Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 มกราคม 2550
สกัดบาทฉุดมาร์เก็ตแคปวูบ5แสนล.             
 


   
search resources

Stock Exchange




สถานการณ์ 1 เดือนภายหลังการประกาศใช้มาตรการกันเงินสำรอง 30% ที่จะเข้าลงทุนในประเทศไทย แม้ว่าภายหลังจะมีการผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวให้กับเม็ดเงินที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดทุนที่ถือว่ารุนแรงมากหลังการประกาศใช้ เนื่องจากส่งผลทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ประกาศใช้มาตรการดังกล่าว (19 ธ.ค.) ปรับตัวลดลงถึง 108 จุดซึ่งถือว่าเป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของตลาดหุ้นไทย

ทั้งนี้ กระแสการต่อต้านการใช้มาตรการเนื่องจากหลายฝ่ายมองว่าเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงกับปัญหาที่ต้องการแก้ไข โดยในส่วนของสภาธุรกิจตลาดทุนไทยซึ่งประกอบด้วย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียน สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยต้องมีการร่วมหารือเพื่อประเมินผลกระทบจากมาตราการดังกล่าว แต่วันนี้(18 ม.ค.) ครบ 1 เดือนของการใช้มาตรการดังกล่าวความชัดเจนกับเรื่องการประกาศยกเลิกหรือการผ่อนปรนใดๆ เพิ่มเติมยังไม่ถือว่าชัดเจน

โดยดัชนีในช่วงระหว่าง(19 ธ.ค. - 18 ม.ค.) ปรับตัวลดลง 75.66 จุด หรือ 10.35% จาก 730.55 จุด ขณะที่มูลค่าหลักทรัพย์รวม หรือ มาร์เกตแชร์ ปรับตัวลดลง 4.8 แสนล้านจาก 5.4 ล้านล้านบาทเมื่อวันที่ 18 ธ.ค.

ด้านความเคลื่อนดัชนีตลาดหลักทรัพย์วานนี้ (18 ม.ค.) ดัชนีปิดที่ 654.89 จุด เพิ่มขึ้น 3.42 จุด หรือ 0.52% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 655.41 จุดและจุดต่ำสุดอยู่ที่ 650.23 จุด มูลค่าการซื้อขาย 10,005.92 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 669.44 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 139.75 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 529.69 ล้านบาท

นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์เอเชีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP ในฐานะประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวถึงการดำเนินการของธนาคารแห่งประเทศไทยหลังประกาศใช้มาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาทด้วยการกันสำรองเงินที่จะเข้ามาลงทุน 30% ซึ่งดำเนินการมาแล้วกว่า 1 เดือนว่า เรื่องดังกล่าวคงไม่สามารถประเมินอะไรได้มาก เพราะการประกาศใช้หรือยกเลิกเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลโดยตรงไม่ว่าจะเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงกระทรวงการคลังว่าจะมีนโยบายในเรื่องดังกล่าวอย่างไร

ทั้งนี้ สภาธุรกิจตลาดทุนไทยอยู่ระหว่างการรอตัวเลขผลกระทบที่เกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียนเกี่ยวกับการระดมทุนจากต่างประเทศเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจจากมาตรการดังกล่าว ซึ่งขณะนี้เท่าที่สอบถามมีหลายบริษัทได้ส่งตัวเลขเข้ามาที่สมาคมบริษัทจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว แต่สมาคมต้องการข้อมูลผลกระทบของบริษัทจดทะเบียนทุกแห่ง เพื่อประเมินตัวเลขก่อนจะนำเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียน โดยหวังว่าภายในสัปดาห์หน้าสภาธุรกิจตลาดทุนไทยน่าจะได้รับข้อมูลจากสมาคมบริษัทจดทะเบียนครบถ้วนและน่าจะนำเสนอได้ทันสัปดาห์หน้าทันที

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการผู้จัดการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โดยตัวเชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการพิจารณาในเรื่องมาตรการดังกล่าว โดยท่าทีน่าจะมีการผ่อนปรนมากขึ้น ส่วนในเรื่องการรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวเสนอให้กับธปท.ก็จะยังคงดำเนินต่อไป โดยที่ผ่านมามีบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งที่ได้เข้ามาชี้แจงผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวโดยตรงกับธปท. ทำให้เชื่อว่าอาจจจะมีการผ่อนปรนในเร็วๆนี้

