Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์19 มกราคม 2550
ธุรกิจพลังงานทดแทนเนื้อหอม‘ล็อกซเล่ย์ -สามารถ’ร่วมวง-เจ้าเก่าชี้ตลาดนอกโต30%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ล็อกซเล่ย์

   
search resources

ล็อกซเล่ย์, บมจ.
Energy
โซลาร์ตรอน, บมจ.




ธุรกิจพลังงานทดแทนปี50 ไปได้สวย “Solar Cell – พลังงานลม –เอทานอล – ไบโอดีเซล” โตต่อเนื่องจากความต้องการใช้ที่มากขึ้น เผย “ล็อกซเล่ย์ – สามารถ”ร่วมวงผลิตพลังงานทดแทน ขณะที่ BOI อนุมัติกว่า 1.5พันล้านสนับสนุนโครงการ ด้าน “โซลาร์ตรอน”เชื่อตลาดในประเทศได้รับกระตุ้นจากโครงการVSPP ส่วน “บมจ.เอกรัฐ”ชี้ตลาดต่างประเทศขยายตัว 30 %

กระแสพลังงานทดแทนเป็นที่ยอมรับของภาครัฐ-เอกชน มากขึ้นกว่าปีก่อนๆเพราะสามารถสร้างโรงงานต้นน้ำได้แล้วโดยเฉพาะธุรกิจโซลาร์เซลล์ที่สามารถขายทั้งใน –นอกประเทศ ขณะที่พลังงานทดแทนด้านอื่นในประเทศยังมีแนวโน้มสดใส

พิชัย กลิ่นสันติสุข ประธานกลุ่มพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ธุรกิจพลังงานทดแทนปีนี้มีแนวโน้มจะขยายตัวได้ดี ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ที่กระแสตอบรับมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มดังกล่าวมีผู้สนใจลงทุนในธุรกิจประเภทนี้มากที่สุดหากคิดเป็นมูลค่า 6,000 ล้านบาทแต่ติดที่มีปัญหา คือ ต้นทุนสูงกว่าพลังงานหมุนเวียนประเภทอื่นๆเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 15 – 16 บาทต่อหน่วย ซึ่งผู้ประกอบการจึงต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือด้านการกำหนดปริมาณการซื้อใช้ในประเทศไทยมากขึ้น ปัจจุบันผู้ผลิตรายใหญ่ทั้ง 5 ราย ส่งออกกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าการผลิตในประเทศไทย

ขณะเดียวกันในด้านพลังงานลม (Low Speed Wind Turbine) ยังมีโอกาสเติบโตได้เพราะประเทศไทยสามารถผลิตกังหันลมเชิงพาณิชย์ขนาด 5,000 วัตต์ และจะสามารถพัฒนาต่อไปได้ถึงขนาด 50,000 วัตต์ ซึ่งเป็นกังหันแบบใช้กระแสลมต่ำมีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของไทย คาดในอีก 1-2 ปีข้างหน้าจะสามารถส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นเกาะ มีกระแสลมพัดตลอดปี

‘ล็อกซเล่ย์ – สามารถ’ร่วมวง

อย่างไรก็ดีในปีนี้มีบริษัทยักษ์ใหญ่สนใจมาลงทุนอาทิ บริษัทล็อกซเล่ย์ (LOXLEY) หันมาสนใจธุรกิจพลังงานชีวมวล หรือ ไบโอแมส (Bio Mass)ขณะที่บริษัทสามารถ (SAMART) ซึ่งเคยได้งานกำจัดขยะในสนามบินสุวรรณภูมิมาแล้ว ก็สนใจจะลงทุนเทคโนโลยีแปลงขยะเป็นพลังงาน (Waste to Energy) โดยจะไปตั้งโรงงานกำจัดขยะขนาดใหญ่ที่เชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 2 เทคโนโลยีที่นำเสนอและมีความเป็นไปได้คือขยะ150 – 300ตันใช้เทคโนโลยีการแปลงขยะชุมชนเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล RDF (Refuse Derived Fuel) แล้วผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวล หรือ Gasification - ขยะ 500 ตันขึ้นไปสามารถใช้เตาเผาขยะชนิดปลอดมลพิษและผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อชดเชยค่าใช้จ่าย

