Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์19 มกราคม 2550
การเมืองพ่นพิษเครือข่าย “ทักษิณ” เจ้าพ่อแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ รับเคราะห์เต็มๆ!             
 


   
www resources

โฮมเพจ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ - แลนด์แอนด์เฮ้าส์

   
search resources

แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, บมจ.
อนันต์ อัศวโภคิน
รัตน์ พานิชพันธ์
Real Estate
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์เพื่อรายย่อย




บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ และเคยรุ่งโรจน์อย่างมากในยุครัฐบาลทักษิณ เห็นได้จากอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องของบริษัทในช่วง 6 ปีก่อนจนถึงปี 2549 ที่มีอัตราการเติบโตด้วยตัวเลข 2 หลักทุกปี

การเติบโตของแลนด์ฯ ส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากการเมือง เห็นได้ความโดดเด่นของอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นบอร์ดองค์กรขนาดใหญ่ และมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายแห่ง อาทิ เป็นบอร์ดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมถึงเป็นบอร์ดพิจารณาการนำการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯด้วย

ฝันเป็นจริงช่วง “ทักษิณ” นั่งนายกฯ

นอกจากนี้ ในยุคที่ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี อนันต์ยังสามารถสานฝันที่ต้องการเป็นนายแบงก์ได้สำเร็จด้วย โดยการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) หรือ LH Bank ซึ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 19 ธ.ค.2548 ซึ่งเป็นการเข้าซื้อหุ้นในกิจการบุคคลัภย์

รวมถึงได้รับประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศออกมาชุบชีวิตธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อาทิ มาตรการลดหย่อนภาษีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ค่าธรรมเนียมการโอน การจดจำนอง ซึ่งในช่วงนั้นจะเห็นได้ว่าเครือแลนด์ฯ มีสินค้าพร้อมขายมากที่สุด ทำให้แลนด์ฯได้รับอานิสงส์จากการขายบ้านก่อนผู้ประกอบการรายอื่น และฟื้นตัวจากพิษเศรษฐกิจในช่วงนั้นก่อนคู่แข่ง ขณะที่คู่แข่งกว่าจะปรับตัว เพื่อก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จพร้อมโอนต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หรือบางโครงการต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปี จึงจะเก็บเกี่ยวอานิสงส์จากมาตรการดังกล่าวได้

“มาตรการของรัฐบาลในช่วงนั้นได้รับความสนใจจากผู้ซื้อบ้านมาก เพราะนอกจากจะได้รับการยกเว้นเรื่องภาษี และค่าธรรมเนียมการโอนแล้ว ยังได้บ้านด้วย โดยก่อนหน้านี้คนซื้อบ้านจะขาดความเชื่อถือหากบ้านยังสร้างไม่เสร็จ เพราะในช่วงวิกฤตประชาชนไม่ได้บ้านตามที่จองซื้อไว้จำนวนมาก อีกทั้งในช่วงนั้น แลนด์ฯยังอัดแคมเปญ บ้านไม่ได้เห็นอย่าซื้อ จึงทำให้บ้านของแลนด์ฯ ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า” แหล่งข่าวในวงการอสังหาริมทรัพย์ให้ความเห็น

วันนี้นโยบายของแลนด์ฯอาจจะต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ กำลังซื้อหดหาย วัสดุก่อสร้างขึ้นราคา การแข่งขันรุนแรง และที่สำคัญที่สุดสำหรับอนันต์ นั่นคือ การเมืองเปลี่ยนขั้ว ดังนั้น การทำธุรกิจของแลนด์ฯอาจจะไม่สวยหรูเหมือนครั้งที่มีพรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล และมีนายกรัฐมนตรี ชื่อทักษิณ ชินวัตร ที่มีมือขวาเป็นผู้ดูแลธุรกิจชื่อบุญคลี ปลั่งศิริ ซีอีโอ ชินคอร์ป ซึ่งบุญคลี เป็นเพื่อนซี้กับอนันต์ในสมัยเรียนวิศวะจุฬาฯ

“บุญคลี” เชื่อม “อนันต์+ทักษิณ”

