|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
การลอนช์แคมเปญ +Freedom “อิสระ...ไปกับฮอนด้า” ในอาทิตย์ที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งหมากที่ผู้นำตลาดอย่างฮอนด้า ส่งมาเพื่อสยบการเติบโตอย่างน่ากลัวของค่ายยามาฮ่า หลังจากที่ไม่ว่าจะส่งรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ๆออกมาสักเท่าไร หรือการออกภาพยนตร์โฆษณาเพื่อบอกกับกลุ่มเป้าหมายวัยโจ๋ว่า “ลูกผู้ชายต้องคลัทช์มือ” แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะสกัดยอดขายยามาฮ่าในรุ่นฟีโน่ ซึ่งเป็นจักรยานยนต์เกียร์ออโตเมติคไม่ให้เติบโตได้ เพราะเพียงแค่เปิดตัวไม่นานก็สามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดให้ยามาฮ่าเพิ่มเป็น 23% และครองส่วนแบ่งตลาดเกียร์ออโตเมติก 51% จากปัจจุบันตลาดรถจักรยานยนต์ออโตเมติคมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 40% ของตลาดมอเตอร์ไซค์โดยรวม
ที่ผ่านมาตัวเลขส่วนแบ่งการตลาดของยามาฮ่าเติบโตอย่างต่อเนื่อง จาก 19% ในปี 2548 ขึ้นเป็นกว่า 25% เมื่อเข้าปี 2549 และคาดว่าปี 2550 ส่วนแบ่งการตลาดของยามาฮ่าน่าจะขยับเข้าไปอยู่ที่ 30% ใกล้ผู้นำตลาดเข้าไปจนเห็นหลังอยู่ไม่ห่างนัก และเชื่อว่าในปีนี้ฮอนด้าคงจะรู้สึกได้ถึงความใกล้เข้าไปอีก เมื่อประธานกรรมการบริหาร บริษัทไทยยามาฮ่ามอเตอร์ มั่นใจว่าในปีนี้จะมียอดขายเพิ่มขึ้นอีก 10% เป็นการอัตราการเติบโตที่มากกว่าการเติบโตของตลาดโดยรวมที่คาดว่าในปีนี้อัตราการเติบโตของตลาดโดยรวมคงไม่โตหรือลดลงไปจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจัยเรื่องราคาน้ำมัน และดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นเข้ามาส่งผลต่อการเติบโตของตลาด
จริงแล้วสถานการณ์ของยามาฮ่าเริ่มดีวันดีคืนนับตั้งแต่การเปิดตัว “นูโว” ซึ่งเป็นจักรยานยนต์เกียร์ออโตเมติคเข้าสู่ตลาดเป็นเจ้าแรกเมื่อปี 2545 โดยมี “ไมเคิล โอเวน” เป็นพรีเซนเตอร์ ส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดที่เคยตกเป็นรองซูซูกิพุ่งพรวดมาครองส่วนแบ่งตลาดที่ 23% แต่หัวหอกที่จะทำให้ตัวเลขขายของยามาฮ่าเพิ่มขึ้นชนิดทำให้คู่แข่งถึงกับสะดุ้งนั้นคงต้องยกให้กับความสามารถของ “ฟีโน่” ที่คาดว่าปีนี้จะมียอดจำหน่ายอยู่ที่ 200,000 คัน คิดเป็นส่วนแบ่ง 40% ของยอดจำหน่ายรวมของยามาฮ่าเลยทีเดียว
กลยุทธ์สำคัญที่ทำให้ฟีโน่สามารถช่วงชิงยอดขายจากค่ายอื่นๆมาได้ คือการสร้างความแตกต่างของตัวผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจน (Differentiation) ดังจะเห็นได้จากรูปร่างหน้าตาที่ดึงเอาความเป็น “Retro” เข้ามาใช้แล้วก็คือ การมุ่งกลยุทธ์เชิงมูลค่าเพิ่มที่ได้ศึกษาไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากการขยายฐานผู้บริโภคไปยังกลุ่มผู้หญิง ที่ขับรถอยู่แล้วให้หันมาซื้อฟีโน่ขับ โดยไม่สนใจในเรื่องความแรง ความเร็วของเครื่องยนต์ แต่ต้องการขับขี่เพื่อโชว์ในเรื่องของดีไซน์ ความน่ารัก เหมือนเป็นการขยายฐานลูกค้าเดิมที่ใช้รถจักรยานยนต์เป็นประจำไปสู่กลุ่มคนที่ไม่เคยใช่รถจักรยานยนต์
“เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่จากเพื่อใช้งาน มาเป็นการขับขี่ที่เป็นงานอดิเรกแทน ซึ่งเราเชื่อว่าเทรนด์นี้จะทำให้ตลาดรถยนต์ไปสู่ 2 ล้านคันได้อย่างแน่นอน”
เพียงแค่ 2 สัปดาห์หลังจากเปิดตัวมียอดจองสั่งซื้อกว่า 16,000 คัน ถือเป็นยอดขายที่สูงมากสำหรับรถรุ่นใหม่ และตามมาด้วยยอดขาย 20,000 คันต่อเดือนเกินกว่าเป้าหมายที่ยามาฮ่าตั้งไว้ที่ 10,000 คันต่อเดือน เหตุผลสำคัญที่ยอดขายกระฉูดเช่นนี้เป็นเพราะการที่ยามาฮ่า ฟีโน่ ใช้กลยุทธ์ย้อนยุค ขายความเป็นแฟชั่น เล่นกับอารมณ์ ความรู้สึก เพื่อก่อให้เกิด Emotional Buying เป็นการสร้างพฤติกรรมการซื้อใหม่จากเดิมที่เป็น Functional มาสู่ Emotional
ด้วยกระแสความฮอตดังกล่าวทำให้บรรดาคู่แข่งทนไม่ไหว ไม่ว่าจะเป็นค่ายซูซูกิที่เดิมเป็นคู่แข่งกับยามาฮ่าชนิดสูสี ต้องเปิดตัว New Suzuki Smash Revo ด้วยรูปลักษณ์ใหม่สไตล์ Fashion Sport 110 ซีซี 4 จังหวะ เข้าสู่ตลาด ส่วนผู้นำอย่างฮอนด้านอกจากยังคงโฆษณาตัว “Blade” แล้ว ยังออกโฆษณาชุดใหม่ แต่คราวนี้ไม่ได้เป็นโฆษณาขายสินค้าตัวใหม่ หรือเป็นโฆษณาเพื่อดึงกระแสคลัทช์มือให้กลับมาเหมือนเดิม แต่เป็นการออกโฆษณา “Brand” ที่ให้ความสำคัญกับ Consumer Insight โดยมองไปที่ความต้องการลึกของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ทุกคนคือ “ความอิสระ” หรือการได้ทำอะไรตามใจตัวเอง เป็นของตัวเอง ไม่ชอบให้ใครมาตีกรอบ เป็นการวางตำแหน่งของฮอนด้าว่า เป็นเสมือนเพื่อที่พร้อมจะพาพวกเขาไปพบกับความอิสระ ได้ทำอะไรอย่างที่ใจต้องการ
“เราเลือกใช้สีน้ำเงินและท้องฟ้าที่สดใส สื่อถึงความเป็นอิสระ ไม่มีที่สิ้นสุด” เป็นคำกล่าวของ จุฑามาศ อินปริงกานันท์ ผู้จัดการแผนกส่งเสริมการขาย ฝ่ายการตลาด บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด
ในระยะแรกฮอนด้าจะเสนอแนวคิด “Freedom” ในสื่อที่หลากหลายเพื่อให้เข้าถึง และรักษาความจงรักภักดีในกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ทั้งโฆษณาทางโทรทัศนต์ และสื่อสนับสนุนอื่นๆ อาทิ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และชุดตกแต่งที่ร้านผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าทั่วประเทศ ตลอดจนสื่อเอาท์ดอร์ขนาดใหญ่บนตึกใบหยกทาวเวอร์ 2
การปรับกลยุทธ์การสื่อสารกับผู้บริโภคของฮอนด้าหนนี้อาจไม่เพียงพอที่จะช่วงชิงยอดขายกลับมาได้ในช่วงเวลาอันสั้น และคงต้องปล่อยให้ยามาฮ่าโดยยอดขายเช่นนี้ไปก่อน เพราะเชื่อว่าหมากที่จะสามารถหยุดกระแสของฟีโน่ได้อย่างชะงัก คือต้องหาสินค้าที่ “โดนใจ” เข้ามาด้วย ซึ่งเชื่อว่าในสภาพเช่นนี้เจ้าตลาดรถจักรยานยนต์อย่างฮอนด้าคงไม่ปล่อยให้ยามาฮ่าโกยยอดขายไปอย่างนี้แน่นอน ที่สำคัญคงต้องปรับตัวอย่างแรงเพื่อชิงความเป็น Trend Setter ให้กลับคืนมาจากยามาฮ่าให้จงได้
|
|
 |
|
|