ทั้งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ยังประเมินสถานการณ์ในประเทศได้ค่อนข้างยาก หลายเรื่องที่ยังไม่น่าไว้วางใจการติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดเป็นเรื่องที่นักลงทุนจะต้องให้ความสนใจ

**ติดใจกองอสังหาฯไม่ผ่อนปรน

นายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาสมาคมบลจ.ได้เสนอผลเสียหายจากมาตรการกั้นเงินสำรอง 30% ของธปท.ที่เกิดขึ้นกับการลงทุนผ่านกองทุนให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว เพราะการผ่อนปรนมาตรการในการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติได้รับยกเว้นเพียงการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นแต่กับไม่ยกเว้นการเข้ามาลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ทั้งนี้ สมาคมบลจ.คงไม่จำเป็นที่จะต้องเสนอผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการไม่ผ่อนปรนมาตรการ 30% ให้กับเม็ดเงินที่จะเข้ามาลงทุนในกองทุนต่างๆ เนื่องจากได้นำเสนอข้อมูลไปค่อนข้างมากแล้ว

"มันแปลกนะที่กองทุนอสังหาฯ ซึ่งก็ถือว่าเป็นหลักทรัพย์ตัวหนึ่งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กับไม่ได้รับการยกเว้นเหมือนการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นในหลักทรัพย์ปกติ เราเสนอผลกระทบไปเยอะแล้วคงไม่จำเป็นจะต้องเสนออะไรเพิ่มเติมแล้ว"นายมาริษกล่าว

**ประเมินความเสียหายไม่ได้

นายอาจดนัย สุจริตกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.เจพี มอร์แกน (ประเทศไทย) ในฐานะประธานชมรมบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศ กล่าวว่า ผลกระทบจากมาตรการสำรอง30% ของธปท. 1 เดือนที่ผ่านมาไม่สามารถประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ

ทั้งนี้ คงต้องติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมหารือเพื่อหาแนวทางการแก้ไขที่ชัดเจนต่อไป ซึ่งหากมีการยกเลิกมาตรการดังกล่าวจะทำให้คลายความกังวลและมีการเข้ามาลงทุนภายในประเทศได้อย่างต่อเนื่อง

"มาตรการดังกล่าวเราไม่เห็นด้วยมาตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะจะเกิดผลกระทบต่อการเข้ามาลงทุนในประเทศ แต่เราก็ยังคงทำหน้าที่อย่างเต็มที่ เพื่อให้ความรู้กับนักลงทุนต่างชาติถึงการเคลื่อนไหวและแนวทางการแก้ปัญหาของมาตรการกันเงินสำรอง 30% และคอยเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวังในการลงทุนอย่างต่อเนื่อง" นายอาจดนัยกล่าว

**ฟันธงตปท.ไม่ทิ้งหุ้นไทย

นายวิชัย พูลวรลักษณ์ นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวแม้ว่าจะส่งผลทำให้เกิดความกังวลค่อนข้างมากของนักลงทุนต่างชาติ แต่ช่วงที่ผ่านมาการซื้อขายได้สะท้อนความกังวลออกมาน่าจะหมดแล้ว โดยกลุ่มที่กังวลมากก็ขายหุ้นออกมาขณะที่กลุ่มที่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นและมองว่าเป็นจังหวะที่น่าลงทุนเพราะราคาหุ้นปรับตัวลดลงไปค่อนข้างก็เริ่มเข้ามาซื้อ

ทั้งนี้ การประกาศใช้มาตรการคงไม่สามารถพูดได้ชัดว่ารุนแรงมากเกินไปหรือเปล่า เพราะหากหน่วยงานที่ดูแลไม่ใช้มาตรการใดๆเข้ามาควบคุมก็อาจจะทำให้ค่าเงินบาทในปัจจุบันแข็งค่าขึ้นจนส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจโดยรวมก็ได้

"เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่ต่างประเทศจะทิ้งหุ้นไทย เพราะนักลงทุนต่างชาติก็เป็นนักลงทุนกลุ่มหนึ่งที่ต้องการเข้ามาลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนเมื่อราคาหุ้นปรับตัวลดลงจนระดับความเสี่ยงลดลงทำให้น่าลงทุน ทำให้เค้าจะเลือกที่จะไม่ลงทุนล่ะ"นายวิชัยกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us