Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 มกราคม 2550
อุ๋ยยาหอมภาคเอกชนดันจีดีพี             
 


   
search resources

ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.
Economics




ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "โอกาสและความหวังของไทยในศักราชใหม่" ในงานสัมมนา เรื่อง "1 รัฐมนตรี 4 ผู้ว่าฯ มองอนาคตเศรษฐกิจไทย 2550" ว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2550 นี้ จะต้องให้น้ำหนักไปที่ภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก และใช้นโยบายการคลังเข้าไปเสริมในบางครั้งในช่วงที่ภาคเอกชนมีการชะลอตัว เนื่องจากมาตรการของภาครัฐจะไปช่วยดึงภาคเอกชนด้วย

โดยในปีนี้ มั่นใจว่า ทั้งการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนจะปรับตัวดีขึ้นจากปีที่แล้ว ซึ่งจากการประมาณการ ก็คือ การบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวได้ 4.2% หรืออยู่ในช่วง 3.7-4.7% จากที่ขยายตัวเพียง 3.5% ในปีก่อน ส่วนการลงทุนอาจจะจะขยายตัวได้ถึง 6% นอกจากนี้ ภาคการส่งออกก็จะยังสามารถขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจประมาณ 9% ในเชิงมูลค่า หรือขยายตัว 5.6% ในเชิงปริมาณ

"การบริโภคภาคเอกชนปีนี้ กล้าบอกได้เลยว่า จะปรับตัวดีขึ้น เพราะว่าอัตราเงินเฟ้อก็ลดลงแล้ว ภาคเอกชนก็จะมีการจับจ่ายใช้สอยได้มากขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกก็มีแนวโน้มลดลง ล่าสุดคาดการณ์กันว่า จะเหลือเฉลี่ย 6 เดือน จะเหลือเพียง 50 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลเท่านั้น ดังนั้นคนจะใช้สอยมากขึ้น ที่สำคัญราคาสินค้าการเกษตร ทั้งข้าว ยางพารา เป็นต้น ก็เริ่มกระดกขึ้น จะสร้างรายได้ให้กับคนชนบท และเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายการคลังแบบขาดดุล ส่วนนี้ก็จะเร่งการใช้จ่ายลงทุนให้มากขึ้น ในระหว่างที่รอภาคเอกชน อย่างเช่น โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โครงการรถไฟเชื่อมระหว่าง กทม. กับปริมณฑล โครงการการจัดการน้ำ เป็นต้น ก็จะกระตุ้นการลงทุนในปีนี้ เชื่อว่าเอกชนโดยเฉพาะก่อสร้างจะขยับตามมา เมื่อเริ่มมีการประมูล" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว

ทั้งนี้ มองว่า ที่ผ่านมา คนมักจะใช้ความรู้สึกทางด้านการเมืองมามองภาพภาวะเศรษฐกิจ แต่ตนมองว่า ถ้าจะพูดถึงเศรษฐกิจในปี 2550 ว่าจะเป็นอย่างไร จำเป็นจะต้องแยกให้ออกระหว่างความจริงกับความรู้สึก โดยในที่นี้จะต้องตัดเอาเรื่องความรู้สึกออกไป ซึ่งยกตัวอย่างในปี 2549 การที่เศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรกยังขยายตัวได้ดี โดยขยายตัวได้ถึง 5.3% ดีกว่าเมื่อเทียบกับปี 2548 ที่ขยายตัวเพียง 4.5% แม้ว่ารัฐบาลชุดที่ผ่านมา จะเจอแต่การประท้วงตลอดเวลาก็ตาม

ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีทั้งทางด้านปริมาณและมูลค่า แม้ว่าการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะลดลง อันเนื่องมาจากผลกระทบจากราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจก็มีความมั่นคงมากอย่างเหลือเชื่อ ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า การที่เศรษฐกิจขยายตัวได้ดี ไม่ใช่ฝีมือของรัฐบาล แต่มาจากภาคเอกชนเป็นหลัก

"ถามว่า ฝีมือใคร คำตอบคือไม่ใช่รัฐบาลแน่นอน เพราะ 9 เดือนแรก รัฐบาลไม่ได้แก้ไขอะไรมากเลย เพราะเจอปัญหาประท้วงตลอด และพอ 3 เดือนหลัง รัฐบาลใหม่เข้ามา ก็ต้องไล่แก้แต่ปัญหาเก่า รวมถึงเรื่องน้ำท่วมอีก จึงไม่ใช่ฝีมือรัฐบาล แต่เศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยพลังของภาคเอกชนเป็นหลัก เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีสัดส่วนอยู่ในมือเอกชนถึง 73-74% ของจีดีพี ดังนั้น จึงพูดได้ว่าค่อนข้างมั่นคง"

