Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 มกราคม 2550
แผ่นผีละเมิดเขมือบตลาด4พันล.ผู้ค้าลงขันตั้งบ.ไล่ล่าอีวีเอสดิ้นปรับเกมรุก             
 


   
search resources

Entertainment and Leisure
อีวีเอส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์, บจก.




แผ่นผีซีดีเถื่อน อาละวาดไม่หยุด ธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเม้นท์กว่า 13 บริษัท ผนึกกำลัง ผุดบริษัท ซัปพลายเออร์ ไรท์ หวังสกัดผู้ค้าแผ่นผี ดีเดย์สิ้นเดือนนี้ หลังแผ่นผีเขมือบตลาดสรร้างพบความเสียหายกว่า 5,000 ล้านบาทต่อปี ด้าน “อีวีเอส” งัดกลยุทธ์ป้องกันแผ่นผีอีกชั้น ตั้งทนายกว่า 30 ชีวิตลุยพื้นที่ตลาดละเมิดลิขสิทธิ์ พร้อมกอบกู้สถานการณ์สงครามราคา ชู 10 ดีลเลอร์ร่วมค้า มั่นใจสิ้นปีโกยเม็ดเงินเข้ากระเป๋ากว่า 1,200 ล้านบาท

นายเสกสรร สุนันท์กิ่งเพชร ประธานกรรมการ บริษัท อีวีเอส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจตัวแทนจำหน่ายภาพยนตร์ในรูปแบบวีซีดีและดีวีดี เปิดเผยว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การละเมิดลิขสิทธ์ภาพยนตร์และผลงานเพลงในรูปแบบวีซีดีและดีวีดี มีจำนวนสูงมากที่สุด คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 5,000 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่า 40% จากมูลค่าตลาดอุตสาหกรรมวีซีดีที่มีอยู่ 8,000-9,000 ล้านบาท ขณะที่กฏหมายลงโทษของประเทศไทยที่สามารถเอาผิดได้มีเพียง 3 ตัว คือ กฏหมายลิขสิทธิ์ กฏหมายการเซ็นเซอร์ และกฏหมายของกรมทรัพย์สินทางปัญญา เกี่ยวกับการขอรหัสผลิตวีซีดีนั้นไม่รุนแรง คือ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 2-4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 1 แสน-8 แสนบาท

“กฏหมายลงโทษในประเทศไทยนั้น ถึงแม้ดูแล้วจะค่อนข้างแรง แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ถูกดำเนินคดี ในที่สุดอาจจะไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฏหมายบัญญัติไว้ก็ได้ ส่วนจะให้มีการเรียกร้องให้แก้ข้อกฏหมายก็ทำได้ยาก ขณะที่รัฐบาลเองก็ยังไม่นิ่ง จึงยิ่งเปิดช่องว่างให้ผู้ละเมิด ยิ่งกระทำผิดมากขึ้น”

ดังนั้นทางบริษัทที่ดำเนินธุรกิจทางด้านเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ไม่ว่าจะเป็นค่ายเพลง ค่ายหนัง หรือผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนจำหน่ายภาพยนตร์ในรูปแบบวีซีดีและดีวีดี จำนวนกว่า 13 บริษัท อาทิเช่น บริษัท ซึทาญ่า (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ซีวีดี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท อีวีเอส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นต้น จึงได้รวมตัวลงทุนร่วมกัน เปิดตัวบริษัท ซัปพลายเออร์ ไรท์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนเบื้องต้น 1 ล้านบาท

ด้วยวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นหน่วยงานอิสระอีกหนึ่งหน่วยงาน ที่จะเข้ามาดูแลเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธ์โดยเฉพาะ ผ่านบุคลากรที่จะคอยสอดส่องดูแล และลงพื้นที่ไปยังสถานที่ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างหนักซึ่งจำนวนเงินที่ได้จากการจับกุมนั้น จะนำไปใช้เป็นทุนให้กับการจับกุมครั้งต่อไป โดยจะเริ่มดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ก่อตั้งขึ้นได้ภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้

**“อีวีเอส”ตั้งป้อมป้องแผนผี**

นอกจากทางบริษัทฯจะเข้าร่วมก่อตั้งบริษัท ซัปพลายเออร์ ไรท์ จำกัดแล้ว ในส่วนของบริษัทเองยังได้จัดทีมทนายจำนวนกว่า 30 คน ช่วยสอดส่องดูแลลงพื้นที่ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างหนัก เช่น คลองถมและบ้านหม้อ ทุกวัน เพื่อเข้าทำการแจ้งจับผู้ละเมิดลิขสิทธ์ อีกทั้งทางบริษัทฯยังมีนโยบายลงโปรแกรมป้องกันการกอปปี้แผ่นวีซีดี ที่ลูกค้าซื้อจากบริษัทฯอีกทางหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่สามารถทำให้การละเมิดลดลงได้ เพราะส่วนหนึ่งผู้ละเมิดนำเอาแผ่นมาสเตอร์มาจากต่างประเทศมากอปปี้ต่อ ขณะที่แผ่นซีดีอาร์ ที่มีวางขายตามท้องตลาดทั่วๆไป ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การละเมิดยังมีสูงอยู่

นอกจากนี้ในส่วนของระยะเวลาของภาพยนตร์ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ ที่จะเข้าสู่การลงแผ่นวีซีดีหรือดีวีดีจะเร็วขึ้น จากเดิม 90 วัน เป็น 30 วัน คาดว่าจะช่วยให้สามารถแข่งขันกับกลุ่มผู้ละเมิดลิขสิทธ์ได้ส่วนหนึ่ง

โดยในปีนี้ทางบริษัทฯเซ็นสัญญาต่อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ต่างประเทศกับ บริษัท สหมงคลฟิล์ม เป็นปีที่ 5 และได้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ใหม่กว่า 120 เรื่อง นอกจากนี้ทางบริษัทฯยังเป็นตัวแทนจำหน่ายภาพยนตร์วีซีดีและดีวีดีให้กับ ค่ายหนังยูนิเวอร์แซลและดรีมเวิลด์ จาก บริษัท แคททาลิสต์ อัลลายแอนส์ (ประเทศไทย) จำกัด อีกประมาณ 20 เรื่อง รวมในปีนี้บริษัทฯมีลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ใหม่รวมกว่า 150 เรื่อง คาดว่าจะมีรายได้จากกลุ่มภาพยนตร์ใหม่นี้กว่า 500 ล้านบาท ขณะที่รายได้รวมในปีนี้ทางบริษัทฯตั้งเป้าเติบโตจากปี 2549 ที่ผ่านมา 20% คิดเป็นมูลค่า 1,200 ล้านบาท

นายเสกสรร กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะที่การละเมิดลิขสิทธิ์ยังส่งผลให้ตลาดต้องมีการแข่งขันทางด้านราคามากขึ้นในปีที่ผ่านมา จนทำให้การดำเนินธุรกิจแทบไม่มีกำไร ดังนั้นในปีนี้ทางบริษัทฯจึงได้วางกลยุทธ์ทางด้านการจัดจำหน่ายใหม่จากเดิมที่จะเป็นผู้จำหน่ายเอง อีกทั้งบริษัทฯได้จับมือกับเอ็กซ์คลูซีฟดีลเล่อร์จำนวนกว่า 10 ราย เป็นตัวแทนจำหน่ายแผ่นวีซีดีและดีวีดีจากบริษัทฯอีกขั้นตอนหนึ่ง เชื่อว่ากลยุทธ์ดังกล่าว จะทำให้กลไกราคาในท้องตลาดทรงตัว ผู้ค้าจะเห็นกำไรมากขึ้นด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us