บุญคลี เป็นคนนำอนันต์ไปเชื่อมโยงกับทักษิณ โดยภาพที่เห็นเด่นชัดที่สุด น่าจะเป็นภาพที่อนันต์ อัศวโภคิน หรือเฮียตึ๋ง นั่งโต๊ะดินเนอร์โต๊ะเดียวกับทักษิณ ในงานเลี้ยงรุ่นมงฟอร์ตฯ ทั้งที่อนันต์ไม่ได้เป็นศิษย์เก่ามงฟอร์ตฯ แต่สามารถไปร่วมในงานเลี้ยง และนั่งโต๊ะเดียวกับทักษิณ ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของประเทศ

“ภาพที่เห็นในคืนนั้น ยิ่งตอกย้ำให้เห็นความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างอนันต์ และทักษิณ จึงไม่แปลกอะไรที่อนันต์จะรู้ว่ารัฐบาลคิดอะไร และจะทำอะไรกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก่อนผู้อื่น ขณะเดียวกัน ยังมีข่าวบางกระแสระบุว่า อนันต์เป็นส่วนหนึ่งในการเสนอความคิดต่อรัฐบาลในการชุบชีวิตธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จึงไม่น่าแปลกใจ หากอนันต์จะปรับตัวก่อนคู่แข่ง เพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากมาตรการของรัฐบาล”

นอกจากนี้ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ยังเข้าร่วมประมูลที่ดินรัชดาฯ แต่ต้องพ่ายแพ้ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ไปแบบเฉียดฉิว ซึ่งคนในวงการที่ดินและคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ระบุว่า แลนด์ฯ ยื่นประมูลเพื่อเป็น “คู่เทียบ” ให้กับคุณหญิงพจมาน เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันที่ดินแปลงนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อครอบครัวชินวัตร และอยู่ระหว่างการร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์วันนี้ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับแลนด์ฯ หรืออนันต์อีกแล้ว เพราะยอดขายแต่ละยูนิตของแลนด์ฯในปีก่อนไม่ง่ายเหมือนอดีตอีกแล้ว ทำให้แลนด์ฯ ต้องประกาศปรับลดเป้ายอดขายถึง 2 ครั้ง ภายในช่วงเวลาห่างกันไม่มาก

แหล่งข่าวในวงการอสังหาริมทรัพย์ กล่าวกับ “ผู้จัดการรายสัปดาห์” ว่า การเติบโตของแลนด์ฯในช่วง 5-6 ปีก่อน ต้องยอมรับว่า ส่วนหนึ่งมาจากธุรกิจบ้านจัดสรรอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของแลนด์ฯ ส่วนใหญ่มาจากความใกล้ชิดกับคนในรัฐบาลที่สายตรงถึงทักษิณ และวันนี้เมื่อการเมืองเปลี่ยนทิศ แลนด์ฯเองก็หนีไม่พ้นที่ต้องเจอกับพิษสงจากการเมืองเช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่น อีกทั้งยังไม่มีพี่เลี้ยงที่จะคอยส่งสัญญาณให้เหมือนในช่วงรัฐบาลทักษิณด้วย ดังนั้น แลนด์ฯ จึงเป็นผู้ประกอบการรายหนึ่งที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างแรงจากพิษสงทางการเมือง

แบงก์แลนด์ฯ ภาระหนัก

ขณะเดียวกัน ความฝันของอนันต์ที่จะทำธุรกิจครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เริ่มตั้งแต่มีแหล่งสินเชื่อเอง ปล่อยกู้เอง ขายวัสดุก่อสร้างและสร้างบ้านขาย เพื่อลดต้นทุนทุกทาง เพื่อให้ต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่ง ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่อนันต์คิด เพราะวันนี้ธุรกิจที่เป็นความฝันสูงสุดของอนันต์ คือธุรกิจแบงก์กำลังสร้างความปวดหัวและสร้างภาระให้แก่อนันต์เป็นอย่างมาก เพราะธุรกิจไม่ได้เดินไปตามทางที่อนันต์กำหนดไว้

