงื่อนไขการประกอบการของธนาคารพาณิชย์ไทยยังคงมีความซับซ้อน โดยมีปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจที่ไม่เอื้ออำนวยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการเมืองที่ไม่แน่นอน ซึ่งย่อมจะมีผลกระทบต่อความต้องการสินเชื่อจากภาคธุรกิจและครัวเรือน รวมทั้งยังอาจมีอิทธิพลต่อเงินฝากของภาคครัวเรือนที่ธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ สภาวะการแข่งขันระหว่างธนาคาร ล้วนแต่จะมีความเข้มข้นขึ้นในทุกๆ บริการและผลิตภัณฑ์ ในขณะที่ ธนาคารพาณิชย์ไทยยังจะต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ของทางการอีกด้วย

คาดสินเชื่อแบงก์ปี 50 โต 5-7%

โดยคาดว่าเงินให้สินเชื่อดีของธนาคารพาณิชย์ในปี 2550 น่าจะขยายตัวประมาณ 5.0-7.0%เทียบกับตัวเลขเบื้องต้นที่ประมาณ 6.4% ในปี 2549 จากแนวโน้มการชะลอตัวทางเศรษฐกิจผนวกกับความไม่แน่นอนด้านการเมืองต่างๆ อาจกดดันความต้องการสินเชื่อจากภาคธึรกิจและครัวเรือน โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 แม้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเริ่มขึ้น แต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์คงจะใช้เวลานานกว่านั้น และคงจะช่วยหนุนการปล่อยสินเชื่อในช่วงครึ่งปีหลังมากกว่า ประกอบกับสินเชื่อบางประเภท อาทิ บัตรเครดิต คงจะไม่ได้รับผลดีจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาลงมากนัก เนื่องจากเพิ่งจะมีการปรับเพิ่มดอกเบี้ยบัตรเครติดจาก 18% เป็น 20%

ทั้งนี้ สินเชื่อที่อาจได้รับผลกระทบจากการชะลอการตัดสินใจขอสินเชื่อจากภาคครัวเรือน ได้แก่ สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อบัตรเครดิต ส่วนสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่นั้น แม้อาจได้รับผลดีทางอ้อมจากการที่มาตรการสำรอง 30% ของธปท. ให้หันกลับมาขอขยายวงเงินสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์มากขึ้น แต่ผลดีดังกล่าว ก็อาจจำกัดอยู่เฉพาะในธุรกิจที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีและมีอัตราการใช้กำลังการผลิตในระดับสูง อาทิ ธุรกิจส่งออกเท่านั้น

ขณะที่สินเชื่อที่คงจะได้รับปัจจัยบวกจากภาวะการแข่งขันที่เข้มข้นระหว่างธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ สินเชื่อเอสเอ็มอี และสินเชื่อบุคคล เนื่องจากสินเชื่อทั้งสองประเภทดังกล่าว ให้อัตราผลตอบแทนสูง ซึ่งการปรับพอร์ตสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มาที่ตลาดสินเชื่อดังกล่าวมากขึ้นนี้ ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาอัตราผลตอบแทนของพอร์ตสินเชื่อโดยรวม ในระหว่างที่แนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม อาจส่งผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนของพอร์ตสินเชื่อในอนาคตอันใกล้ แต่ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขเศรษฐกิจที่ไม่ชัดเจน ผนวกกับความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่สูงกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้ากลุ่มดังกล่าวได้ ทำให้ธนาคารพาณิชย์คงจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการติดตามและดูแลคุณภาพสินเชื่อมากขึ้นตามไปด้วย

ด้านเงินฝากของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยจะยังคงขยายตัวอยู่ในระดับเหนือ 5% จากปีก่อนที่อยู่ในระดับกว่า 6% ในปี 2549 แม้ว่าธนาคารพาณิชย์จะทยอยลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำลง แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าผู้มีเงินออมจะยังคงให้ความสนใจกับการฝากเงินไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ต่อไป ในระหว่างที่ทางเลือกในการออมประเภทอื่นๆ อาทิ การลงทุนในตลาดหุ้น ยังคงไม่สดใส และอ่อนไหวต่อปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง ตลอดจนความชัดเจนเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายต่างๆ ของทางการไทย

จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลงในปีนี้ จึงคาดการณ์ว่าธนาคารพาณิชย์ไทยอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 3 เดือน ถึง 24 เดือนประมาณ 0.75-1.0% และปรับลดอัตราดอกเบี้ย MLR อีก 0.75% ในปี 2550 ขณะที่กำหนดให้มีการเติบโตของสินเชื่อดีและเงินฝากประมาณ 5.0-7.0% และ 5% ตามลำดับ และอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยและสหรัฐฯลดลงจากระดับปัจจุบันในกรอบประมาณ 0.5-0.75% นั้น ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) ในปี 2550 อาจอยู่ที่ประมาณ 3.22% ลดลงจากปีก่อนหน้าประมาณ 0.15% ในขณะที่คาดว่าระบบธนาคารพาณิชย์จะมีรายได้สุทธิจำนวนประมาณ 2.35 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเพียงประมาณ 1.6% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ชะลอลงชัดเจนจาก 16.2% ในปี 2549

ชี้แบงก์ต้องหาเร่งรายได้ค่าฟีโปะส่วนต่างดบ.ลด

สำหรับแนวโน้มกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปี 2550 ขึ้นอยู่กับความสามารถของธนาคารพาณิชย์ในการเร่งเพิ่มรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินภาพไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกที่กำหนดให้รายได้และค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยขยายตัวเท่ากับอัตราเฉลี่ยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาซึ่งจะได้รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยสุทธิของปี 2550 ที่ลดลง 24.5% จากปีก่อนหน้า และกรณีที่สอง กำหนดให้รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยสุทธิมีระดับที่ทำให้กำไรสุทธิจากการดำเนินงานปี 2550 มีจำนวนไม่น้อยกว่าปี 2549 โดยผลการคำนวณชี้ว่า กรณีแรก กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (ก่อนสำรอง) ในปี 2550 อาจชะลอลงจากปีก่อนหน้าประมาณ 13.4% เทียบกับที่ขยายตัว 6.1% ในปี 2549 ในขณะที่ ในกรณีที่สองนั้น กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (ก่อนสำรอง) จะเท่ากับของปี 2549 ได้ เมื่อรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยสุทธิชะลอลงเพียง 4%

ดังนั้น หากธนาคารพาณิชย์ไทยต้องการให้กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (ก่อนสำรอง) สูงกว่าของปี 2549 ก็จะต้องเร่งเพิ่มรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และ/หรือทำให้รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยสุทธิติดลบน้อยกว่า 4% ซึ่งคงจะเป็นงานที่ค่อนข้างหนักมาก จึงคาดว่ากำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (ก่อนสำรอง) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในปี 2550 ยังคงมีโอกาสที่จะลดลงจากปีก่อนได้ หรือถ้าเพิ่มขึ้น ก็คงจะเป็นการเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ไม่มากนัก

นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการกันสำรองในปี 2550 ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงจากเกณฑ์ IAS39 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งยังมีความจำเป็นจะต้องกันสำรองเพิ่มเติมเพื่อให้ครบถ้วนตามเกณฑ์ IAS39 ระยะที่ 2 และ 3 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในช่วงกลางปีและสิ้นปี 2550 ตามลำดับ โดยคาดว่าระบบธนาคารพาณิชย์อาจต้องมีการกันสำรองเป็นจำนวนอีกไม่กว่า 4-5 หมื่นล้านบาทในปี 2550 เทียบกับ 6.2 หมื่นล้านบาทในปี 2549 ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่คงจะกดดันผลประกอบการของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในปี 2550 ด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us