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวอีกว่า ยืนยันได้ว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้ทำลายบรรยากาศการลงทุน หรือไม่ต้อนรับการลงทุนจากต่างชาติ เหมือนที่มีความกังวลกัน เนื่องจากเมื่อพิจารณาแล้ว รัฐมนตรีทุกคนของรัฐบาลชุดนี้ไม่มีคนใดที่จะปฏิเสธต่างชาติ โดยการออกมาตรการกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถือว่า เป็นการแก้ปัญหาระยะยาว แม้ว่าจะมีผลกระทบในระยะสั้นต่อตลาดทุน

"ที่กลัวกันว่า จะปิดประเทศ ไม่ใช่เลย มาตรการของ ธปท. ที่ออกมา ถ้าไม่ทำก็จะเสียหายระยะยาว ยอมโดนด่าในระยะสั้นดีกว่า ส่วนเรื่องกฎหมายต่างชาติ เจตนาคือ จะทำให้ทุกคนสบายใจ แต่ออกมาอีกอย่างหนึ่ง เรื่องนี้ประเทศไทยมีสิทธิ์ที่จะทำ เพราะกฎหมายต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ ไม่งั้นอธิปไตยเราก็ไม่มี จะปล่อยให้พวกนักกฎหมายเล่นกลไม่ได้ กฎหมาย คือกฎหมาย ไม่งั้นจะออกมาทำไม ซึ่งทางออกก็คือ ต้องทำกันอย่างตรงไปตรงมา อย่าให้มีการเลี่ยง เราไม่เคยคิดเปลี่ยนบรรยากาศการลงทุน แต่จะช่วยด้วยซ้ำ การจะเลิกต้อนรับต่างชาติเป็นไปไม่ได้ ต้องเป็นแบบน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า แต่ก็ต้องมีศักดิ์ศรีทั้งคู่ด้วย ไม่ใช่ให้เราเป็นเบี้ยล่างตลอด" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2549 ที่ผ่านมาเติบโตที่ระดับ 5.1% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติปี 2540 ที่เติบโต 8-9% แต่เป็นการเติบโตท่ามกลางฟองสบู่ ในขณะที่ปี 2549 เศรษฐกิจของประเทศประสบกับปัจจัยลบต่างๆ มากมายทั้งภัยธรรมชาติ เช่น ไข้หวัดนก น้ำท่วม และปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง แต่เศรษฐกิจกลับเติบโตได้ในระดับ 5.1% ถือว่าเป็นที่น่าพอใจมาก

ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2550 ปัจจัยภายนอกประเทศที่น่าจับตามองมากที่สุดคือการเจริญเติบโตของประเทศจีนซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก ซึ่งกำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมของไทยในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 75-80% มานานแล้ว แต่ยังไม่มีการเพิ่มกำลังการผลิตแต่อย่างใดเนื่องจากนักลงทุนไทยเองมีความกังวลว่าหากจีนขยายตัวมากเกินไปจะไม่สามารถแข่งขันได้

ซึ่งจากการคาดการณ์แล้วเห็นว่าในปี 2550 เศรษฐกิจของไทยจะถดถอยมากกว่าปี 2549 และเป็ฯไปตามทิศทางของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยเมื่อเศรษฐกิจถดถอยงแล้วรายได้จะลดลงและสั่งซื้อสินค้าลดลงก็จะกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ดังนั้นผู้ส่งออกจะต้องมีการปรับตัวเพื่อเตรียมรับกับภาวะเศรษฐกิจที่จะถดถอยในปีนี้ แต่อย่างไรก็ตามยังเชื่อว่าการส่งออกจะยังคงเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป

“ผู้ส่งออกต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่องเพราะหากมีอะไรเกิดขึ้นก็จะกระทบกับเศรษฐกิจไทยได้ทั้งสิ้น ขณะเดียวกันต้องสร้างความเชื่อมั่นทางด้านเศรษฐกิจและความปลอยภัยในชีวิตทรัพย์สินให้กับนักลงทุนรวมทั้งผู้บริโภค เมื่อความเชื่อมั่นกลับมาแล้วทุกอย่างก็จะดีขึ้นเอง” นางธาริษากล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us