“ธุรกิจธนาคารไม่ใช่เรื่องง่ายๆ การบริหารจัดการต้องมีทิศทาง กำหนดกลยุทธ์ และยุทธศาสตร์อย่างแม่นยำ ที่สำคัญผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการเงินอย่างเชี่ยวชาญ รู้ถึงปัญหา เข้าปัญหาของธุรกิจแบบลึกถึงราก ไม่ใช่แค่รู้จักธุรกิจแบบพื้นๆ ซึ่งคุณอนันต์อาจจะเก่งเรื่องการทำบ้านจัดสรร แต่ไม่รอบรู้เรื่องธุรกิจธนาคาร ธุรกิจดังกล่าวจึงกำลังสร้างปัญหาให้กับอนันต์อย่างมาก” แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับปัญหาที่แบงก์แลนด์ฯ และอนันต์กำลังเผชิญอย่างหนัก คือการระดมเงินฝาก ที่ไม่สามารถระดมเงินฝากได้ตามเป้าหมาย แม้ว่าจะจูงใจด้วยดอกเบี้ยที่มากกว่าแบงก์พาณิชย์ทั่วไปก็ตาม เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่นิยมฝากเงินกับแบงก์ขนาดเล็กหรือขนาดกลาง แต่นิยมฝากเงินกับแบงก์ขนาดใหญ่มากกว่า แม้ว่าจะได้ดอกเบี้ยน้อยกว่า แต่มีความมั่นใจ จึงทำให้แผนระดมเงินของอนันต์ไม่ถึงฝั่ง

รัตน์ พานิชพันธ์ ประธานกรรมการบริหาร แบงก์แลนด์ฯ กล่าวกับ “ผู้จัดการรายสัปดาห์” ว่า ปัญหาใหญ่ของแบงก์แลนด์ฯไม่ได้อยู่ที่การระดมเงินฝาก เพราะสามารถระดมเงินฝากได้มาก จากการให้ดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่าแบงก์ขนาดเดียวกัน แต่มีปัญหาเรื่องการปล่อยสินเชื่อมากกว่า เพราะที่ผ่านมาปล่อยสินเชื่อได้ไม่มาก เพราะผู้ซื้อบ้านส่วนใหญ่จะเลือกกู้กับแบงก์พาณิชย์ขนาดใหญ่มาก แบงก์ขนาดเล็ก หรือแบงก์ใหม่อย่างแบงก์แลนด์ฯ เพราะต้องเสียดอกเบี้ยสูงกว่า ซึ่งปีก่อนปล่อยสินเชื่อบ้านประมาณ 7,000 ล้านบาท และตั้งเป้าปีนี้ปล่อยสินเชื่อ 11,000 ล้านบาท

อีกทั้งยังมีสาขาน้อยให้บริการไม่ทั่วถึง โดยในปีนี้จะขยายสาขาแบงก์เพิ่มอีก 10 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกจะเปิด 4 แห่ง ได้แก่ ห้างมาบุญครอง, บิ๊กซี บางนา, โฮมโปร เพชรเกษม และโฮมโปร ชลบุรี

“ปัจจุบัน แลนด์ฯ มียอดขายเฉลี่ยปีละกว่า 20,000 ล้านบาท คิวเฮ้าส์ มียอดขายเฉลี่ยปีละกว่า 5,500 ล้านบาท รวมถึงโครงการของเอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ของอนุพงศ์ อัศวโภคิน ผู้เป็นน้องชาย อีกปีละ6,500-7,000 ล้านบาท ยังไม่สามารถทำให้ยอดปล่อยสินเชื่อของแบงก์แลนด์เป็นไปตามที่อนันต์ต้องการ โดยลูกค้าของแลนด์ฯและคิวเฮ้าส์ใช้สินเชื่อของแบงก์แลนด์ฯจำนวนมาก ขณะที่เอพีใช้เพียง 10% ของลูกค้าเอพีเท่านั้น (อ่านแบงก์แลนด์ฯน่าห่วง)

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า จากมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่กำหนดให้แบงก์พาณิชย์กันทุกแห่งต้องกันสำรอง สำหรับธุรกิจที่มีความเสี่ยงมากขึ้น ยิ่งทำให้การขอสินเชื่อ และปล่อยสินเชื่อยากยิ่งขึ้น เพราะแบงก์จะไม่ปล่อยกู้สำหรับธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง เพราะไม่ต้องการกันเงินสำรองมากขึ้น รวมถึงไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการปล่อยกู้

สายสัมพันธ์แบงก์พาณิชย์หักสะบั้น

ปัญหาที่หนักใจ “อนันต์” อีกเรื่องคือ การที่อนันต์หันมาตั้งแบงก์ของตัวเอง ทำให้ความสัมพันธ์อันดีของอนันต์ กับแบงก์พาณิชย์ทั่วไปหักสะบั้นลง เพราะเห็นว่าอนันต์คือคู่แข่ง ไม่ใช่เห็นเป็นลูกค้าเหมือนในอดีต ทำให้ไม่ว่าอนันต์จะหันไปทางไหนจะเจอแต่คู่แข่ง ไม่ได้เจอเพื่อนหรือพันธมิตรทางธุรกิจเหมือนอดีต