โวย “ ก.เกษตรฯ” อืดเป็นเรือเกลือ

ขณะที่ธุรกิจเอทานอล(Ethanol) และ ไบโอดีเซล (Bio Diesel ) ซึ่งการผลิตน้ำมันดังกล่าวจะต้องใช้พืชเศรษฐกิจเป็นส่วนผสมสำคัญ อาทิ น้ำมันมะพร้าว , น้ำมันถั่วเหลือง ,น้ำมันถั่วลิสง , น้ำมันละหุ่ง , น้ำมันงา , น้ำมันเมล็ดทานตะวัน , น้ำมันสบู่ดำ ทว่ากระทรวงเกษตรฯไม่ได้ให้การสนับสนุนนโยบายดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม

“ เข้าใจว่ากระทรวงเกษตรฯมีปัญหาการเมืองภายในใครจะสั่งข้ามหน่วยงานไม่ได้ ส่งผลให้การผลักดันเกิดอาการอืดเป็นเรือเกลือ ทั้งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเดินหน้าไปไกลแล้ว ทั้งกระทรวงพลังงาน กรมพลังงานทดแทน ภาคเอกชน แต่กระทรวงเกษตรฯที่เป็นส่วนหนึ่งกับนิ่งเฉยมาตลอด ” ประธานกลุ่มพลังงานทดแทน ระบุ โดยในปี 2549 ที่ผ่านมาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ให้การส่งเสริมการลงทุนสอดรับกับนโยบายสนับสนุนการผลิตและใช้พลังงานทดแทนของรัฐบาลซึ่งจะช่วยให้ลดการนําเข้าพลังงานจากต่างประเทศและเป็น การพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2549 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้การส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการด้านพลังงานทดแทนจํานวน 4 โครงการคิดเป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น1,510 ล้านบาท

BOIอนุมัติ1.5พันล้านหนุน

สำหรับโครงการลงทุนด้านพลังงานทดแทนที่ได้รับส่งเสริมทั้งหมดประกอบด้วยกิจการผลิตแอลกอฮอล์หรือเชื้อเพลิง จากผลผลิตการเกษตรของบริษัทพี.เอส.ซี.สตาร์ชโปรดักส์ จํากัด(มหาชน) ซึ่งจะผลิตเอทานอลที่มีความบริสุทธิ์ 99.5%โดยใช้มันสําปะหลังเป็นวัตถุดิบมีกําลังการผลิตปีละประมาณ 54 ล้านลิตรใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 635 ล้านบาทโครงการตั้งที่จังหวัดชลบุรี

โดยที่ผ่านมา BOI ได้ให้การส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการผลิตเอทานอลสําหรับเชื้อเพลิงมาแล้ว 12 โครงการแบ่งเป็นการผลิตเอทานอลจากอ้อย 6 โครงการ ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง 3 โครงการ ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังและอ้อย 1 โครงการและผลิตเอทานอลจากแอลกอฮอล์ 2 โครงการมีกำลังการผลิตรวมประมาณ 600ล้านลิตรต่อปี

นอกจากนี้ที่ประชุมยังพิจารณาอนุมัติให้การส่งเสริมแก่กิจการผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas)และพลังงานไฟฟ้า 2 โครงการแก่ Mr. David A. Donnelly โดยจะตั้งโครงการที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งทั้ง 2 โครงการมีกำลังการผลิตก๊าซชีวภาพปีละประมาณ 36 ล้านลูกบาศก์เมตรและนำก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าปีละประมาณ 8 เมกกะวัตต์ใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 395 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ BOIได้ให้การส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการผลิตก๊าซชีวภาพไปแล้ว จํานวน 15 โครงการมีกำลังการผลิตรวม 120ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

ส่วนโครงการผลิตไบโอดีเซลที่ได้รับการส่งเสริมเป็นกิจการของบริษัทอ่าวไทยเอนเนอร์ ยี จำกัดใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น480ล้านบาทมีกำลังการผลิตปีละประมาณ 90 ล้านลิตรมีแผนจะจำหน่ายให้กับบริษัทน้ำมันในประเทศ เช่น ปตท. บางจากและผู้ประกอบการขนส่งโดยโครงการจะตั้งที่ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ซึ่งที่ผ่านมาBOIให้การ ส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการผลิตไบโอดีเซลไปแล้ว3โครงการมีกำลังการผลิตรวมประมาณ 332 ล้านลิตรต่อปี

โซลาร์เซลล์ ดาวรุ่ง

ด้านวันดี กุญชรยาคง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน)หรือ SOLAR ยักษ์ใหญ่ในวงการโซลาร์เซลล์ในประเทศไทย กล่าวว่า ในปีนี้ธุรกิจโซลาร์เซลล์ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก โดยเฉพาะบริษัทฯมีโรงงานผลิตแผ่นโซลาร์เซลล์อาคารใหม่ที่โคราชก็จะสร้างเสร็จในปีนี้ด้วย จะทำให้เกิดการขยายตลาดส่งออกไปต่างประเทศมากขึ้น โดยประเทศที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของบริษัท เช่น แถบยุโรป ได้แก่ เยอรมัน ส่วนในภูมิภาคนี้มีที่อินโดนีเซีย ซึ่งจะทำให้สัดส่วนการส่งออกในปี 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงจากขณะนี้ที่มียอดส่งออก 5% สูงเพิ่มขึ้นเป็น 20 %

นอกจากนี้แล้วโครงการรับซื้อคืนไฟฟ้าจากภาคครัวเรือนหรือเอกชนของภาครัฐ หรือ VSPP คาดว่าจะอยู่ที่ 8 บาทต่อหน่วยแต่ภาครัฐอาจจะช่วยเหลือด้วยการซื้อประมาณ 12 บาทต่อหน่วยซึ่งนับว่าเป็นอัตราที่น่าสนใจเนื่องจากราคาพลังงานที่ใช้กันอยู่มีต้นทุนที่ 4 บาท จะเป็นแรงหนุนที่ทำให้ยอดขายแผงเซลล์พลังแสงอาทิตย์ของบริษัทเพิ่มขึ้นในอนาคต เพราะสามารถขายไฟฟ้าได้ในราคาคุ้มค่า แต่เรื่องดังกล่าวยังเป็นเพียงแนวคิดจากทางภาครัฐซึ่งต้องรอการทำประชาพิจารณ์ และการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการก่อน คาดว่าหลังจากเรื่องนี้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนจะทำให้ยอดขายแผงเซลล์พลังแสงอาทิตย์ของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมาก

อย่างไรก็ดี บริษัทโซลาร์ตรอนยังมีบ้านในโครงการ SOLAR HOME ยังเหลือที่ต้องติดตั้งแผงวงจรเซลล์แสงอาทิตย์อีก 80,000 หน่วยครัวเรือน จากทั้งหมดรวมที่ได้ติดตั้งไปแล้ว 230,000 หน่วย ทั้งนี้หากมีการลงนามในสัญญาฉบับใหม่เพื่อสานโครงการณ์เดิมต่อให้เสร็จสิ้น จะทำให้กำไรขั้นต้นของบริษัทในปี 2550 เพิ่มขึ้นเนื่องจากสามารถปรับราคาขึ้นได้ตามต้นทุนที่แท้จริงที่เพิ่มขึ้น