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า การทำธุรกิจแบบครบวงจรอาจจะส่งผลดีหากเศรษฐกิจมีการเติบโต แต่หากเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลงจะทำให้ธุรกิจทั้งหมดดิ่งเหวพร้อมๆ กัน ไม่มีธุรกิจอื่นมาช่วยดึงอีกธุรกิจขึ้นมาได้ ซึ่งหากอนันต์ ต้องการขยายไลน์การทำธุรกิจน่าจะไปลงทุนในธุรกิจอื่นที่ลดความเสี่ยงมากกว่า ลงทุนในธุรกิจที่เกื้อหนุนธุรกิจในเครือ

จุดบอดขาดคนรุ่นใหม่ช่วยคิด

อย่างไรก็ดี แหล่งข่าว ระบุว่า ข้อเสียของการทำธุรกิจของอนันต์มีหลายด้าน ทั้งมุมมอง และบุคลากร โดยด้านบุคลากรจะเห็นว่ารอบกายอนันต์จะมีแต่คนรุ่นเก่าๆ ไม่มีคนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยคิดช่วยวางแผน เพิ่มความหลากหลาย จึงทำให้การกำหนดนโยบายผูกติดกับแนวคิดเก่าๆ ที่ไม่ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ

นอกจากนี้ คนใกล้ตัวอนันต์ล้วนเป็นวิศวกรทั้งนั้น เช่น อดิศร ธนนันท์นราพูล กรรมการและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการแลนด์ฯ ซึ่งแนวคิดของวิศวกรส่วนใหญ่จะคิดเป็นระบบ มีกลไกในลักษณะเดียวกับเครื่องจักร จึงทำให้เวลาจะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ค่อนข้างลำบาก สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้แลนด์ฯมาถึงช่วงขาลง

จากนี้ไปคงต้องจับตาดูว่า ยักษ์ใหญ่แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จะปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่? และจะสามารถครองตำแหน่งผู้นำตลาดได้อย่างเหนียวแน่นไปได้อีกกี่ปี เพราะแสนสิริที่ประกาศจะล้มแชมป์ เดินทางมาใกล้แลนด์ฯ ชนิดหายใจรดต้นคอแล้ว ไม่รวมพฤกษา ที่ประกาศว่าในปี 2553 จะเป็นปีของพฤกษาที่จะก้าวเป็นเบอร์ 1 ในแง่ของรายได้

หากแลนด์ฯ ยังปรับตัวไม่ทัน มีสิทธิ์ที่คู่แข่งจะตามมาทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเจอกับคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้ออย่างพฤกษาที่มีทั้งเงิน โนฮาว พัฒนาสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ที่ไมว่าภาวะเศรษฐกิจจะพลิกผันเช่นใดก็ไม่สามารถเปลี่ยนความคิดไม่ให้คนกลุ่มนี้เปลี่ยนใจไม่ซื้อบ้านได้ อีกทั้งยังมีขุนพลข้างกายที่กรำศึกในเวทีอสังหาริมทรัพย์อย่างโชกโชน น่าจะทำให้ฝันของคนชื่อทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ เศรษฐีหุ้นคนใหม่เป็นจริง!!

******************

แบงก์แลนด์ฯ น่าห่วง NPLเบ่งบาน

แบงก์ในเครือแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ออกอาการเป๋ เปิดบริการ 1 ปีหนี้เสียพุ่ง หลังผูกติดสินเชื่อกับยอดขายบ้านของแลนด์ฯ เป็นหลัก เมื่อกำลังซื้อหด ลูกบ้านเริ่มผ่อนไม่ไหว NPL แบ่งบาน

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) ถือเป็นอีกหนึ่งในความยิ่งใหญ่ของบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH ยักษ์ใหญ่ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ภายใต้การนำของอนันต์ อัศวโภคิน ที่สามารถสร้างอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์ที่เดิมต้องพึ่งพาสถาบันการเงินอื่นเพื่อปล่อยกู้ให้โครงการและลูกบ้าน แต่ถึงวันนี้เขามีพร้อมทุกอย่าง

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ฯ เกิดขึ้นจากที่ทางการเปิดโอกาสให้มีการยกระดับสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารเลื่อนชั้นขึ้นเป็นธนาคาร จึงได้ให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด ซึ่งถือหุ้นโดยกลุ่มบริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) 70% ของทุนซึ่งเรียกชำระแล้ว ดำเนินการเสนอแผนการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยต่อธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2547 โดยมีเงื่อนไขให้เปิดดำเนินการภายใน 1 ปี จากนั้นจึงได้เข้าทำการเจรจาซื้อหุ้นบริษัทเงินทุน บุคคลัภย์ จำกัด (มหาชน) จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้เปิดดำเนินการเมื่อ 19 ธันวาคม 2548 จากนั้นได้ดำเนินการปล่อยสินเชื่อโดยเน้นที่ลูกบ้านที่ซื้อโครงการของแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เป็นหลัก เนื่องจากบ้านของแลนด์แอนด์เฮ้าส์ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนมาก คิดเป็น 60-70% ของสินเชื่อทั้งหมด ที่เหลือเป็นสินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และมีแผนที่จะปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกันตนของสำนักงานประกันสังคมอีกด้วย

การเปิดดำเนินการที่ครบรอบ 1 ปีเมื่อปลายปี 2549 พบว่าธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ฯ ยังประสบปัญหาขาดทุน ที่สะท้อนผ่านการถือหุ้นของบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด(มหาชน) หรือ LH ซึ่งถือหุ้นในแบงก์แห่งนี้ 43% ในงบกำไร 9 เดือนของปี 2549 โดย LH ต้องรับภาระขาดทุนจากธนาคารแห่งนี้ตามสัดส่วนการถือหุ้นเป็นเงิน 51.649 ล้านบาท เท่ากับว่าผลการดำเนินงานของธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ฯ 9 เดือนที่ผ่านมามีผลขาดทุนทั้งสิ้นราว 120 ล้านบาท โดยผลการดำเนินงานสิ้นปี 2548 ที่เพิ่งเปิดดำเนินการธนาคารมีภาระขาดทุนราว 82 ล้านบาท

เมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานของ LH ในรอบ 9 เดือนกำไรจากการดำเนินงานก็ลดลงเช่นกัน เป็นผลมาจากปัจจัยราคาน้ำมันและดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นในปีที่ผ่านมา รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองทำให้ยอดขายของ LH ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 44.87%

อย่างไรก็ตาม คาดหมายว่าไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 ยอดขายของ LH จะกระเตื้องขึ้นเนื่องจากมีรายการส่งเสริมการขายด้วยการลดราคาบ้านลงมาราว 10-15% พร้อมทั้งการเปลี่ยนเป้าหมายมาจับลูกค้าในระดับกลางด้วยบ้านในระดับราคา 3-5 ล้านบาท นี่คือความพยายามในการปรับตัวของยักษ์ใหญ่อย่างแลนด์แอนด์เฮ้าส์ท่ามกลางกำลังซื้อที่หดตัวจากปัญหารอบด้าน

“จะเห็นได้ว่าหากยอดขายบ้านของแลนด์แอนด์เฮ้าส์ดีก็จะส่งผลบวกต่อสถานะของธนาคารแลนด์ฯ ไปด้วย เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อของธนาคารแลนด์ฯ จะผูกติดกับการขายบ้านในโครงการของแลนด์แอนด์เฮ้าส์ โดยมักเสนออัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่ต่ำกว่าสถาบันการเงินทั่วไป”

ในรอบ 11 เดือนของปี 2549 ธนาคารนี้มีการขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2548 ในอัตรา 120% ขณะที่ดอกเบี้ยค้างรับเพิ่มขึ้น 172% และมีการลงทุนในหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น 223% เงินฝากเพิ่มขึ้น 156% และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)เพิ่มขึ้นสูงถึง 758%

สิ่งที่เกิดขึ้นกับธนาคารแลนด์ฯ สะท้อนถึงกำลังซื้อของประชาชนที่ลดลง เห็นได้จากสินเชื่อแม้จะเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว แต่ถือว่าไม่มากนักเมื่อเทียบกับศักยภาพโครงการบ้านของแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่เพิ่มจาก 0.75% ของเงินให้สินเชื่อก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ขยับขึ้นมาเป็น 3.28% ของเงินให้สินเชื่อก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญนับว่าเป็นการเพิ่มขึ้นที่สูงมาก