โดยในปี้นี้จะเน้นการใช้ดีลเลอร์ที่มีอยู่ทั่วประเทศเป็นตัวแทนการขาย กระจายผลิตภัณฑ์ไปตามภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ และยังมีแนวคิดจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่อีก อาทิ เสาร์ไฟส่องสว่าง อินเตอร์เน็ตโซลาร์เซลล์ โทรศัพท์โซลาร์เซลล์ เป็นต้น

อีกทั้งยังได้ร่วมมือกับบริษัทกรุนด์ฟอส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเครื่องสูบน้ำชั้นจากประเทศเดนมาร์ก เพื่อนำเอาประสบการณ์ทางเทคโนโลยีชั้นสูงของสองบริษัทมาร่วมพัฒนาระบบสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ เป็นการทำธุรกิจร่วมกันซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งสองบริษัทให้มีการเติบโตที่ดีในอนาคตเพราะไทยเป็นประเทศที่มีความต้องการระบบสูบน้ำ เพื่อการจัดสรรน้ำให้ได้อย่างมีคุณภาพระบบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์นี้ จะช่วยเพื่อศักยภาพในการจัดสรรน้ำ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของภาครัฐบาล โดยการร่วมมือครั้งนี้คาดว่าในปี 2550 จะมีการขายโครงการระบบสูบน้ำแสงอาทิตย์มากกว่า 500 ระบบในทุกภูมิภาคของประเทศมูลค่ากว่า 250 ล้านบาท

“ ปีหน้าคาดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้น 5% จากปีที่แล้วที่มีรายได้ 1,300 ล้านบาทเนื่องจากรับรู้รายได้จากการติดตั้งโครงการโซลาร์เซลล์ และ โครงการพัฒนาระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นธุรกิจใหม่และเสาไฟฟ้า ”ประธานเจ้าที่บริหารโซลาร์ตรอน ระบุ

เอกรัตน์ เจาะตลาดยุโรป

ขณะที่เกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ ประธานกรรมการ บมจ.เอกรัฐวิศวกรรม และบริษัทเอกรัฐโซล่าร์ จำกัด มองอนาคตธุรกิจโซลาร์เซลล์ปีนี้ ว่า ภาครัฐต้องให้ความรู้ด้านพลังงานทางเลือกให้ประชาชนมากกว่านี้ โดยเฉพาะเรื่องโซลาร์เซลล์ที่ประชาชนยังมีเข้าใจเรื่องนี้น้อยมาก แต่ที่เห็นบ่อยครั้งคือ รมว.พลังงาน (ปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์ ) พูดอยู่บ่อยๆ ว่าต้นทุนการผลิตสูง จึงไม่ให้การสนับสนุน ทั้งหมดจึงมาลงที่ภาคเอกชนที่ต้องต่อสู้กันไปตามลำพังขาดการเหลียวแลจากภาครัฐ ซึ่งสวนทางจากต่างประเทศที่เขาหันมาสนใจเรื่องโซลาร์เซลล์มากว่า 10ปีแล้ว อาทิ ประเทศเยอรมัน ที่ในอีก 10-15 ปีข้างหน้าโรงงานพลังงานนิวเคลียร์จะปลดระวางก็จะหันมาสนับสนุนโซลาร์เซลล์อย่างเต็มที่

ในส่วนยอดขายของบมจ.เอกรัฐนั้นยังมุ่งไปที่ตลาดยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐ เยอรมัน ซึ่งมียอดส่งออกมากกว่า 90 % ของการผลิตทั้งหมดโดยในปีนี้ 2550 โรงงานต้นน้ำของบริษัทฯได้ก่อสร้างสำเร็จโดยจะส่งออกไปต่างประเทศเกือบทั้งหมดคาดว่าปีหน้ายอดขายอยู่ 800-900ล้านปี 2551 ยอดขายน่าจะอยู่ที่ 2,000บาท และปี 2552 ยอดขายจะอยู่ 3,000 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us