อาจตีความได้ว่า ลูกค้าที่ซื้อบ้านของแลนด์ฯ และใช้บริการสินเชื่อของธนาคารแลนด์ฯ ในบางกลุ่มกำลังมีปัญหาด้านการผ่อนชำระ หลังจากที่ตลอดปี 2549 ประเทศไทยประสบปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ทิศทางของดอกเบี้ยที่ในประเทศมีการปรับตัวสูงขึ้นทั้งเงินฝากและเงินกู้ จึงส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชนในประเทศรวมถึงความสามารถในการผ่อนชำระที่ลดลงตามไปด้วย

แม้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 ที่แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จัดรายการแกรนด์เซลลดราคาบ้านลง น่าจะพยุงยอดขายใน 3 ไตรมาสแรกดูดีขึ้นหลังจากที่ยอดขายช่วง 9 เดือนออกมาไม่ดีนัก โดยลดลงจากงวด 9 เดือนก่อน 5,074 ล้านบาทหรือลดลง 30.08% ส่งผลให้กำไรสุทธิลดลง 2,010 ล้านบาทหรือลดลง 50.50%

แม้ยอดขายบ้านในช่วงไตรมาสสุดท้ายจะเข้ามาช่วยให้ยอดขายตลอดทั้งปีสูงขึ้น แต่คงไม่ดีกว่าปี 2549 ซึ่งจะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธนาคารแลนด์ฯ ตามไปด้วย

ที่ผ่านมาธุรกรรมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารแลนด์ฯ ค่อนข้างจำกัดเฉพาะคือปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าที่ซื้อโครงการบ้านของแลนด์แอนด์เฮ้าส์ แม้ได้ลูกค้าแน่นอน แต่ค่อนข้างมีความเสี่ยงเนื่องจากยอดขายบ้านจะเป็นตัวชี้รายได้ของธนาคารเป็นหลัก หากปีใดที่เศรษฐกิจไม่ดีกำลังซื้อคนลดลง ยอดขายบ้านก็จะตกลง อีกทั้งคู่แข่งในวงการอสังหาริมทรัพย์มีค่อนข้างมาก หากแลนด์แอนด์เฮ้าส์ไม่มีการเปิดโครงการใหม่ ก็จะกระทบต่อรายได้ของธนาคาร

ขณะเดียวกัน แม้จะมีความพยายามในการปล่อยสินเชื่อด้านอื่น แต่มักเป็นการผูกติดกับพันธมิตรที่เข้ามาถือหุ้นอย่างสำนักงานประกันสังคม แน่นอนว่าความเสี่ยงน้อย แต่โอกาสในการสร้างรายได้ก็น้อยเช่นกัน แถมเงื่อนไขค่อนข้างมาก ทำให้สินเชื่อในส่วนนี้เติบโตน้อย

แลนด์ฯ เปิดเกมรุกสกัดคู่แข่งโค่นตกบัลลังก์

ถึงคราว “อนันต์ อัศวโภคิน” บิ๊กบอสแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ต้องเดินเกมรุก หลังคู่แข่งไล่ตามมาชนิดหายใจรดต้นคอ เปิดศึกชิงกำลังซื้อคนรุ่นใหม่ หลังพบจุดบอดแลนด์ฯไม่ใช่แบรนด์ในใจคนรุ่นใหม่ และขายบ้านราคาแพง เพราะอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ รู้อยู่เต็มอกว่ามรสุมลูกใหญ่กำลังพัดเข้ามากระแทกแลนด์ฯอย่างจัง “อนันต์” จึงต้องดิ้นทุกทาง เพื่อนำแลนด์ฯให้เดินหน้าต่อไปได้ โดยมีเป้าหมายไม่ให้คู่แข่งตามทัน และมาใกล้เกินไป เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาแลนด์ฯเป็นยักษ์ใหญ่ อันดับ 1 ที่ทิ้งห่างคู่แข่งอันดับ 2-5 แบบชนิดไม่เห็นฝุ่นและในช่วง 2-3 ปีก่อน คู่แข่งเริ่มตามมาในระยะที่อันตราย อนันต์จึงต้องปรับตัวครั้งใหญ่ โดยเป้าหมายของอนันต์ คือต้องการรักษาระยะห่างไว้ให้มากที่สุด

แต่วันนี้มีคู่แข่งอย่างน้อย 2 ราย ได้แก่ แสนสิริ และพฤกษาฯ ที่ประกาศล้มแชมป์ ทำให้อนันต์ไม่อาจอยู่เฉยได้ จึงต้องเร่งปรับกลยุทธ์ เพื่อนำแลนด์ฯให้คู่แข่งตามไม่ทัน รวมถึงให้บริษัทมีอัตราเติบโตเช่นเดิม เพื่อสร้างผลกำไรให้กับผู้ถือหุ้นอย่างคุ้มค่า

“แม้อนันต์จะรู้ว่าการแก้เกมครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะไม่มีผู้ช่วยหรือพี่เลี้ยงเหมือนอดีต แต่คนอย่าง อนันต์ก็ไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ จึงพยายามที่จะแก้ปัญหาทีละปม”

ปัญหาแรกที่อนันต์พยายามแก้ คือ การขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มใหม่ๆ ที่แลนด์ฯมีลูกค้ากลุ่มนี้น้อยมาก นั่นคือ กลุ่มคนหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่วัยทำงาน เพราะกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่ที่มีกำลังซื้อมากขึ้นทุกขณะ จึงทำให้อนันต์ หันมาสนใจกลุ่มเป้าหมายกลุ่มดังกล่าว

การดึงคนรุ่นใหม่ไฟแรงมาเป็นลูกค้าแลนด์ฯ เป็นโจทย์ที่ยากและท้าทาย และคงไม่สามารถดึงคนกลุ่มนี้มาเป็นลูกค้าได้รวดเร็ว เหมือนการสร้างบ้านแต่ละหลัง คงต้องอาศัยเวลา โดยอนันต์ เลือกที่จะใช้วิธีการรีแบรนดิ้ง ด้วยการสลัดภาพลักษณ์คนรุ่นเก่าออกไป เพื่อให้แบรนด์มีความทันสมัย เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ ที่สำคัญแบรนด์ของแลนด์ฯเป็นแบรนด์ที่คนทั่วไปคิดว่าเป็นแบรนด์สำหรับคนแก่ และบ้านมีราคาแพง ทำให้คนหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่ ไม่เลือกซื้อบ้านของแลนด์ฯ แลนด์ฯจึงเสียโอกาสที่จะขายบ้านให้กับกลุ่มนี้

นั่นเป็นที่มาให้แลนด์ฯ หันมาปรับภาพลักษณ์ด้วยการตอกย้ำว่าบ้านของแลนด์ฯเหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่เช่นเดียวกับ แสนสิริ เพอร์เฟคฯ หรือ เอสซีฯ เห็นได้จากภาพยนตร์โฆษณา และป้ายบิลบอร์ด ที่แลนด์ฯพยายามจะสื่อว่า ผู้บริโภคว่าบ้านของแลนด์ฯ ไม่แพงอย่างที่คิด และแบบบ้านทันสมัยเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่

แลนด์ฯ ได้ทุ่มเม็ดเงินกว่า 150 ล้านบาท เพื่อรีแบรนด์ตัวเองครั้งใหญ่ หวังเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่นั้น ซึ่งได้เผยโฉมออกมาให้เห็นแล้วผ่านสื่อโฆษณาต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ในโทนสีฟ้าสดใส โดยใช้สโลแกน “ความสุขจากบ้านที่ให้คุณมากกว่าที่คิด” และ “Ask Your Neighbour” โดยใช้กลวิธีโฆษณาแบบ Testimonial ที่นำเอาความรู้สึกของลูกบ้านในโครงการต่างๆ ของแลนด์ฯ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นคนรุ่นใหม่มายืนยันว่า บ้านแลนด์ฯ ไม่ได้แพงอย่างที่คิด เป็นการสื่อให้เห็นความพยายามของแลนด์ฯ ที่พยายามจะลบความเชื่อของผู้บริโภคที่มักมองว่าบ้านของแลนด์ฯ อยู่ในราคาที่ยากเกินเอื้อม สิ่งนี้น่าจะสะท้อนให้เห็นว่าบ้านหรูหราราคาแพง ไม่ใช่จุดขายที่จะอ้างได้กับผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ยุคนี้อีกต่อไป

ขณะเดียวกัน การลงทุนโครงการใหม่ของแลนด์ฯ ในช่วงที่ผ่านมา จะขยายการลงทุนจากในเมืองไปสู่ชานเมือง ซึ่งสวนทางกับผู้ประกอบการรายอื่น ที่พยายามขยายการลงทุนเข้าสู่เมืองมากขึ้น เพราะต้องการบ้านอยู่ในเมือง ตรงนี้ ทำให้ยอดขายบ้านของแลนด์ฯ ช้ากว่าในอดีตมาก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us